สาระภูมิศาสตร์

เรื่องเล่าของเรา “วันพี่พบน้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้”

 

พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ในฐานะศิษย์เก่าจึงได้นำเสนอความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหาร

เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผลงานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้องและเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

 การวัดค่าในศาสตร์ของภูมิศาสตร์ 2

เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผล งานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้อง และเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

อย่างไรก็ตามก็ยังคงศึกษาควบคู่ไปกับเชิงคุณภาพไปด้วยตลอดจึงเป็นลักษณะเด่นของนักภูมิศาสตร์ที่มีการศึกษาเชิงพื้นที่ที่มีการบรรยายควบคู่ไปกับข้อมูลเชิงปริมาณที่มีความถูกต้อง (Accuracy) และเที่ยงตรง (Validity)

ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์การบรรยายข้อมูลเนื้อความจะมีทั้งความแม่นยำ (Precision) และความถูกต้อง (Accuracy) ควบคู่กัน

ความแม่นยำไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป หากเปรียบเทียบกับการปาเป้าสามารถอธิบายได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1)     1. กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,500 ตารางกิโลเมตร

อธิบายได้ว่า ปาเป้ามีความแม่นยำแต่ไม่ถูกต้องตรงกลางเป้า

1)      2. กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,568 ตารางกิโลเมตร

อธิบายได้ว่า ปาเป้ามีความแม่นยำและถูกต้องตรงกลางเป้า

1)      3. กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ใหญ่กว่าทุกจังหวัดในประเทศไทย

อธิบายได้ว่า ปาเป้าไม่มีความแม่นยำและไม่ถูกต้อง

1)     4. กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ใหญ่กว่าหลายจังหวัดในประเทศไทย

อธิบายได้ว่า ปาเป้าแม้ถูกต้องแต่ไม่มีความแม่นยำ นั้นคือข้อมูลถูกต้องแต่ไม่มีรายละเอียดเข้าใจได้หลากหลาย

ในการวัดค่าจะมีหน่วยนับซึ่งสามารถแยกข้อมูลเชิงปริมาณได้ 3 ลักษณะ คือ

 

   1. Ordinal

2.       2. Interval

  3.    3. Ratio

 

 

 อ่าน การวัดค่าในศาสตร์ของภูมิศาสตร์ ๑ ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/geography/239-measure-1

 

 

 

 

  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com