มาเล่นสงกรานต์ถึงเชียงใหม่ คิดถึงวันเก่า ๆ ที่ใส่เสื้อม่อฮ่อมเล่นสาดน้ำรอบเมือง

Songkran festival in Chiang Mai, reminiscing about the old days when we wore the traditional 'moh hom' shirt, splashing water around the city.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

    The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    นักภูมิศาสตร์ควรเรียนรู้และศึกษาภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในพื้นที่โดยมุ่งเน้นศึกษาศึกษาเกี่ยวกับโลกในมิติของพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ทั้งนี้ จากองค์ความรู้ ประสบการณ์และเครื่องมือที่นักภูมิศาสตร์มี นักภูมิศาสตร์จึงทำงานได้ทั้งในฐานะผู้ศึกษาทางพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้วางแผนและผู้ประสานงาน

    อ่านเพิ่มเติม...

ให้เรตสมาชิก: 2 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ที่บอกว่าภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องของพื้นที่เป็นคำกล่าวที่กล่าวกันง่ายๆ ต่อๆกันมา วันนี้เลยลองหยิบข้อมูลประชากร (หาได้ทั่วไป) มาลองมองในมุมของนักภูมิศาสตร์ โดยตอน 1 กล่าวถึงจำนวนประชากรแต่ละอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ตอน 2 ลองนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่น การกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ ...ซึ่งพบว่ามีอะไรสนุกๆ จากข้อมูลจริงภายใต้มิติของพื้นที่และเวลา

 

 

ตอนที่ 2 มองเชียงใหม่จากการกระจายตัวของประชากร

 

 

จากข้อมูลตัวเลขประชากรที่ได้จาก Web Site ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พบว่า จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรถึง 1.73 ล้านคนเศษ มีขนาดของพื้นที่ถึง 20,107.057 ตารางกิโลเมตร หากพิจารณาความหนาแน่นของประชากรรายอำเภอจะพบว่า

อ.เมืองมีประชากรหนาแน่นสูงสุด คือ 1,541 คน/ต.ร.กม. รองลงมาคือ อ.สารภี 450 คน/ต.ร.กม. และ อ.สันป่าตอง 338 คน/ต.ร.กม.

ในขณะที่ย้อนหลังไป 5 ปี คือ ในปี พ.ศ. 2555 อ.เมืองก็มีประชากรหนาแน่นสูงสุด รองลงมายังเป็น อ.สารภีและ อ.สันป่าตอง โดยมีประชากรหนาแน่น 1,135 คน/ต.ร.กม. 435 คน/ต.ร.กม. และ 337 คน/ต.ร.กม. ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของประชากรรายอำเภอระหว่างปี พ.ศ. 2555 กับ ปี พ.ศ. 2559 พบว่า

ในปี พ.ศ. 2559 อำเภอเมืองมีความหนาแน่นของประชากรเพิ่มจาก ปี พ.ศ. 2555 มากสุดคือ จากเดิม 1135 คน/ต.ร.กม. เพิ่มเป็น 1541 คน/ต.ร.กม. โดยเพิ่มถึง 407 คน/ต.ร.กม. ในขณะที่อำเภออื่น ๆ ที่ความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้นจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 26 คน/ต.ร.กม. และพบว่า อำเภอดอยสะเก็ดมีความหนาแน่นของประชากรลดลงจาก ปี พ.ศ. 2555 มากสุด 28 คน/ต.ร.กม. ในขณะที่อำเภออื่น ๆ ที่ความหนาแน่นของประชากรลดลงจะลดลงไม่เกิน 2 คน/ต.ร.กม. หรืออาจจะกล่าวรวม ๆ ได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ปี พ.ศ. 2555 กับปี พ.ศ. 2559 การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนประชากรต่อ 1 ต.ร.กม. ของทุกอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่จะไม่เกิน 30 คนต่อ 1 ต.ร.กม. ยกเว้นอำเภอเมืองเท่านั้นที่ประชากรเพิ่มขึ้นถึง 407 คนต่อ 1 ต.ร.กม.

