แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

รายละเอียด

GIS เป็น แค่เครื่องมือ ในการนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้หรือการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ควรศึกษาในบ้างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

การวัดพื้นที่บนแผนที่แบบโบราณ

 การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจความหมายของมาตราส่วนแผนที่ก่อน เช่น แผนที่มาตราส่วน 1 : 5,000 หมายถึง เมื่อวัดความยาวบนแผนที่ได้ 1 ส่วน หมายถึงในภูมิประเทศจะยาว 5,000 ส่วน ถ้าให้เขาใจง่ายๆ คือ วัดความยาวในแผนที่ได้ 1 เซนติเมตร บนพื้นโลกจะยาว 5,000 เซนติเมตร หรือ 50 เมตรนั่นเอง

เมือต้องการการวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการโดยพิจารณาจากรูปร่างของพื้นที่เป็นหลัก คือ

1.       ถ้ารูปร่างพื้นที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต สามารถคำนวณพื้นที่ได้โดยใช้สูตรตามรูปทรงเรขาคณิตนั้น โดยวัดค่าระยะจากมาตราส่วน เช่น พื้นที่ถ้าเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ คือ กว้าง x ยาว โดยความกว้างและความยาวหาได้จากการวัดในแผนที่แล้วนำมาเทียบมาตราส่วน

 

๒.      ถ้ารูปร่างพื้นที่ไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต สามารถคำนวณโดยใช้วิธีเบื้องต้นดังนี้

 

2.1 การคำนวณพื้นที่จากเส้นขนาน

 

วิธีการประกอบด้วย

1.       ลากเส้นขนานให้มีระยะห่างเท่า ๆ กันให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการ

2.       วัดระยะห่างของเส้นขนานและคำนวณระยะจริงในภูมิประเทศ

3.       วัดระยะความยาวของแต่ละเส้นขนานสร้างในข้อ 1 และคำนวณระยะจริงในภูมิประเทศของแต่ละเส้น

4.       คำนวณพื้นที่โดยนำ ความยาวของแต่ละเส้นขนานในข้อ 3 มารวมกันแล้วคูณด้วยความยาวของระยะห่างของเส้นขนานในข้อ 2

2.2 การคำนวณพื้นที่จากตารางจัตุรัส

 

วิธีการประกอบด้วย

1.       สร้างตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็ก บนแผ่นใส หรือวัสดุคล้ายกัน

2.       คำนวณพื้นที่แต่ละตาราง เช่น ถ้าตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 1 เซนติเมตร เมื่อนำไปวัดพื้นที่บนแผนที่มาตราส่วน 1 : 100,000 พื้นที่ 1 ตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส จะเท่ากับพื้นที่ภูมิประเทศจริงดังนี้

100,000 เซนติเมตร X 100,000 เซนติเมตร

1 กิโลเมตร  X  1 กิโลเมตร

1 ตารางกิโลเมตร

3.       นำเอาแผ่นใส ไปทาบพื้นที่ที่ต้องการวัดขนาด แล้วนับจำนวนช่องตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้งหมด เศษของตารางนำมานับรวมกันให้เป็นพื้นที่ตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส

๔.       คำนวณพื้นที่ว่ามีกี่ช่องตารางแล้วนับ 1 ช่องตารางเท่ากับ 1 ตารางกิโลเมตร ส่วนของเศษก็สามารถประมาณการได้ 

 

 

 

  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ความจริงแล้ว...ระบบ GIS ในปัจจุบัน คือ แนวคิดการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบโบราณของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งต้องการการวิเคราะห์ ประมวลผลและพรรณนาข้อมูลเชิงตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่คู่กับข้อมูลเชิงปริมาณเสมอ

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com