สาระภูมิศาสตร์

การเปลี่ยนแปลงเปลือกโลก

ตามทฤษฎี วัฏจักรของการกัดกร่อนของ วิลเลียม มอร์ริส เดวิส หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำ

สารบัญ

หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

 

            ภายใต้สมมุติฐานเบื้องต้นว่าประชากรวัยแรงงานคือกลุ่มประชากรที่สร้างรายได้หลักเพื่อนำมาเลี้ยงดูประชากรทั้งหมดซึ่งมีทั้งกลุ่มวัยแรงงาน วัยเด็กและวัยสูงอายุ สำหรับประเทศไทยเมื่อพิจารณาข้อมูลจำนวนประชากรทั้ง 3กลุ่มของประเทศไทยกลางปี พ.ศ. 2565 (เดือน มิถุนายน) จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า


ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66,111,805 คน เป็นวัยเด็ก(อายุ 0-14 ปี) ร้อยละ 15.59 วัยสูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 18.6 และ วัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ร้อยละ 63.95 หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 หมายความว่า มีประชากรในวัยพึ่งพิง 53 คนต่อประชากรวัยแรงงาน 100 คน (ถ้าอธิบายแบบง่าย ๆ คือ คนทำงาน 100 คน นอกจากต้องทำงานเลี้ยงดูตนเองและเลี้ยงดูเด็กและคนสูงอายุอีก 53 คน)

เมื่อวัยแรงงานและวัยพึ่งพิงส่งผลต่อกันนอกจากพิจารณาอัตราส่วนต่อกันแล้ว การรู้ว่าจำนวนประชากรทั้ง 2 กลุ่มอยู่ที่ไหนเท่าไรจะทำให้เห็นมุมมองด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และเมื่อนำข้อมูลจำนวนประชากรวัยเด็ก วัยสูงอายุ วัยแรงงาน และวัยพึ่งพิง(วัยเด็ก+วัยสูงอายุ) มาแสดงในรูปแผนที่ จะปรากฏข้อมูลดังนี้

ประชากรวัยเด็ก

 

รูปที่ 1 แผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยเด็กซึ่งมีอายุน้อยกว่า15 ปี แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนเด็กเป็น 5 กลุ่มพบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยเด็กจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา อุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับเมื่อพิจารณาการกระจายและกระจุกตัวของข้อมูลในพื้นพบว่ากลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กมากส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ที่พบกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กน้อยและปรากฏเป็นกลุ่มต่อเนื่องคือจังหวัดในภาคเหนือได้แก่จังหวัดลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และสุโขทัย

อย่างไรก็ตาม เมื่อนำเอาจำนวนประชากรวัยเด็กมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละซึ่งปรากฏตามแผนที่ในรูปที่ 2 โดยค่าข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งพบว่าร้อยละของประชากรเด็กต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะมีข้อมูลอยู่ในช่วงร้อยละ 11-25 และจังหวัดในภาคใต้จะมีสัดส่วนประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมากกว่าภาคอื่น ๆ

 

 

  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com