ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

    Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    นักภูมิศาสตร์ควรเรียนรู้และศึกษาภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในพื้นที่โดยมุ่งเน้นศึกษาศึกษาเกี่ยวกับโลกในมิติของพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ในฐานะศิษย์เก่าจึงได้นำเสนอความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหาร

    อ่านเพิ่มเติม...

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

 เมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น กรอบการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว เชียงใหม่ ในฐานะนักวิชาการอิสระ ในวันนั้นได้มีโอกาสได้นำความรู้ในวิชาการด้านภูมิศาสตร์และมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศไปเสนอความเห็นต่อที่ประชุมหลายประเด็น แต่มีข้อคิดเห็นหนึ่งที่คิดว่าจำเป็นต้องนำมาเขียนขยายความเพื่อสร้างความเข้าใจให้รับรู้ทั่วกัน คือ ข้อมูลการวัดระยะและวัดพื้นที่จากระบบของ Google Earth” ซึ่งมีการพัฒนาระบบสารสนเทศต่อยอดเพื่อใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth

จะพบว่ามีระบบสารสนเทศหลายระบบที่มี Function การวัดระยะและวัดพื้นที่จากภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth เช่นเดียวกับระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน กำลังจะพัฒนาใช้ Function เพื่อวัดระยะเส้นทางเข้าถึงพื้นที่ทิ้งขยะ รวมทั้งวัดพื้นที่ทิ้งขยะและนำข้อมูลไปประมาณการในการคำนวณการขนถ่ายและกำจัดขยะ สิ่งที่ต้องบอกย้ำเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่อง การวัดระยะและวัดพื้นที่จากข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google” เนื่องจากผู้ใช้ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่ประกอบไปด้วย หน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะส่วนท้องถิ่นที่เป็น อบต. อบจ. ทั้งหลายล้วนมีความเสี่ยงที่จะนำเอาข้อมูลการคำนวณระยะทางและพื้นที่จากระบบฯ ไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ เช่น นำข้อมูลระยะทางและพื้นที่ไปใช้สำหรับงานการจัดเก็บภาษี จัดเก็บค่าธรรมเนียม จัดสรรงบประมาณการก่อสร้างซ่อมแซม เป็นต้น หากไม่ทราบว่าการคำนวณระยะทางและพื้นที่จากระบบคอมพิวเตอร์มีความถูกต้องในระดับใดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการบริหารงาน และการบริการประชาชนโดยตรง

เมื่ออธิบายความคลาดเคลื่อนของการวัดระยะและพื้นที่จากภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth ให้ชัดเจนแล้ว พบว่า ความผิดพลาดทางการวัดระยะและพื้นที่สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลักดังนี้

1.      ความละเอียด (Resolution) ของภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth

โดยปกติภาพถ่ายจากดาวทียมของ Google Earth ที่พบว่ามีความละเอียดของภาพ (Resolution) และต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อนำมาใช้ในทางธุรกิจ จะมีความละเอียดของภาพ (Resolution) ถึง 60 เซนติเมตร ซึ่งหมายความว่า 1 pixel จะมีขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ 60 x 60 เซนติเมตร แต่ที่พบและมีการนำมาใช้ทั่วไป(ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการนำมาใช้) จะมีความละเอียดของภาพ (Resolution) เป็นหลักเมตร หรือบางพื้นที่อาจจะมีความละเอียดของภาพ (Resolution) ถึง 15 เมตร หมายความว่า 1 pixel จะมีขนาดกว้าง x ยาว มากกว่า 15 x 15 เมตร แน่นอนว่าเมื่อต้องวัดระยะโดยการลากเส้นไปบนภาพถ่ายจากดาวเทียมที่มีความละเอียดไม่มาก เช่น ความละเอียด 2 เมตร เมื่อกำหนดจุดเริ่มต้นของการวัดระยะไปที่ตำแหน่ง pixel แรกเราอาจอยู่ที่ตำแหน่ง 0,0 หรือตำแหน่ง 2,2 เมตรของ pixel แรกก็ได้  หมายความว่า ตำแหน่งแรกของการวัดระยะอาจจะคลาดเคลื่อนได้เกือบ 2 เมตร เช่นเดียวกับทุกๆตำแหน่งที่ลากเส้นผ่านแต่ละ Pixel ไปจนถึงตำแหน่งสุดท้าย เราอาจจะได้ระยะทางคลาดเคลื่อนไปจากระยะจริงมาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเมืองที่ภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth จะมีความละเอียดของภาพ (Resolution) หลายเมตร ข้อมูลที่ได้จากการวัดระยะและพื้นที่จะคลาดเคลื่อนมากมาย

