ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

งานแผนที่ในระบบ GIS ความคลาดเคลื่อนตลอดกาล 

แผนที่เป็นตัวแทนของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ถูกจัดเก็บไว้ในระบบ GIS ในขบวนการของระบบ GIS ที่ มีการใช้งานแผนที่ ประกอบด้วยขบวนการได้มาของข้อมูล การประมวลผล การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ ในขบวนการที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลด้วยสมการหรือสูตรทางคณิตศาสตร์ตาม Algorithms ที่กำหนดไว้ ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนเสมอ ผู้ใช้ระบบ GIS จึงจำเป็นต้องตระหนักและรับรู้ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะเข้าใจว่าผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ GIS มีความคลาดเคลื่อนในระดับของการยอมรับได้ สำหรับการนำไปประกอบการปฏิบัติงานหรือตัดสินใจได้หรือไม่ระดับใด

จากพื้นฐานแนวคิดทางภูมิศาสตร์สู่ระบบ GIS

                  ระบบ GIS มี การพัฒนามาจากพื้นฐานแนวคิดทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากภูมิศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มีมุมมองเพื่อศึกษาทางพื้นที่โดยการผสมผสานแนวความคิด กระบวนการจัดการ กระบวนการการกระจายตัวทางพื้นที่ วิวัฒนาการทางกายภาพ ชีวภาพและวัฒนธรรม รวมทั้งปฏิสัมพันธ์และการจัดระเบียบทางพื้นที่เพื่อมุ่งหาสาเหตุที่เกิดและ การจัดการปรากฏการณ์บนพื้นโลกอีกด้วย

                 ในทางภูมิศาสตร์ ถ้าจะอธิบายความหมายของคำว่า GIS หรือ Geographic Information System แล้ว David Martin ได้แยกอธิบายคำว่า GIS ไว้อย่างชัดเจนว่า

          Geographic เป็น ส่วนของภาพที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของข้อมูลที่อ้างถึงตำแหน่งบนพื้น โลกซึ่งมีการวัดหรือการคำนวณทางด้านพิกัดทางภูมิศาสตร์โดยเทียบเป็นมาตรา ส่วน

          Information เป็น ส่วนของการใช้ระบบถามคำถามหรือค้นหาคำตอบจากฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สารสนเทศที่ได้จะแสดงสภาพภูมิศาสตร์บนพื้นโลก ซึ่งนำมาแสดงในรูปของข้อมูลที่หลากหลาย ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำมารวบรวมจัดการในลักษณะของรูปจำลองที่เกิดขึ้นบนพื้น โลก

          System เป็นองค์ประกอบที่นำมาจัดการค้นหาคำตอบที่ต้องการรู้ ซึ่ง GIS ไม่ จำเป็นต้องเป็นระบบอัตโนมัติเท่านั้น ในองค์ประกอบเหล่านั้นควรจะผสมผสานกันระหว่างขบวนการนำเข้า จัดเก็บ จัดการและนำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แต่เนื่องจากระบบอัตโนมัติ ได้แก่ระบบคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว GIS จึงมีการพัฒนาให้เป็นระบบอัตโนมัติด้วยเช่นกัน

          โดยสรุประบบ GIS จะ เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่อ้างถึงตำแหน่งที่อ้างอิงมาตราส่วนซึ่งแสดงในรูปของ แผนที่ และมีการจัดการให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยมีขบวนการการนำเข้า จัดเก็บ จัดการและนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบซึ่งปัจจุบันเป็นระบบอัตโมัติหรือเป็น เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์นั้นเอง

Mitchell,Bruce ได้กล่าวถึงระบบ GIS ว่า เป็นรากฐานของการวางแผนภูมิภาคและการวางแผนจัดการทรัพยากร การผสมผสานการวิเคราะห์พื้นที่ ทางภูมิภาค เข้ากับการวิเคราะห์เชิงนิเวศน์วิทยา ในการวิเคราะห์ทางพื้นที่นักภูมิศาสตร์มักจะมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่  4 ประการคือ

1.      นักภูมิศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดโครงสร้างทางกายภาพของพื้นที่อย่างไร

2.      มนุษย์มีความสัมพันธ์กับพื้นที่อย่างไร

3.      มนุษย์มีการจัดการสังคมของพวกเขาในพื้นที่อย่างไร

      4.      แนวคิดเชิงพื้นที่และการใช้ประโยชน์พื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

รายละเอียด