การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากจะขึ้น

หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วนักวิชาการพยายามนิยาม ระบบ GIS” เป็น 3 แนวทางตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่

สารบัญ

หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

 

            ภายใต้สมมุติฐานเบื้องต้นว่าประชากรวัยแรงงานคือกลุ่มประชากรที่สร้างรายได้หลักเพื่อนำมาเลี้ยงดูประชากรทั้งหมดซึ่งมีทั้งกลุ่มวัยแรงงาน วัยเด็กและวัยสูงอายุ สำหรับประเทศไทยเมื่อพิจารณาข้อมูลจำนวนประชากรทั้ง 3กลุ่มของประเทศไทยกลางปี พ.ศ. 2565 (เดือน มิถุนายน) จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า


ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66,111,805 คน เป็นวัยเด็ก(อายุ 0-14 ปี) ร้อยละ 15.59 วัยสูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 18.6 และ วัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ร้อยละ 63.95 หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 หมายความว่า มีประชากรในวัยพึ่งพิง 53 คนต่อประชากรวัยแรงงาน 100 คน (ถ้าอธิบายแบบง่าย ๆ คือ คนทำงาน 100 คน นอกจากต้องทำงานเลี้ยงดูตนเองและเลี้ยงดูเด็กและคนสูงอายุอีก 53 คน)

เมื่อวัยแรงงานและวัยพึ่งพิงส่งผลต่อกันนอกจากพิจารณาอัตราส่วนต่อกันแล้ว การรู้ว่าจำนวนประชากรทั้ง 2 กลุ่มอยู่ที่ไหนเท่าไรจะทำให้เห็นมุมมองด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และเมื่อนำข้อมูลจำนวนประชากรวัยเด็ก วัยสูงอายุ วัยแรงงาน และวัยพึ่งพิง(วัยเด็ก+วัยสูงอายุ) มาแสดงในรูปแผนที่ จะปรากฏข้อมูลดังนี้

ประชากรวัยเด็ก

 

รูปที่ 1 แผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยเด็กซึ่งมีอายุน้อยกว่า15 ปี แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนเด็กเป็น 5 กลุ่มพบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยเด็กจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา อุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับเมื่อพิจารณาการกระจายและกระจุกตัวของข้อมูลในพื้นพบว่ากลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กมากส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ที่พบกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กน้อยและปรากฏเป็นกลุ่มต่อเนื่องคือจังหวัดในภาคเหนือได้แก่จังหวัดลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และสุโขทัย

อย่างไรก็ตาม เมื่อนำเอาจำนวนประชากรวัยเด็กมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละซึ่งปรากฏตามแผนที่ในรูปที่ 2 โดยค่าข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งพบว่าร้อยละของประชากรเด็กต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะมีข้อมูลอยู่ในช่วงร้อยละ 11-25 และจังหวัดในภาคใต้จะมีสัดส่วนประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมากกว่าภาคอื่น ๆ

 

 

  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    อ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติ เรื่องง่าย ๆ เด็กก็เข้าใจได้...สไตล์อณุศร

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    แผนที่เป็นตัวแทนของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ถูกจัดเก็บไว้ในระบบ GIS ในขบวนการของระบบ GIS ที่ มีการใช้งานแผนที่ ประกอบด้วยขบวนการได้มาของข้อมูล การประมวลผล การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com