มาเล่นสงกรานต์ถึงเชียงใหม่ คิดถึงวันเก่า ๆ ที่ใส่เสื้อม่อฮ่อมเล่นสาดน้ำรอบเมือง

Songkran festival in Chiang Mai, reminiscing about the old days when we wore the traditional 'moh hom' shirt, splashing water around the city.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ในปี พ.ศ. 2556 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ได้มีโอกาสบริหารงานด้าน Information and Communication Technology (ICT) และกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การทำงาน ทำให้มีโอกาสพบเห็นสิ่งใหม่ ๆ ในแนวกว้างและลึกมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้ทบทวนการทำงานตามวิชาชีพที่ผ่านมา และพบว่า ในฐานะนักภูมิศาสตร์ที่ทำงานด้าน ICT  หรือนักภูมิศาสตร์สมัยใหม่แล้ว เรามีเครื่องมือและแนวคิดใหม่ ๆ จำนวนมาก แต่สิ่งที่ยังคงไม่เก่าและสามารถนำมาใช้ประโยชน์สนองความต้องการของคนยุคใหม่ได้คือ ศาสตร์หรือที่เรามีอยู่ในตัวตนคือความเป็น นักภูมิศาสตร์

 เพราะ กทม. ใช้ GIS แค่บอก อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร ทำให้ไม่ปรากฏการนำเอาระบบ GIS มาวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อสร้างผลผลิตอย่างเต็มระบบ

เพราะ บุคลากรทั้งระดับปฏิบัติและระดับบริหารยังเข้าใจว่า GIS คือแผนที่คอมพิวเตอร์ หรือเข้าใจว่า Google Map, Bring Map คือ GIS

เพราะ เรารับรู้ข้อมูลได้ง่าย ได้รวดเร็ว เช่น โลกที่ถูกสำรวจสอดส่องด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมดูง่ายด้วยโปรแกรม Street View มีคำถาม-คำตอบมากมายผ่านโลก Social เข้าถึงด้วย Social Media ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป

เพราะ ภูมิศาสตร์ เป็นศาสตร์หนึ่งที่จำเป็นต้องใช้เป็นฐานในการสร้างเครื่องมือและแนวคิดในเชิงพื้นที่ เพื่อสนองความต้องการของคนยุคใหม่

จึงทบทวนศาสตร์ทางพื้นที่โดยเฉพาะ ภูมิศาสตร์ ซึ่งจากการศึกษาจากครูบาอาจารย์ ประสบการณ์ที่รับราชการและการทำงานต่าง ๆ พบว่าเท่าที่ยังมีความรู้และเข้าใจทฤษฎี แนวคิดต่าง ๆ มากมาย เช่น

-                   การวิเคราะห์ทางพื้นที่ด้วยวิธี Overlay Technique ทั้งแบบโบราณที่นำแผนที่ที่เขียนบน Tracing Paper มาซ้อนทับกัน และแบบสมัยใหม่ที่ใช้ระบบ GIS วิเคราะห์

-                   การวิเคราะห์ทางพื้นที่ด้วยแนวคิด Multi Criteria Modeling การวิเคราะห์แบบพื้นฐานทั้ง  Spatial Classification, GIS Data Query, Spatial Measurement, Spatial Buffering, Spatial Interpolation, Descriptive Statistic, Visibility Analysis และอื่น ๆ

-                   การใช้ Delphi Method กับการให้ค่าตัวแปรเพื่อการวิเคราะห์เชิงพื้นที่

-                   การวิเคราะห์ด้วยแนวคิดแบบจำลองแรงโน้มถ่วง (Gravity Model )

-                   การวิเคราะห์ด้วยแนวคิดแบบจำลองศักยภาพประชากร (Population Potential Model)

-                   การวิเคราะห์ด้วยแนวคิดกฎแรงดึงดูดการค้าปลีกของ Reilly

-                   อื่น ๆ

นอกจากนั้น ในช่วงเวลาที่ได้ทำงานและบริหารงานด้าน ICT ได้เรียนรู้ ได้พัฒนา และได้มีประสบการณ์ทั้งด้านต่าง ๆ ทั้งการจัดหา ติดตั้ง ใช้งาน ดูแลและซ่อมบำรุงระบบ Hardware, Software, Network & Communication, Data & Information, Peopleware, Application ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนสนทนาด้านแนวคิดการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน

ทำให้รับรู้และตกผลึกองค์ความรู้ทางศาสตร์กับเทคโนโลยี จนคิดว่านักภูมิศาสตร์สมัยใหม่ควรมีองค์ความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการศาสตร์ทางภูมิศาสตร์กับเทคโนโลยีปัจจุบันเข้าด้วยกัน โดยมีหลักการและเหตุผลที่ควรจะเป็นดังนี้

1.             เมื่อนักภูมิศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับ โลกในมิติของพื้นที่และเวลา โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพ มนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยมีเครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ ช่วยให้การศึกษาให้มีความชัดเจนเป็นระบบระเบียบขึ้น

