ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ถูกบรรจุเนื้อหาไว้ในวิชาเรียนในระดับมัธยมศึกษา

    อ่านเพิ่มเติม...
  • “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ข้อมูล แนวคิดและพลังการช่วยเหลือเด็ก ๆ

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 

 การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 2 อ่านและแปลความจากเส้นชั้นความสูง (Contour)

เมื่ออ่านค่าพิกัด UTM ในตอนที่ 1 แล้ว ในตอน 2 เราจะอ่านค่าและแปลค่าความสูงจากเส้นชั้นความสูง (Contour) กัน

เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS

 เส้นชั้นความสูงหลัก (Index Contour) จะมีค่าความสูงกำกับ เช่น เส้นชั้นความสูงที่มีค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 100 เมตร 200 เมตร 300 เมตร.... ส่วนเส้นชั้นความสูงที่อยู่ระหว่างเส้นชั้นความสูงหลักจะเป็นเส้นชั้นความสูงแทรก (Supplemental Contour) โดยปกติจะมีค่าความสูงเส้นละ 20 เมตร  

หากเป็นเส้นที่เป็นเส้นประ จะเรียกว่าเส้นชั้นความสูงประมาณ (Approximate Contour) ซึ่งเกิดจากการประมาณค่าขึ้นเองโดยอาจจะเนื่องจากผู้ทำแผนที่ไม่มีค่าระดับความสูงในบริเวณพื้นที่นั้นๆ ขบวนการสร้างเส้นชั้นความสูงที่เกิดจากการใช้ค่าความสูงโดยรอบ หรือการทำ Interpolation จึงคลาดเคลื่อนสูงไม่ได้ค่าตามมาตรฐานที่กำหนด ในงานทำแผนที่จึงสร้างเส้นชั้นความสูงประมาณเป็นเส้นประ หากทำการ Interpolate ด้วยระบบ GIS ซึ่งผู้ใช้โปรแกรมไม่เข้าใจหลักของขบวนการสร้างเส้นชั้นความสูงแล้ว เส้นชั้นความสูงทุกเส้นจะไม่สามารถแยกได้ว่าเส้นใดควรเป็น ชั้นความสูงโดยประมาณ (Approximate Contour) การนำไปใช้ประโยชน์อาจจะไม่เหมาะสมได้ (จะอธิบายเมื่อมีโอกาสต่อไป)

 

หากเป็นเส้นที่เป็นเส้นขีดสั้นๆตั้งฉากเส้นชั้นความสูง จะเรียกว่าเส้นชั้นความสูงเป็นแอ่ง (Depression Contour) ซึ่งปลายของขีดสั้นๆ จะชี้ลงที่ต่ำ

 

การอ่านค่าจะอ่านตามค่าที่กำกับเส้นชั้นความสูง ซึ่งปกติจะกำกับที่เส้นชั้นความสูงหลัก โดยจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่ออ่านค่าที่เส้นชั้นความสูงแทรก

 

การแปลความหมายโดยการอ่านค่าและลักษณะของกลุ่มเส้นชั้นความสูงที่ปรากฏเด่นชัด คือ

- ยอดเขาหรือเนินเขา เป็นจุดสูงสุดจะเป็นเส้นชั้นความสูงที่มาบรรจบกันเล็กๆ และจะไม่ปรากฏเส้นชั้นความสูงใดซ้อนอยู่ภายในเส้นนั้นอีก

- จมูกเขา เป็นส่วนที่ยื่นออกจากจุดสูงสุดของเนินเขาลาดลงต่ำ ลักษณะเส้นชั้นความสูงจากเส้นที่มีค่ามากจะยื่นแหลมออกยังไปเส้นที่มีค่าน้อยหรือยื่นลงสู่ที่ต่ำ

- แนวสันเขา เป็นแนวที่ลากเชื่อมกันจากยอดเขาไปยังอีกยอดเขาหรือไปตามแนวจมูกเขาเชื่อมเข้าหายอดเขาที่ใกล้กันที่สุดสุดถึงยอดเขาสุดท้าย

- ร่องน้ำ เป็นแนวที่เป็นร่องที่น้ำสามารถไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้ ลักษณะเส้นชั้นความสูงจากเส้นที่มีค่าน้อยจะยื่นแหลมเขาหาเส้นที่มีค่ามากหรือขึ้นสู่ที่สูง

 

 ตัวอย่างที่สามารถแสดงการอ่านและการแปลความได้ชัด คือ

 

 

ในการอ่านและแปลความเส้นชั้นความสูง ทำให้สามารถเข้าใจพื้นที่ บริหารจัดการพื้นที่ในภาพรวมได้อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง ดิน น้ำ และป่าไม้ ซึ่งการอ่านและแปลความเส้นชั้นความสูงทำให้มองเห็นสภาพทางกายภาพของลุ่มน้ำ ทั้งที่เป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่และลุ่มน้ำย่อยๆ ซึ่งคงจะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อๆไป

 

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 1 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/257-grid-utm-2 

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 3 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/255-profile-contour-2

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS สำหรับเมืองขนาดใหญ่ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์เบื้องต้น หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ แนวคิดและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การดำเนินการศึกษาใช้สภาพทางกายภาพของที่ตั้งอาคารเป็นเครื่องชี้ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย ใช้ GIS Multi Criteria Modeling Delphi Technique  เป็นเครื่องมือประกอบการศึกษา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมี Algorithms เกี่ยวข้องกับพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้464
เมื่อวานนี้767
สัปดาห์นี้2975
เดือนนี้9126
ทั้งหมด1208308
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 10

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com