เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

 

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแค่แนวคิดและเทคโนโลยี บางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย

เอกสารการนำเสนอประกอบการสอนวิชา “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

ประเทศไทยเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย ขณะที่ประชากรวัยชราและประชากรวัยเด็กซึ่งเป็นวัยพึ่งพิงต้องการการเลี้ยงดูและดูแลจากวัยแรงงาน ภายใต้สภาวะประชากรวัยเด็ก”ลดลง "วัยชรา"เพิ่มขึ้น "วัยแรงงาน" พร้อมจะเลี้ยงดูและดูแลกันอย่างไร 


มีโอกาสได้อ่านร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 เห็นแผนกลยุทธ์รายหมุดหมายที่พอเข้าใจแบบเป็นรูปธรรมได้ เช่น

- ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง

- ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน

- ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก

- ไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง

- ฯลฯ

เมื่อพิจารณาข้างต้นจะพบว่าเราต้องเตรียมแรงงานจำนวนมากและต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพเพื่อรองรับหมุดหมายที่กำหนดไว้ (จะใช้ Robot เข้ามาแทนแรงงานมนุษย์คงไม่ได้ทั้งหมด)

จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นข้อมูลประชากรกลางปี พ.ศ. 2565 เมื่อนำมาแสดงเป็นโครงสร้างประชากร (รูปที่ 1) พบว่า

(รูปที่ 1)

ประชากรทั้งชายและหญิงในวัยเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณ 10 ล้านคน) กับกลุ่มที่เป็นวัยชราหรือสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 12 ล้านคน) ซึ่งถือว่าเป็นวัยพึ่งพิงจะมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับวัยแรงงาน โดยเฉพาะถ้าว่าวัยแรงงานเป็นประชากรที่มีช่วงอายุ 15-59 ปี ซึ่งมีจำนวนประมาณ 42 ล้านคน ยังนับว่าเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ แต่หากพิจารณาว่าปัจจุบันกลุ่มเยาวชน ซึ่งอายุ 15-24 ปีส่วนใหญ่มุ่งที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาแล้ว ประชากรวัยแรงงานจริง ๆ กลายเป็นกลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 25-60 ปี ซึ่งจำนวนจะลดน้อยลง โดยจะหายไปประมาณ 8 ล้านคนเหลือวัยแรงงานเพียง 34 ล้านคน ในขณะที่ประชากรวัยพึงพิงจะมีประมาณ 30 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับประชากรวัยแรงงานอย่างมาก

 

หากนำข้อมูลประชากรในปี พ.ศ. 2556  พ.ศ. 2560 และ เดือนมิถุนายน ปี 2565 มาทำโครงสร้างอายุเปรียบเทียบกันแล้ว (รูปที่ 2) พบว่า

(รูปที่ 2)

 

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 ประชากรวัยเด็กและเยาวชน (อายุ 0-14 ปีลงมา) และประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ทั้งชายและหญิงจะค่อย ๆ ลดลง ในขณะที่ประชากรวัยชรา (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะ ขยับเพิ่มขึ้นชัดเจน และหากพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่า กลุ่มประชากรวัยแรงงานที่อยู่ในช่วงอายุ 30-44 ปี จะมีจำนวนค่อย ๆ ลดลง และจำนวนประชากรวัยแรงงานที่อยู่ในช่วงอายุ 45-49 ปี จะค่อนข้างคงที่ และจำนวนจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป

 

อธิบายให้เห็นภาพรวมชัด ๆ คือ แผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูแสดงข้อมูลประชากร ปี 2565 แผนภูมิที่เป็นเส้นสีเขียวแสดงข้อมูลประชากร ปี 2560 และแผนภูมิที่เป็นเส้นสีแดงแสดงข้อมูลประชากร ปี 2556

 

- ช่วงวัยเด็กแผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูสั้นกว่าเส้นสีเขียวและเส้นสีแดง แสดงว่าประชากรวัยเด็กลดลงจากปี 2556, 2560 และ 2565 ตามลำดับ

 

- ช่วงวัยวัยแรงงานช่วงอายุ 30-45 ปี แผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูสั้นกว่าเส้นสีเขียวและเส้นสีแดง แสดงว่าประชากรวัยแรงงานลดลงจากปี 2556, 2560 และ 2565 ตามลำดับเช่นกัน

 

- ในขณะที่วัยแรงงานบางส่วน(อายุ 50-59 ปี) และวัยชรา(อายุ 60 ปีขึ้นไป) แผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูยาวกว่าเส้นสีเขียวและเส้นสีแดง แสดงว่าประชากรวัยแรงงานบางส่วนและประชากรวัยชราเพิ่มขึ้นจากปี 2556, 2560 และ 2565 ตามลำดับ

ทั้งนี้เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคของ สังคมผู้สูงวัย และหากจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้บรรลุกลยุทธ์รายหมุดหมายตามร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แล้ว การพัฒนาแรงงานที่มีคุณภาพสูงอย่างเร่งด่วนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่ประชากรวัยชราและประชากรวัยเด็กซึ่งเป็นประชากรวัยพึ่งพิงต้องการการเลี้ยงดูและดูแลจากวัยแรงงาน ในสภาวะที่ประชากรวัยเด็ก”ลดลง "วัยชรา"เพิ่มขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ขณะนี้ประเทศไทยมีประชากร วัยแรงงาน และวัยพึ่งพิงอยู่เท่าไร ที่ไหนบ้าง ต้องดูแลและพัฒนากันอย่างไร   

 

 

 

 

  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ควรหรือที่จะสรุปว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS)  การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com