สาระภูมิศาสตร์

พายุ ภัยพิบัติที่มากับฤดูร้อนและฤดูฝนของไทย

ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

ฤดูกาลของไทยทั้ง 3 ฤดู มีน้อยครั้งที่ทำให้เกิดภัยพิบัติอย่างรุนแรง แล้วอะไรคือสาเหตุการเกิดฤดูกาลของไทย ทั้ง ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว

ฤดูกาลของประเทศไทย

ประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู

1. ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

 

 เป็นช่วงที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณประเทศไทยจึงได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มๆ โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายนดวงอาทิตย์เกือบตั้งฉากในเวลาเที่ยงวันทำให้ร้อนจัด

 

 อย่างไรก็ตามบางช่วงที่มีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาจากประเทศจีนอาจทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างมวลอากาศร้อนกับมวลอากาศเย็นทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตก แต่ก็อาจจะช่วงทำให้อุณหภูมิเย็นลงได้บ้าง

 2. ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม

 

 โดยประมาณกลางเดือนพฤษภาคมลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมประเทศไทยทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลม  เนื่องจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณมหาสมุทรอินเดียทางซีกโลกใต้ พัดเอามวลอากาศชื้นข้ามเส้นศูนย์สูตรมาสู่ประเทศไทย มาพบกับร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านประเทศไทย

 

 

 

 อย่างไรก็ตามในฤดูฝนปกติจะมีฝนทิ้งช่วงในช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายนเนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านประเทศไทยทางตอนใต้จะเลื่อนขึ้นไปทางเหนือเลยออกไปทางตอนใต้ของจีน หลังจากนั้นประมาณช่วงเดือนกรกฎาคมร่องความกดอากาศต่ำก็จะเลื่อนลงมาทางใต้ผ่านประเทศไทยอีกครั้งจึงทำให้มีฝนตกชุก

 3. ฤดูหนาว ระหว่างกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

 

 โดยประมาณกลางเดือนตุลาคมลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดปกคลุมประเทศไทยแทนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีนจึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งมาปกคลุมประเทศไทย

 

 จึงเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูหนาว อากาศจะเริ่มเย็นและแห้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคกลาง ภาคตะวันออกลงมาอาจจะยังคงมีฝนฟ้าคะนองบ้าง แต่ภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดนำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม

  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภูมิศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เป็นรากฐานให้ศาสตร์อื่นๆ เป็นศาสตร์ที่สามารถผสมผสานแนวคิดศาสตร์อื่นๆ มาแสดงเป็นปรากฏการณ์ทางพื้นที่ได้ นักภูมิศาสตร์ใช้เทคนิคการสังเกต การอธิบายภาพความจริง ศึกษาปรากฏการณ์ที่มีความแตกต่าง หลากหลายในมิติของพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com