2.             ในขณะที่ยุคปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารผ่านระบบ Internet เป็นสิ่งที่เกิดและพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่สิ้นสุดทำให้เกิดเครื่องมือที่เป็นผลผลิตที่เป็นนวตกรรมจากแนวคิด 3 แนวคิด  คือ  “Internet Of Thing (IoT)”  “ Big Data” และ“Data Analytic” ซึ่งเป็นการบูรณาการเอาเครื่องมือ ข้อมูล ศาสตร์และประสบการณ์มาใช้ประโยชน์ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบัน โดย

1.1    Internet Of Thing (IoT) เป็นแนวคิดการนำเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ มาติดตั้งสมองกล (CPU) เล็ก ๆ แล้วต่อเชื่อมเข้ากับระบบ Internet เพื่อใช้ประโยชน์ในการสั่งการ รับ-ส่งข้อมูล เรียนรู้และประมวลผล โดยมีการควบคุมด้วยโปรแกรมประยุกต์ผ่านเครื่องมือ เช่น Smart Phone  คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ตัวอย่างนวัตกรรมที่เรียกว่า IoT  ได้แก่

- การใช้ Smart Phone สั่งให้เครื่องใช้ที่บ้านไม่ว่าจะเป็นปรับอากาศ หลอดไฟ กาน้ำร้อนทำงานหรือพร้อมใช้งานก่อนที่ผู้อยู่อาศัยจะเข้าบ้านหลังเลิกงาน

- การให้นาฬิกาข้อมือบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ การสูบฉีดของเลือดแล้วส่งข้อมูลไปเก็บไว้ใน Cloud Servers เพื่อประมวลผลและรายงานด้วยโปรแกรมให้รู้ทุกระยะบน Smart Phone หรือใช้เป็นข้อมูลเมื่อไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ

- การสั่งอาหารโดยการใช้มือถือถ่ายภาพเมนูอาหารที่ป้ายโฆษณาที่สถานีรถไฟฟ้า ซึ่งข้อมูลจะถูกนำไปค้นหาตำแหน่งที่พักของเจ้าของมือถือ ร้านอาหารที่มีสาขาใกล้บ้าน และประมวลผลระยะเวลาเดินทางจากตำแหน่งที่ถ่ายภาพเมนูอาหารไปยังที่พัก เมื่อผู้สั่งอาหารถึงที่พักอาหารที่สั่งก็จะถูกส่งถึงบ้านในเวลาใกล้เคียง เมื่อผู้สั่งอาหารได้รับอาหารแล้วระบบจะคิดเงินโดยตัดเงินในบัญชีของผู้สั่งอาหารทันที

1.2    Big Data เป็นข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกรับ-ส่งผ่านระบบ Internet ทั้งที่เป็นคำถาม คำตอบ ข้อคิดเห็นและเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยข้อมูลดังกล่าวจะเกิดขึ้นทุกวินาทีในโลก Cyber ทั้งข้อมูลที่มาจากระบบงานในรูป Descriptive Report, Prescriptive Report ข้อมูลที่เกิดจากระบบและเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งที่เป็น Text data, Sensor data, Records data, Behavioral data, Image & Sound data และข้อมูลที่เป็น Spatial data โดยข้อมูลเหล่านี้จะสามารถถูกเลือก หรือถูกเรียกมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย หลายรูปแบบ หลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับขบวนการการเข้าถึงและแนวคิด วิเคราะห์การใช้งาน จากผู้พัฒนาสร้างนวตกรรมใหม่ ๆ

1.3    Data Analytic เป็นทฤษฎี แนวคิด วิธีการในการสรุป ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์จะอาจจะเกิดผ่านระบบ Data Mining, Machine Learning หรือการวิเคราะห์ผ่านระบบใด ๆ โดยเฉพาะระบบที่เป็น Cloud Servers ที่มีทั้งการวิเคราะห์แบบ Predictive Analysis, Text Analysis, Video Analysis, Social media Analysis, Sentiment Analysis, Spatial Analysis และอื่น ๆ ซึ่งการวิเคราะห์เพื่อสร้างนวตกรรมใหม่ ๆ จำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีทั้งความรู้ทางศาสตร์ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง


 

2   ในการบูรณาการ เครื่องมือ ข้อมูล และศาสตร์เข้าด้วยกันจำเป็นต้องอาศัย องค์ความรู้ที่เป็นศาสตร์” “ประสบการณ์  และ ความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ เป็นหลัก

สำหรับนักภูมิศาสตร์แล้ว สิ่งที่เป็นความเชี่ยวชาญและเป็นอัตลักษณ์ของนักภูมิศาสตร์ที่อยู่ในหลักการในแนวคิดของ Big data คือความรู้ ความข้าใจข้อมูลที่เป็น  Spatial data และในแนวคิดของ Data Analytic คือ Spatial Analysis เพราะนักภูมิศาสตร์ศึกษาและเข้าใจ คุณสมบัติเชิงพื้นที่ ปรากฏการณ์เชิงพื้นที่และแนวคิดเชิงพื้นที่

