ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

ากมอง GIS ในฐานะเครื่องมือแล้ว GIS จะประกอบด้วย Hardware Software Data Information Network Application และ Peopleware หากแต่ผลผลิตของ GIS คือสารสนเทศ (Information) ซึ่งลักษณะเด่นคือ สารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information)

เมื่อใช้โปรแกรมระบบ GIS การกำหนดประเภทของ Feature จะเริ่มที่การสร้างชั้นข้อมูลซึ่งหลักการควรพิจารณาดังนี้

เมื่อใช้โปรแกรมระบบ GIS การกำหนดประเภทของ Feature จะเริ่มที่การสร้างชั้นข้อมูลซึ่งหลักการควรพิจารณาดังนี้

การกำหนด Feature Type กับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ มาตราส่วนของแผนที่ฐาน

ภายหลังที่อ่านบทความ ระบบ GIS ระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัด ?” ทำให้รู้จักคำว่า Feature Type ซึ่งประกอบด้วย Point Line Area/Polygon และ 3D อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้โปรแกรมระบบ GIS การกำหนดประเภทของ Feature เราจะคุ้นเคยเพียง Feature : Point Line Area/Polygon สำหรับ Feature ที่เป็น 3D เป็นเพียงลักษณะข้อมูลที่บอกความสูงต่ำซึ่งในระบบ GIS แล้วโดยปกติจะเก็บค่าในข้อมูลไว้ที่ตางรางข้อมูล Attribute Table

ในการกำหนดประเภท Feature ในโปรแกรมระบบ GIS จะเริ่มที่การสร้างชั้นข้อมูล โดยจะต้องกำหนดว่าชั้นข้อมูลใหม่จะเป็น Feature ประเภทไหน

วิธีกำหนดประเภท Feature ให้ถูกต้องตามหลักการควรพิจารณาดังนี้

1.       มาตราส่วนของแผนที่ฐาน (Base Map) ซึ่งปกติขนาดของมาตราส่วนจะขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้งาน เช่น การใช้งานระบบ GIS เพื่อการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน เพื่อการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารตามกฎหมายผังเมืองรวม เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมสำหรับการทิ้งขยะ ควรจะใช้แผนที่ฐานมาตราส่วนแตกต่างกันไป

2.       ขนาดของปรากฏการณ์หรือวัตถุที่เล็กที่สุดที่ต้องการสร้างชั้นข้อมูล

ตัวอย่างการกำหนด Feature Type ของชั้นข้อมูลอาคารที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ที่ต่างกัน 2 กรณี คือ

1)       การใช้งานระบบ GIS เพื่อการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน

2)       การใช้งานระบบ GIS เพื่อการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารตามกฎหมายผังเมืองรวม

จะพบว่ามีเงื่อนไขการกำหนดประเภท Feature ดังนี้

            - ปกติในเขตเมืองอาคารที่มีขนาดที่เล็กที่สุดจะ กว้าง x ยาว = 4 ม. X 6 ม.

- การใช้งานระบบ GIS เพื่อการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องการชี้เป้าอาคารหรือโรงเรือนที่ต้องจัดเก็บภาษีทุกอาคารให้แม่นยำไม่ผิดอาคาร จำเป็นต้องกำหนดชั้นข้อมูลอาคารให้มี Feature Type เป็น Polygon บนแผนที่ฐานมาตรส่วน 1 : 1000 หรือมาตราส่วนที่ใหญ่กว่า

เนื่องจากอาคารที่มีขนาดเล็กที่สุดกว้าง 4 เมตร หากการวาดแผนที่อาคารโดยใช้ลายเส้นที่หน้า 0.5 มิลลิเมตร วาดผนังอาคาร 2 ด้านคือ 2 เส้น ลายเส้นจะหนา 1 มิลลิเมตร

เมื่อใช้.....แผนที่มาตรส่วน 1 : 1000 จะมีขนาดหนาในพื้นที่โลกเท่ากับ 1000 มิลลิเมตร หรือ 1 เมตร

แต่ถ้าใช้.....แผนที่ฐานมาตราส่วนที่เล็กกว่า เช่น  1 : 4000 เมื่อวาดผนังอาคาร 2 ด้าน (ลายเส้นที่หน้า 0.5 มิลลิเมตร 2 เส้น) จะมีขนาดหนาในพื้นที่โลกเท่ากับ 4000 มิลลิเมตร หรือ 4 เมตร ซึ่งเท่ากับขนาดของอาคารที่มีขนาดเล็กที่สุดกว้าง 4 เมตรซึ่งไม่สามารถสร้างชั้นข้อมูลอาคารเป็น Polygon ได้

- การใช้งานระบบ GIS เพื่อการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารตามกฎหมายผังเมืองรวมต้องการชี้เป้าอาคารที่อยู่ในขอบเขตโซนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามประเภทของผังเมืองรวมเท่านั้น เราสามารถกำหนด Feature Type เป็น Point ได้ โดยแผนที่ฐานอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้แผนที่มาตรา 1 : 1000 อาจจะใช้แผนที่ มาตราส่วน 1 : 4000 หรือมาตราส่วนที่เล็กกว่าก็ได้ เพียงแต่ต้องสามารถแสดงข้อมูลขอบถนน ทางน้ำหรือแนวอ้างอิงอื่นใดที่สามารถแสดงขอบเขตโซนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามประเภทของผังเมืองรวมได้

  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายประกอบการทำ workshop การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย GIS ของ กทม. โดยนำข้อมูลมาใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ArcView

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com