ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ในเมื่อสามารถดูภาพพื้นผิวโลกเป็น 3 มิติใน Smart Phone ได้ตลอดเวลา แต่ก็ควรอ่านและเข้าใจ Contour เพราะเป็นพื้นฐานการอ่านค่า Isoline ทุกประเภท เช่น เส้นอุณหภูมิเท่า (isotherms) เส้นความกดอากาศเท่า (Isobar) เป็นต้น

หากไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต เมื่อสัญญาณดาวเทียมถูกรบกวน การอ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติก็น่าจะอ่านและเข้าใจได้ง่าย ๆ ....ลองดู...เด็ก ๆ ก็เข้าใจได้สไตล์อณุศร

1. หากนำกระป๋องทรงกระบอกสูง 20 เซนติเมตรมาวางบนพื้น แล้ววัดจากพื้นขึ้นมาที่ความสูง 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร ลากเส้นรอบกระป๋องทุกๆ ความสูงข้างต้น จะได้เส้นวงกลมขนานพื้นที่เป็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร

 

2. เมื่อมองกระป๋องลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร เป็นวงกลมซ้อนเป็นวงเดียวกัน

3. หากบีบกระป๋องด้านบนด้วยแรงเท่าๆกัน กระป๋องจะกลายเป็นรูปกรวยคว่ำและเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร จะแนบไปกับกระป๋องตามความสูงที่ลากเส้นไว้

4. เมื่อมองกระป๋องลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร เป็นวงกลมซ้อนกัน โดยเส้นความสูงที่ 0 จะใหญ่กว่าและอยู่วงนอก ส่วนเส้นความสูงที่ 5, 10, 15 และ 20 เซนติเมตร จะเล็กลงมาตามลำดับ โดยเส้นความสูงที่ 20 เซนติเมตรจะอยู่วงในสุด

5. หากบีบกระป๋องด้านบนด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน แล้วดึงฐานของกระป๋องให้ยืดออกไปด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งรูปทรงของกระป๋องที่ได้จะยุบและยืดเบ้ออกไปโดยจะมีเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตรแนบไปกับรูปทรงกระป๋องตามที่ลากเส้นไว้ และเมื่อมองกระป๋องลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร ซ้อนกันและเบี้ยวไปตามรูปทรงของกระป๋อง โดยเส้นความสูงที่ 0 จะใหญ่กว่าและอยู่วงนอก ส่วนเส้นความสูงที่ 5, 10, 15 และ 20 เซนติเมตรจะเล็กลงมาตามลำดับ

6. เมื่อนำกระป๋อง 2 ใบ มาบีบด้านบนด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน แล้วดึงฐานของกระป๋องให้ยืดออกไปด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งรูปทรงของกระป๋องที่ได้จะยุบและยืดเบ้ออกไปโดยจะมีเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตรแนบไปกับรูปทรงกระป๋องตามที่ลากเส้นไว้เช่นเดียวกับข้อ 5 ทั้ง 2 ใบ ต่อจากนั้นนำกระป๋องทั้ง 2 ใบมาวางให้ฐานของกระป๋องต่อกัน

เมื่อมองลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร ซ้อนกันและเบี้ยวไปตามรูปทรงของกระป๋องทั้ง 2 ใบ โดยเส้นความสูงที่ 0 ของกระป๋องทั้ง 2 ใบ จะใหญ่กว่าและเชื่อมติดกันอยู่วงนอก ส่วนเส้นความสูงที่ 5, 10, 15 และ 20 เซนติเมตรของทั้ง 2 ใบจะเล็กลงมาตามลำดับ

7. นำกระป๋องสูง 20 เซนติเมตร 2 ใบและกระป๋องสูง 10 เซนติเมตร 1 ใบ มาบีบด้านบนด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน แล้วดึงฐานของกระป๋องให้ยืดออกไปด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งรูปทรงของกระป๋องที่ได้จะยุบและยืดเบ้ออกไปโดยจะมีเส้นความสูงแนบไปกับรูปทรงกระป๋องตามที่ลากเส้นไว้เช่นเดียวกับข้อ 5

นำกระป๋องสูง 20 เซนติเมตร 2 ใบ คือกระป๋องใบที่ 1 และใบที่ 2 มาเฉือนตรงๆลงผ่านเส้นความสูง 5 เซนติเมตร

นำกระป๋องใบที่ 2 ที่ถูกเฉือนแล้วมาเฉือนอีกครั้ง โดยเฉือนตรงๆลงตัดผ่านเส้นความสูง 0 เซนติเมตรบางส่วนออก

