ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ในฐานะศิษย์เก่าจึงได้นำเสนอความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหาร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ระดับน้ำลด เข้าถึงและพบเด็ก ๆ

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ที่มาระบบ GIS หากเข้าใจก็..ไม่ต้องเรียกหลายคำให้สับสน  

หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วจะพบว่าเป็นการเปลี่ยนขบวนการการจัดทำแผนที่โดยมือเป็นทำโดยคอมพิวเตอร์เท่านั้น

เมื่อเข้าใจว่าระบบ GIS เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมากระทำกับข้อมูลแผนที่ (Graphic) และข้อมูลประกอบแผนที่ (Non Graphic) โดยมีขบวนการซ้อนทับข้อมูลเป็นชั้นๆ (Layers) มีการวิเคราะห์ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลจากการคำนวณผลการซ้อนทับข้อมูลนั้นๆ

จริงๆ แล้ว....แต่ดั่งเดิมนักภูมิศาสตร์ทั่วไปก็มีการจัดทำขบวนการดังกล่าวมาตลอด

ในสมัยที่เรียนภูมิศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการทำ GIS ด้วยมือโดยสร้างชั้นข้อมูลหรือแผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic map) จากการนำเอาแผนที่ภูมิประเทศ (แผนที่ประเทศไทย 1: 50,000 จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร) มาวางเป็นพื้นฐานแล้วนำกระดาษลอกลาย (Tracing paper) มาเขียนสัญลักษณ์ข้อมูลแต่ละเรื่องซ้อนทับอ้างอิงแผนที่ภูมิประเทศนั้น โดยแผนที่เฉพาะเรื่องจะเป็นตำแหน่ง (เช่น ตำแหน่งสถานที่ท่องเทียวประเภทต่างๆ ตำแหน่งบ่อน้ำบาดาล) เป็นเส้นทาง (เช่น เส้นทางเดินของช้างป่า เส้นทางส่งสินค้าประเภทต่างๆ) เป็นพื้นที่ (เช่น พื้นที่ประเภทการใช้ที่ดิน พื้นที่ประเภทดิน พื้นที่แหล่งแร่ประเภทต่าง ๆ) นอกจากนี้ยังมีการสร้างแผนที่เฉพาะเรื่องต่อยอดจากข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศได้อีก เช่น แผนที่พื้นที่ความลาดชันที่สร้างต่อยอดจากข้อมูลเส้นชั้นความสูง แผนที่กลุ่มการใช้ที่ดินประเภทพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร พื้นที่ชุมชน เป็นต้น

 

จากข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เฉพาะเรื่องที่จัดทำบนกระดาษลอกลาย (Tracing paper) เรานำข้อมูลดังกล่าวมาซ้อนทับครั้งละ 2 ชั้นข้อมูลแล้วมองผ่านกระดาษลอกลายซึ่งโปร่งแสง โดยจะเห็นสัญลักษณ์ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชั้นข้อมูล ทั้งนี้ข้อมูลแผนที่เฉพาะเรื่องคือตัวแปรที่ถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผล เช่น

เมื่อแผนที่พื้นที่ความลาดชัน (ตัวแปรที่ 1) ซึ่งแบ่งเป็น

พื้นที่ความลาดชัน 0 – 8 %

พื้นที่ความลาดชัน 8 – 16 %

พื้นที่ความลาดชัน 16 – 35 %

พื้นที่ความลาดชัน > 35 %

เมื่อนำมาซ้อนทับกับ แผนที่พื้นที่ลุ่มน้ำ (ตัวแปรที่ 2) ซึ่งแบ่งเป็น

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 4

และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 5

            มองผ่านกระดาษลอกลายจะเห็นการซ้อนทับกันของ พื้นที่ความลาดชัน 0 – 8 % ที่ซ้อนทับกับพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 หรืออาจจะซ้อนทับไม่ครบทั้ง 5 ประเภท

