เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากจะขึ้น

เมื่อใช้โปรแกรมระบบ GIS การกำหนดประเภทของ Feature จะเริ่มที่การสร้างชั้นข้อมูลซึ่งหลักการควรพิจารณาดังนี้

สารบัญ

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

 การจัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบ GIS

 แผนที่ เป็นสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ สิ่งที่สำคัญที่ต้องเข้าใจคุณลักษณะของแผนที่ ประกอบด้วย
1. การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ
2. การย่อส่วน
3. สัญลักษณ์
ดังนั้นการบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ สำหรับการถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบลงแผนที่โดยใช้สัญลักษณ์นั้น จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องการย่อส่วน หรือมาตราส่วน เป็นสำคัญ โดย
มาตราส่วน หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง โดยกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย
เมื่อ มาตราส่วน 1 : 1,000 หมายความว่า ถ้าวัดระยะในแผนที่ได้ 1 หน่วย ระยะใน
ภูมิประเทศจะเท่ากับ 1,000 หน่วย เช่น
ถ้าในแผนที่เท่ากับ 1.2 นิ้ว ในภูมิประเทศจริงจะเท่ากับ 1.2 X 1,000 นิ้ว หรือ 1200 นิ้ว หรือ 100 ฟุต
ถ้าในแผนที่เท่ากับ 10 เซนติเมตร ในภูมิประเทศจะเท่ากับ 10 X 1,000 เซนติเมตร หรือ 10,000 เซนติเมตร หรือเท่ากับ 1 กิโลเมตร

 

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type) เมื่อต้องการจัดเก็บในแผนที่ ซึ่งลักษณะชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type) ในภูมิประเทศที่จะนำเข้าสู่ระบบแผนที่ทั้งที่เป็น Hard Copy หรือ Digital Map เบื้องต้นสามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะหลัก คือ
1. ข้อมูลแสดงตำแหน่ง (Point) : เป็นข้อมูลที่ไม่มีขนาดความกว้าง ยาว
2. ข้อมูลแสดงเส้นทาง (Line) : เป็นข้อมูลที่มีความยาว และทิศทาง
3. ข้อมูลแสดงพื้นที่ (Area / Polygon) : เป็นข้อมูลที่มีทั้งขนาด ความกว้าง และความยาว

 

  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ในการสร้างหรือแก้ไขชั้นข้อมูลในระบบ GIS สิ่งที่ต้องระวังและควรรับรู้ก็คือที่มาของแผนที่ฐาน เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบ Digital การย่อ ขยายเพื่อปรับแก้ข้อมูลทำได้ง่ายแต่คลาดเคลื่อนผิดพลาดตามค่าตั้งต้น

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com