ผ่าช่อ สภาพภูมิสัณฐานที่เห็นเป็นชั้นดินและหินแยกออกเป็นชั้นๆ เขาว่าเป็น แกรนด์แคนยอนเมืองไทย

"The geological formation, characterized by layers of soil and rock, is referred to as the Grand Canyon of Thailand."

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ความรู้ ความเข้าใจที่จำเป็นต้องมีเมื่อจัดทำหรือใช้แผนที่

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ สิ่งที่สำคัญในความหมายของแผนที่ ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์

การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ

1. การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ

หลักการที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ คือ ระบบพิกัด

ระบบพิกัด : เป็นระบบการอ่านค่าตัวเลขในเชิงตำแหน่งบนพื้นที่ ซึ่งจะสามารถนำไปอ้างอิงคำนวณระยะทาง พื้นที่ ปริมาตรได้ต่อไป

พิกัดที่อ้างอิงบนแผนที่มี 2 ระบบหลัก คือ

1.1 ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ 

1.2 ระบบพิกัดกริด

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ :

ระบบการกำหนดตำแหน่งลงบนทรงกลมโลกโดยกำหนดเส้นสมมุติทั้งแนวตั้งและแนวนอน ได้แก่ เส้นละติจูด (Latitude) เส้นลองจิจูด (Longitude) เส้นศูนย์สูตร และเส้น Prime Meridian
การบอกตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์จะบอกอ้างอิงเป็นค่าระยะเชิงมุมของ ละติจูด (Latitude) ลองจิจูด (Longitude) หน่วยวัดจะกำหนดเป็น องศา ลิปดา ฟิลิปดา และบอกซีกโลกกำกับด้วย ( เหนือ - ใต้ - ตะวันออก - ตะวันตก ) 

ระบบพิกัดกริด :

ระบบวิธีการกำหนดค่าจุดตำแหน่งหรือค่าพิกัดในแผนที่ ระบบพิกัดกริดที่นิยมใช้ และนำมาใช้กับการทำแผนที่ในประเทศไทย คือ ระบบเส้นโครงพิกัด U.T.M. ( Universal Transverse Mercator Gris System)
ซึ่งจะแสดงเป็นตารางจตุรัสค่าพิกัด สำหรับแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน  1 : 50,000 ชุด L7017 ระบบพิกัด UTM แผนที่ขนาด 15 ลิปดา X 15 ลิปดา ทุกเส้นกริด UTM จะมีค่าพิกัดห่างกัน 1000 เมตร

 

2. การย่อส่วน 

การย่อส่วนจากสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกจริงๆ ลงมาในแผนที่เราเรียนกว่า สัดส่วนหรือมาตราส่วน

มาตราส่วน :

หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง โดยกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย

 

3. สัญลักษณ์แผนที่ :

สัญลักษณ์แผนที่จะปรากฏเป็น 3 ลักษณะ คือ

1.2.1 สัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็น จุด (point) เช่น ที่ตั้งจังหวัด อำเภอ วัดมีโบสถ์ วัดไม่มีโบสถ์ โรงเรียน เป็นต้น

1.2.2 สัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็น เส้น (line)เช่น แนวแบ่งเขตจังหวัด ถนน ทางน้ำ และเส้นชั้นความสูง เป็นต้น

1.2.3 สัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ (polygon) เช่น  สวนหรือไร่  สวนป่า  ทุ่งนา  แหล่งน้ำ

ในสัญลักษณ์ต่างๆ อาจจะมีข้อความเพื่ออธิบาย และการแสดงสี ประกอบด้วย โดยทั่วไปสัญลักษณ์จะออกแบบให้สื่อสารกับผู้ใช้งานได้ใกล้เคียงกับลักษณะภูมิประเทศจริงมากที่สุด
เพื่อความสะดวกต่อการแปลความ เช่น ทุ่งนา มีสัญลักษณ์คล้ายกับต้นข้าวทั่วทั้งพื้นที่ที่เป็นทุ่งนา แหล่งน้ำ จะกำหนดให้เป็นบริเวณที่มีสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสีน้ำทะเล
ทางรถไฟจะมีลักษณะคล้ายรางรถไฟ โรงเรียน มีลักษณะคล้ายเสาธงชาติ เป็นต้นนอกจากเครื่องหมายแล้ว  เรายังใช้สีเป็นการแสดงลักษณะภูมิประเทศอีกด้วย  เช่น

- สีดำ  หมายถึง สิ่งสำคัญทางวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น อาคาร  วัด  สถานที่ทางราชการต่างๆ เป็นต้น

- สีน้ำเงิน  หมายถึง  ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแหล่งน้ำ  เช่น  ทะเล  แม่น้ำ คลอง หนอง  บึง  เป็นต้น

- สีน้ำตาล  หมายถึง  ลักษณะภูมิประเทศที่มีความสูง เช่น  เส้นชั้นความสูง

- สีเขียว  หมายถึง  พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ  เช่น  สวน  ไร่ ป่า 

- สีแดง  หมายถึง  ถนนสายหลัก  พื้นที่ย่านชุมชน  และบริเวณภูมิประเทศสำคัญ

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ผลงานทางวิชาการเสนอเป็นผลงานในการปรับระดับการดำรงตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 7 เป็นเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 8ว. ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อนำหลักการพื้นฐานของ Network Analysis มาเป็นโปรแกรมการวิเคราะห์เส้นทาง มือถือจึงแนะนำเส้นทางเพื่อการทางเราได้

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลงานทางวิชาการเสนอเป็นผลงานในการปรับระดับการดำรงตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 6 เป็นเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 7ว. ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้221
เมื่อวานนี้539
สัปดาห์นี้1794
เดือนนี้10093
ทั้งหมด1196302
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 9

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com