            ในขณะที่พื้นที่ความลาดชันประเภทอื่นก็จะซ้อนทับกับพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นต่างๆในลักษณะเดียวกัน

            การซ้อนทับของแผนที่เฉพาะเรื่องทั้ง 2 ชั้นจะทำให้เกิดประเภทข้อมูลแบบใหม่ๆ ที่เกิดจากความสัมพันธ์เปรียบเทียบของตัวแปรที่ 1 กับตัวแปรที่ 2 ซึ่งเป็นเงื่อนไขการวิเคราะห์ โดยผลที่ได้จากการเปรียบเทียบจะนำมาวัดค่าของข้อมูลที่เกิดใหม่ทั้งที่เป็น ค่าพิกัดตำแหน่ง (อ่านค่าจากพิกัด UTM) ค่าความยาวของระยะทาง (วัดระยะแล้วนำมาเทียบกับมาตราส่วน) ค่าพื้นที่ซึ่งมีวิธีวัดหลายวิธีทั้งการนับ Dot Grid หรือการคำนวณพื้นที่ตามอื่นๆ (เขียนไว้ในบทความการวัดพื้นที่แบบโบราณ)

 จากข้อมูลการซ้อนทับทีละคู่ (ตัวแปรที่ 1 ซ้อนทับกับตัวแปรที่ 2, ตัวแปรที่ 3 ซ้อนทับกับตัวแปรที่ 4, ตัวแปรที่ 5 ซ้อนทับกับตัวแปรที่ 6...) แล้วนำมาซ้อนทับเปรียบเทียบกันเรื่อยๆ จนมีการซ้อนทับเปรียบเทียบกันครบทุกตัวแปร จะทำให้เห็นผลการวิเคราะห์ทั้งในเชิงตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่และเชิงปริมาณ และนักภูมิศาสตร์จะอ่านค่าแล้ววิเคราะห์อธิบายความในเชิงพรรณนาต่อไป

 จะพบว่าโดยความจริงแล้ว...แนวคิดการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบโบราณซึ่งภายหลังนำมาเอาระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือจัดทำแผนที่และซ้อนทับเปรียบเทียบข้อมูลจนกลายมาเป็นระบบ GIS ในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีการบัญญัติศัพท์เป็นคำใหม่ (Geographic information  system : U.S. terminology, Geographical information system : European terminology, Geomatique : Canadian terminology, Geoscience, Spatial information system, Geo-Information ) ตามความต้องการแล้วให้นิยามกันต่างๆ นานาก็ตาม สุดท้ายแล้ว ที่มาจริงๆของแนวคิดนี้ก็คือ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบโบราณของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งต้องการการวิเคราะห์ ประมวลผลและพรรณนาข้อมูลเชิงตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่คู่กับข้อมูลเชิงปริมาณเสมอ

อย่างไรก็ตาม หากมีการศึกษาข้อมูลการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหลายๆ วิชาที่สอนและเกี่ยวข้องกับ GIS แล้ว จะพบว่าผู้สอนและผู้เรียน GIS มีความเข้าใจเบี่ยงเบนไปในทิศทางของ เทคโนโลยีมากกว่า ภูมิศาสตร์ ถึงแม้คำว่าระบบ GIS จะมีคำว่า Geographic เป็นองค์ประกอบหลักก็ตาม ผลผลิตจากการเรียนที่ได้รับคือ นักศึกษาได้เรียนรู้ Function การทำงานของโปรแกรมมากกว่าการวิเคราะห์ ประมวลผลและพรรณนาข้อมูลเชิงตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่ควบคู่กับข้อมูลเชิงปริมาณ

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  • GIS เป็น แค่เครื่องมือ ในการนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้หรือการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ควรศึกษาในบ้างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลในระบบ GIS ไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูล ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

    พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

    และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

    อ่านเพิ่มเติม...
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้444
เมื่อวานนี้611
สัปดาห์นี้2151
เดือนนี้8586
ทั้งหมด1469513
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 7

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com