เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

ข้อมูลในระบบ GIS มีมากมายหลายชั้นข้อมูล หลายมาตราส่วน หลายประเภทหลายนิยาม หากต้องการใช้ข้อมูลจะสร้างข้อมูลใหม่ควรเข้าใจว่ากลุ่มข้อมูล GIS มีอยู่ 3 กลุ่มข้อมูล

GIS เป็น แค่เครื่องมือ ในการนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้หรือการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ควรศึกษาในบ้างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

เมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลในระบบ GIS ไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูล ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

 เมื่อพิจารณากล่าวถึงคำว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นเพียง "เทคนิควิธีการ" ในแนวคิดในการศึกษาภูมิศาสตร์แล้วนั้น การศึกษาทางด้านพื้นที่ผู้ใช้เครื่องมือ GIS ควรเข้าใจหลัก 3 ประการที่นักภูมิศาสตร์ศึกษาเชิงพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย คุณสมบัติเชิงพื้นที่ ปรากฏการณ์เชิงพื้นที่ และแนวคิดเชิงพื้นที่พื้นที่

 คุณสมบัติเชิงพื้นที่คืออะไร

 คุณสมบัติเชิงพื้นที่ : หากจะอธิบายคุณสมบัติเชิงพื้นที่ให้ชัดเจนสามารถอธิบายได้หลากหลายแง่มุมขึ้นอยู่กับการมุ่งประโยชน์ว่าจะอธิบายเพื่ออะไร สำหรับการอธิบายเพื่อนำไปประกอบกระบวนการทำงานในระบบ GIS ไม่ว่าจะในกระบวนการออกแบบฐานข้อมูล การรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล หรือการนำเอาข้อมูลไปใช้งานในด้านต่างๆ แล้ว สิ่งที่พบคือ คำที่บ่งบอกคุณสมบัติเชิงพื้นที่ซึ่งกลุ่มคำเหล่านั้นประกอบด้วย

 

1. Place : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกสถานที่ที่แสดงพื้นที่ที่กว้างขวาง

 

2. Location : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่

 

3. Node : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่แต่แสดงคุณสมบัติการเป็นศูนย์รวม ศูนย์กลางการเชื่อมต่อ

 

4. Distance : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกขนาดที่เป็นความยาวหรือมีระยะทาง

 

5. Surface : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกลักษณะของพื้นผิว

 

6. Shape : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกรูปร่างของพื้นที่

 

7. Size : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกขนาดของพื้นที่

   

คำถามที่สำคัญคือ รู้ไปเพื่ออะไร

 หากจะตอบคงจะอธิบายได้ไม่ชัดเจนเท่ากับยกตัวอย่างกรณีศึกษาต่อไปนี้

 - เมื่อพิจารณาแผนที่ท่องเที่ยวเราจะเห็น สนามหลวง ภูเขาทอง ถนนข้าวสาร ย่าน RCA ภูกระดึง กว้านพะเยาว์ เกาะภูเก็ต เกาะสิมิรัน เกาะช้าง หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ และอื่นๆ ในรูปแบบที่ตั้ง สำหรับนักภูมิศาสตร์ เมื่อศึกษาในขั้นตอนสำรวจ นำเข้าข้อมูล แสดงผลข้อมูลเป็นแผนที่ วิเคราะห์เพื่อคำนวณระยะทางและเวลาจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เราจะอ้างอิงแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ด้วยคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่เป็น Location ซึ่งเป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่เท่านั้น

 

- เมื่อพิจารณาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็น Location ในรายละเอียดที่ปรากฏในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เช่น มีจุดสนใจทางธรรมชาติอะไรบ้าง เราอาจจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ของ ภูกระดึง กว้านพะเยาว์ เป็น Place แทน

 

- เมื่อศึกษาในประเด็นการเป็นศูนย์รวม ศูนย์กลางการเชื่อมต่อคุณสมบัติเชิงพื้นที่ของ สนามหลวง ภูเขาทอง ก็อาจจะกลายเป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Node แทน Location 

 

- เมื่อมองแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งในรายละเอียด เช่น  หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ เราจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Shape แทน Location

 

- เมื่อต้องการเดินเที่ยวในบางแหล่งท่องเที่ยว เช่น  ถนนข้าวสาร ย่าน RCA หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ เราจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Distance แทน Location เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวมีพื้นที่เป็นแนวยาว

  

เมื่อทราบเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา หรือเมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูลในระบบ GIS ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จึงจำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

 ...........................................................................................................................................................................   

 ตอนต่อไปเราจะเรียนรู้แนวคิดการศึกษาเชิงพื้นที่ของนักภูมิศาสตร์ในส่วนของปรากฏการณ์เชิงพื้นที่และแนวคิดเชิงพื้นที่ ต่อไป

  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    อ่านเพิ่มเติม...
  • GIS เป็น แค่เครื่องมือ ในการนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้หรือการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ควรศึกษาในบ้างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com