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความหนาแน่นของประชากร ปี พ.ศ. 2559 ซึ่ง อำเภอเมืองมีความหนาแน่นของประชากร สูงสุด (ประมาณ 1500 คน/ต.ร.กม.) และมีความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้นในระยะ 5 ปีมากที่สุด พบว่ายังคงมีความหนาแน่นของประชากรไม่มาก หากเทียบกับกรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองหลวงของประเทศแล้วจะมีความหนาแน่นของประชากรเพียงครึ่งหนึ่งของความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร (ประมาณ 3600 คน/ต.ร.กม.) และพบว่าอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่มี ความหนาแน่นของประชากรเทียบเท่ากับความหนาแน่นของประชากรเขตชานเมือง ได้แก่ เขตคลองสามวา เขตบางขุนเทียน เขตลาดกระบัง เท่านั้น (ข้อมูลความหนาแน่นของประชากรกรุงเทพมหานคร จากหนังสือ สถิติ 2559 กรุงเทพมหานคร สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร)

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการกระจายตัวของประชากรจากข้อมูลความหนาแน่นของประชากรรายอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่แล้วพบว่ายังไม่สามารถบ่งชี้อะไรได้ไม่ชัดเจน แต่เมื่อนำข้อมูลประชากร ปี พ.ศ. 2559 รายตำบลมาพิจารณาจะพบว่า

การกระจุกและกระจายตัวของประชากรจะชัดเจน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตอนกลางของจังหวัด และกลุ่มตอนเหนือของจังหวัด

โดยกลุ่มตอนกลางของจังหวัดจะยังคงมีความหนาแน่นของประชากรมากที่ตำบลในอำเภอเมืองและตำบลในอำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง อำเภอสารภี  อำเภอหางดง ซึ่งเป็นตำบลที่ติดกับอำเภอเมือง โดยต่อเนื่องไปถึงตำบลในอำเภอแม่ริมต่ออำเภอสันทรายและอำเภอแม่แตง

สำหรับกลุ่มตอนเหนือของจังหวัดจะมีตำบลที่ความหนาแน่นของประชากรมากกระจายเป็นกลุ่มย่อย ที่ชัดเจนคือตำบลในอำเภอฝางต่ออำเภอแม่อาย

ขณะที่พิจารณาย้อนหลังไป 5 ปี คือ ปี พ.ศ. 2555 จะพบว่าการกระจุกและกระจายตัวของประชากรก็มีลักษณะเดียวกับ ปี พ.ศ. 2559 เช่นกัน โดยจะชัดเจน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตอนกลางของจังหวัด และกลุ่มตอนเหนือของจังหวัด

เพียงแต่ในปี พ.ศ. 2555 อำเภอเวียงแหงยังไม่มีตำบลที่มีประชากรเกิน 100 คนต่อ 1 ต.ร.กม.เหมือนกับปี พ.ศ. 2559

 

เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของประชากรเปรียบเทียบจากปี พ.ศ. 2559 และย้อนหลังไป 5 ปี (พ.ศ. 2555) พบว่าการกระจายตัวและกระจุกตัวของประชากรจังหวัดเชียงใหม่จะมีลักษณะเดียวกัน โดยจะเกิดขึ้นตามแนวถนนและจุดตัดของถนนสายหลักจากอำเภอเมืองไปทางตอนเหนือของจังหวัดโดยจะปรากฏจะชัดเจนบริเวณพื้นที่ราบลุ่มเป็นหลัก ในขณะที่ทางตอนใต้ของจังหวัดซึ่งมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงการกระจายตัวของประชากรจะเป็นแนวตามถนนสายหลักไปถึงแค่อำเภอดอยหล่อและจอมทองเท่านั้น

..........................................................................................................................................................................

เมื่อความหนาแน่นของประชากรอาจจะทำให้เห็นการกระจายตัวและกระจุกตัวของประชากรในแต่ละพื้นที่ สำหรับนักภูมิศาสตร์เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบอื่นในพื้นที่แล้วจะเห็นปรากฏการณ์บางอย่างในพื้นที่ และเมื่อมองประชากรเป็นกลุ่มต่างๆ จะทำให้เห็นภาพของโอกาส อุปสรรค ผลกระทบ การป้องกัน การแก้ปัญหาและอื่นๆชัดขึ้น ทั้งนี้จะกล่าวต่อไปในตอนที่ 3

 

 

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    แผนที่เป็นตัวแทนของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ถูกจัดเก็บไว้ในระบบ GIS ในขบวนการของระบบ GIS ที่ มีการใช้งานแผนที่ ประกอบด้วยขบวนการได้มาของข้อมูล การประมวลผล การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

    พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

    และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วนักวิชาการพยายามนิยาม ระบบ GIS” เป็น 3 แนวทางตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้252
เมื่อวานนี้425
สัปดาห์นี้1093
เดือนนี้12027
ทั้งหมด1428247
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 6

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com