นำกระป๋องสูง 10 เซนติเมตรมาเฉือนตรงๆลงตัดผ่านเส้นความสูง 0 เซนติเมตรบางส่วนออก ซึ่งจะได้กระป๋องใบที่ 3

นำกระป๋องสูง 10 เซนติเมตร 1 ใบซึ่งเป็นกระป๋องใบที่ 4 มาบีบด้านล่างด้วยแรงเท่าๆกัน กระป๋องจะกลายเป็นรูปกรวยหงายและเส้นความสูงที่ 0, 5 และ 10 เซนติเมตร จะแนบไปกับกระป๋องตามความสูงที่ลากเส้นไว้

แล้วนำกระป๋อง 3 ใบมาวางเบียดกันโดยนำใบที่ 1 และใบที่ 2 มาวางเบียดกันให้จุดที่ถูกเฉือนที่ผ่านเส้นความสูง 5 เซนติเมตรมาชนกัน แล้วนำกระป๋องใบที่ 3 มาวางเบียดชนใบที่ 2 ให้ส่วนที่เฉือนตรงๆ ผ่านเส้นความสูง 0 เซนติเมตรของทั้ง 2 ใบมาชนกัน ซึ่งจะทำให้กระป๋องทั้ง 3 ใบเรียงต่อเชื่อมกัน ซึ่งเส้นความสูงที่แนบอยู่ข้างกระป๋องทั้ง 3 ใบบางส่วนจะชนต่อกัน ส่วนกระป๋องใบที่ 4 ซึ่งเป็นกระป๋องที่มีขนาดเล็กให้นำมาวางซ้อนอยู่ใต้กระป๋องใบที่ 1 ทำให้กระป๋องใบที่ 4 อยู่ต่ำกว่าพื้นซึ่งมีความสูง 0 เซนติเมตร ดังนั้นเส้นความสูงที่ 0, 5 และ 10 เซนติเมตรของกระป๋องที่ 4 จะมีค่าติดลบโดยเส้นความสูงที่ 10 เซนติเมตรจะเป็นเส้นความสูงที่ 0 เซนติเมตร เส้นความสูงที่ 5 เซนติเมตรจะเป็นเส้นความสูงที่ -5 เซนติเมตร เส้นความสูงที่ 0 เซนติเมตรจะเป็นเส้นความสูงที่ -10 เซนติเมตร

เมื่อมองลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงซ้อนกันและเบี้ยวไปตามรูปทรงของกระป๋องทั้ง 4 ใบ โดยเส้นความสูงที่ 0 เซนติเมตรของกระป๋องใบที่ 1 ใบที่ 2 และใบที่ 3 จะเชื่อมต่อกันอยู่วงนอก เส้นความสูงที่ 5 เซนติเมตรของกระป๋องใบที่ 1 และใบที่ 2 จะเชื่อมติดกัน เส้นความสูงที่ 10, 15 และ 20 เซนติเมตรซึ่งเล็กกว่าจะซ้อนอยู่ด้านในตามลำดับ สำหรับกระป๋องใบที่ 3 เส้นความสูงที่ 5 และ 10 เซนติเมตรซึ่งเล็กกว่าจะซ้อนอยู่ด้านในตามลำดับเช่นกัน ส่วนเส้นความสูงของกระป๋องใบที่ 4 จะซ้อนอยู่ในเส้นความสูงของกระป๋องใบที่ 1 โดยเส้นความสูงที่ -10 เซนติเมตรภายในสุด ถัดมาคือเส้นความสูงที่ -5 และ 0 เซนติเมตรตามลำดับ อย่างไรก็ตามการแสดงเส้นความสูงที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นหรือระดับ 0 จะใช้สัญลักษณ์ขีดขวางสั้น ๆ ลากตั้งฉากกับเส้นความสูงเพื่อแสดงทิศทางตามแนวที่ต่ำลงไป

8. เราจะพบเส้นความสูงหรือที่เรียกว่าเส้นชั้นความสูง (Contour line) ปรากฏอยู่บนแผนที่เพื่อแสดงลักษณะของภูมิประเทศซึ่งสามารถอ่านและเข้าใจได้เช่นเดียวกับการมองเห็นเส้นความสูงที่เกิดจากการมองกระป๋องที่บิดเบี้ยวนั่นเอง

 

หากสามารถอ่านและเข้าใจ Contour line ได้ การอ่าน เข้าใจและวิเคราะห์ เส้นอุณหภูมิเท่า (isotherms) เส้นความกดอากาศเท่า (Isobar) และเส้นท่าอื่นๆ ก็เป็นเรื่องง่าย ๆ