รวมทั้งเข้าใจองค์ความรู้ทั้ง 5 กลุ่ม (กล่าวไว้ในตอนที่ 4) ส่วนการประยุกต์ใช้ประโยชน์นั้น ประสบการณ์และความเฉลียวฉลาดจะสร้างจินตนาการให้มีการสร้าง

นวตกรรมใหม่ ๆ ด้าน IoT ขึ้นมาเอง

ดังนั้น ตามความเห็นที่เกิดจากการตกผลึกความรู้และประสบการณ์แล้ว แนวคิดนักภูมิศาสตร์สมัยใหม่จึงมีควรมีองค์ปะกอบทั้งความรู้และประสบการณ์ ดังนี้

อย่างไรก็ตาม หากจะให้ฝันว่าบทบาทและความสำคัญของนักภูมิศาสตร์ควรเป็นเช่นไร  จะขอเปรียบเทียบการมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ โรค ของแพทย์ กับการมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ โลก ของนักภูมิศาสตร์ ดังนี้

2.1    เมื่อผู้ป่วยไม่สบายเป็นโรค ต้องพบหมอ ซึ่งโดยทั่วไปในเบื้องต้นต้องพบกับ อายุรแพทย์ ซึ่งรักษาทางยาหรือหัตถการที่ไม่ใช่การผ่าตัดก่อน

2.2    หากผู้ป่วยต้องรักษาเฉพาะทางจึงจะส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางให้รักษาอาการต่อไป

2.3    แล้วทำไม ? และทำอย่างไรเมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดความต้องการที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่แล้ว คนทั่วไปจะนึกถึงและให้ นักภูมิศาสตร์ ศึกษาและวิเคราะห์ก่อนเป็นอันดับแรก (ลักษณะคล้ายกับการรักษาโรค) เมื่อนักภูมิศาสตร์พิจารณาว่าต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจึงจะประสานการทำงานในแนวลึกร่วมกันต่อไป

ทั้งนี้ จากองค์ความรู้ ประสบการณ์และเครื่องมือที่นักภูมิศาสตร์มี มั่นใจได้ว่านักภูมิศาสตร์ สามารถทำงานได้ทั้งในฐานะผู้ศึกษาทางพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้วางแผนกำหนดทิศทางและขบวนการทำงาน และผู้ประสานงาน (Coordinator) ซึ่งความเป็นไปได้ต้องเริ่มต้นที่ การหา หรือสร้างโอกาสที่จะแสดงให้เห็นศักยภาพและความสามารถของนักภูมิศาสตร์สมัยใหม่ และที่สำคัญคือ นักภูมิศาสตร์รุ่นใหม่ควรเน้นที่จะเรียนรู้และปฏิบัติงานเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี ทางภูมิศาสตร์ควบคู่ไปกับการเรียนรู้หลักการพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เนื่องจากพบว่าหลายสถาบันเน้นสอนให้นักภูมิศาสตร์เรียนรู้ไปถึงขั้นการอ่านและเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (ไม่ใช่แกนของศาสตร์ทางภูมิศาสตร์) แต่สามารถประยุกต์นำไปใช้งานเพียงแค่หาคำตอบว่า มีอะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร ขณะที่ไม่สามารถประยุกต์ใช้ แนวคิด ทฤษฎีทางภูมิศาสตร์ไปวิเคราะห์ใช้งานได้จริงหรือใช้งานได้อย่างถูกต้อง

ในสิ่งที่กล่าวและเขียนมาทั้งหมด  เป็นแนวคิดที่ตกผลึกจากความรู้และประสบการณ์ของนักภูมิศาสตร์ที่ได้พยายามเรียนรู้และปฏิบัติงานจริง

ในแนวทางของศาสตร์ที่เรียกว่า ภูมิศาสตร์ ซึ่งยังคงทำอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถติดตามผลงานได้ที่ www.geo2gis.com

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    อ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติ เรื่องง่าย ๆ เด็กก็เข้าใจได้...สไตล์อณุศร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ราชบัณฑิตยสถาน (2549,258) ให้ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ว่า ระบบข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์....." แล้วเข้าใจข้อมูลที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ว่าอย่างไร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    แผนที่เป็นตัวแทนของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ถูกจัดเก็บไว้ในระบบ GIS ในขบวนการของระบบ GIS ที่ มีการใช้งานแผนที่ ประกอบด้วยขบวนการได้มาของข้อมูล การประมวลผล การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากจะขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้92
เมื่อวานนี้539
สัปดาห์นี้1665
เดือนนี้9964
ทั้งหมด1196173
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 2

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com