 

 ๒.      ความเอียงของกล้องถ่ายภาพ

เมื่อกล้องถ่ายภาพมีความเอียง ภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ได้จะมีความเอียงด้วย หากถ่ายพื้นผิวโลกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้ว ภาพที่ได้จากกล้องที่เอียงพื้นที่เดียวกันจะกลายเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู ดังนั้นการวัดระยะทางและพื้นที่ก็จะคลาดเคลื่อนไปด้วย

 

 

๓.      ความลาดเอียงของภูมิประเทศ

หากมีการวัดพื้นที่ที่บนภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ถ่ายภูมิประเทศที่ต่างกัน คือ ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบกับภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดเอียง โดยมีการวัดบนภาพถ่ายด้วยระยะทางหรือขนาดพื้นที่ที่เท่ากัน ข้อเท็จจริงจะพบว่า ระยะทางและขนาดพื้นที่ที่ถูกต้องบนภูมิประเทศที่มีความลาดเอียงจะมากกว่าภูมิประเทศที่เป็นที่ราบ

 

 

๔.      ความคลาดเคลื่อนจากมนุษย์

การวัดระยะทางหรือพื้นที่ด้วยโปรแกรมในระบบสารสนเทศนั้นจะมีข้อจำกัดที่การขยายภาพบนจอภาพและการกำหนดจุดต่างๆ ของการวัด ซึ่งแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน ดังนั้นความคลาดเคลื่อนมักจะเกิดขึ้นได้เสมอ

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข้อสงสัยในความแม่นยำจึงทดลองวัดระยะทางในพื้นที่จริงเทียบกับการวัดด้วยเครื่องมือจากโปรแกรมและข้อมูลของ Google Earth บริเวณพื้นที่หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า เมื่อนำเทปวัดระยะไปวัดระยะเส้นทางหนึ่งซึ่งวัดได้ระยะได้ประมาณ 48 เมตร

 

การวัดระยะที่ภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth ซ้ำๆ กันโดยพยายามขยายภาพให้ชัดเจนหลายๆครั้ง หลายๆ มุม ซึ่งระยะที่วัดได้จะแตกต่างกันไป เช่น 47.52 เมตร 47.45 เมตร 47.02 เมตร 46.74 เมตร และ 45.33 เมตร เป็นต้น

 

ข้อสังเกตที่ต้องตระหนัก คือ เมื่อต้องพัฒนาระบบสารสนเทศซึ่งจะต้องมีนักวิชาการคอมพิวเตอร์และนักวิชาการเฉพาะด้านสารสนเทศนั้นๆแล้ว หากต้องพัฒนาและใช้ Function งานเชิงพื้นที่หรืองานด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ควรต้องมีนักวิชาการด้านภูมิศาสตร์ที่เข้าใจข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยเสมอ และหากพิจารณาว่าเครื่องมือที่ใช้วัดระยะและพื้นที่จากภาพถ่ายจากดาวเทียม Google Earth เป็นเครื่องมือที่สะดวกและหาได้ง่ายที่สุดแล้ว สิ่งที่ต้องตระหนัก คือ ต้องเข้าใจและมีความรู้เรื่อง ที่มาของภาพถ่ายจากดาวเทียม Google Earth และผลกระทบของข้อมูลที่ได้จากการวัดระยะและพื้นที่เมื่อนำไปใช้งาน

 

หมายเหตุ ประเด็น การวัดระยะและวัดพื้นที่จากข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google” ในระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ผู้จัดการประชุมพิจารณาว่าจะเขียนข้อความอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจไว้ในระบบฯ

ขอขอบคุณภาพจาก Google Earth

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    แผนที่เป็นตัวแทนของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ถูกจัดเก็บไว้ในระบบ GIS ในขบวนการของระบบ GIS ที่ มีการใช้งานแผนที่ ประกอบด้วยขบวนการได้มาของข้อมูล การประมวลผล การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เอกสารการนำเสนอประกอบการสอนวิชา “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS สำหรับเมืองขนาดใหญ่ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์เบื้องต้น หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ แนวคิดและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้396
เมื่อวานนี้530
สัปดาห์นี้1852
เดือนนี้7296
ทั้งหมด1193505
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 4

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com