มนุษย์พยายามบอกเล่าปรากฏการณ์บนพื้นพิภพเป็นภาษา Cartographic Map

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS สำหรับเมืองขนาดใหญ่ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์เบื้องต้น หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ แนวคิดและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS

GIS เป็น แค่เครื่องมือ ในการนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้หรือการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ควรศึกษาในบ้างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

ข้อมูลในระบบ GIS มีมากมายหลายชั้นข้อมูล หลายมาตราส่วน หลายประเภทหลายนิยาม หากต้องการใช้ข้อมูลจะสร้างข้อมูลใหม่ควรเข้าใจว่ากลุ่มข้อมูล GIS มีอยู่ 3 กลุ่มข้อมูล

เมื่อต้องการใช้และแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบ GIS ควรจำแนกกลุ่มข้อมูลเป็น 3 กลุ่ม

 ภายหลังที่อ่านบทความ การกำหนด Feature Type กับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ มาตราส่วนของแผนที่ฐานและบทความสิ่งที่ต้องเข้าใจ...เมื่อสร้างชั้นข้อมูลอ้างอิงตำแหน่งของแผนที่ฐาน (Base Map) ในระบบ GIS” ทำให้รู้จักคำว่า แผนที่ฐาน (Base Map)

 คำถามต่อมาคือ นอกจากแผนที่ฐานแล้วในระบบ GIS ควรจะมีกลุ่มข้อมูลอะไรอีกบ้าง ทำไมต้องแบ่งกลุ่มข้อมูลนั้น

 ข้อมูลในระบบ GIS มีทั้งข้อมูล Spatial data และ Attribute data ซึ่งมีมากมายหลายชั้นข้อมูล หลายมาตราส่วน หลายประเภท หลายนิยาม หากต้องการใช้ข้อมูลจะสร้างใหม่ทำไม (ยกเว้นต้องการใช้งบประมาณหรือมีนัยอื่นๆ ซ้อนอยู่) สิ่งที่ต้องพิจารณาเริ่มแรกควรมองหาว่ามีแหล่งข้อมูลที่ต้องการใช้ว่ามีใคร หน่วยงานไหนทำไว้บ้าง สามารถแลกเปลี่ยนใช้งานร่วมกันได้หรือไม่

 ในองค์กรหนึ่งๆนั้น เมื่อนำระบบ GIS ไปพัฒนาใช้งานสิ่งแรกที่ต้องการคือข้อมูล หากองค์กรเดี่ยวที่ไม่มีแผนก สาขาหรือหน่วยงานย่อย การจัดทำ จัดหาและใช้งานข้อมูลในองค์กรคงไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ถ้าองค์กรมีหลายหน่วยงานย่อยที่เป็นแหล่งการเกิดและใช้งานข้อมูลต่างๆ อีกทั้งยังต้องการใช้งานข้อมูลจากภายนอกองค์กรอีก เราควรวิเคราะห์และจำแนกข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ

 

 

นั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงควรจำแนกกลุ่มข้อมูลเป็น 3 กลุ่มข้อมูล คือ ข้อมูลแผนที่ฐาน (Base Map) ข้อมูลทั่วไป (Common Data) ข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Specific Data)

 

 

 3 กลุ่มข้อมูล คืออะไร

 1. ข้อมูลแผนที่ฐาน เป็นฐานของการเกิดข้อมูลชุดอื่น ๆ การเกิดขอมูล Spatial data ในระบบ GIS ควรเริ่มต้นที่แผนที่ฐานก่อน โดยแผนที่ฐานจะเป็นตำแหน่ง เส้นหรือพื้นที่ที่ใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งสำหรับการสร้างข้อมูลอื่นๆ ซึ่งปกติจะเป็นการวาดซ้อนทับหรือนำข้อมูลจากเครื่องมือต่างๆมาอ้างอิงตำแหน่งในแผนที่ฐาน ชั้นข้อมูลที่เป็นแผนที่ฐาน เช่น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 50,000 ได้แก่ ถนน ทางน้ำ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เส้นชั้นความสูง เขตปกครอง ที่ตั้งสถานที่สำคัญ เส้นทางรถไฟ เป็นต้น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 1,000 ได้แก่ ถนน อาคาร แม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำ เขตปกครอง เป็นต้น

 2. ข้อมูลทั่วไป (Common Data) เป็นชุดข้อมูลที่ไม่ใช่แผนที่ฐานและเป็นชั้นข้อมูลที่หลายหน่วยงานมีความต้องการใช้งานร่วมกัน เช่น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 50,000 ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ ชุดดิน ชุดหิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม แหล่งน้ำใต้ดิน เป็นต้น 

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 1,000 ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวท่อประปา แนวสายโทรศัพท์ แนวท่อระบายน้ำ ตำแหน่งผาท่อระบายน้ำ ขอบเขตแปลงที่ดิน เป็นต้น

3. ข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Specific Data) เป็นข้อมูลที่มีการใช้งานเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือเป็นข้อมูลที่ใช้ชั่วคราวเฉพาะเหตุการณ์ เป็นข้อมูลเฉพาะด้านซึ่งปกติหน่วยงานอื่นไม่มีความต้องการนำไปใช้งานประจำ เช่น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 50,000 ได้แก่ เส้นความกดอากาศ ตำแหน่งหมุดหลักฐาน พื้นที่ดินถล่ม พื้นที่น้ำท่วม ตำแหน่งแผ่นดินทรุด เป็นต้น

            - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 1,000 ได้แก่ ตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้า ตำแหน่งประตูระบายน้ำ ตำแหน่งจุดวางถังขยะ ตำแหน่งต้นไม้ขนาดใหญ่ควรค่าต่อการอนุรักษ์ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เป็นต้น

  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ผลงานทางวิชาการเสนอเป็นผลงานในการปรับระดับการดำรงตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 7 เป็นเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 8ว. ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com