สาระภูมิศาสตร์

เรื่องของลม

เมื่อรับรู้ถึงการเปลี่ยนฤดู...ลมจะมาอีกแล้วซินะ...ลมอะไรกันนักหนา

ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

ภัยพิบัติจากแผ่นดินถล่ม (Landslide)

          แผ่นดินถล่ม (Landslide) เป็นขบวนการเกิดเป็นการเคลื่อนที่ของแผ่นดินและวัตถุต่าง ๆ บนพื้นดิน การเคลื่อนที่จะเคลื่อนบนพื้นที่ลาดโดยอาจจะมีน้ำหรือความชื้นเป็นตัวหล่อลื่น ปรากฏการณ์แผ่นดินถล่มเป็นกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นดินที่ถล่มตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเนื่องจากเกิดการเสียความสมดุลในการทรงตัว ทำให้มีการปรับตัวไหลลงมาตามแรงดึงดูดของโลก

Landslides involve the movement of soil and various objects on the ground. The movement may occur on sloping terrain and may be influenced by water or moisture, providing lubrication. Landslides are characterized by the downward movement of soil from higher to lower elevations due to a loss of balance in the stability of the terrain. This results in the soil adjusting and flowing downward under the influence of gravity.

 โดยทั่วไปแผ่นดินถล่มมักจะเกิดเวลามีฝนตกมากบริเวณภูเขา ซึ่งดินภูเขาต้องอุ้มนำไว้ ดินชั้นล่างมีการไหลซึมของน้ำช้ามาก ดินชั้นบนไม่เกาะกันเพราะอิ่มตัวด้วยน้ำ ประกอบกับมีความลาดเทในพื้นที่ระดับหนึ่งจึงจึงเกิดการพังหรือถล่มลงมา

Landslides often occur during heavy rainfall in mountainous regions where the soil on the slopes becomes saturated. The lower layers of soil experience slow water infiltration, while the upper layers, already saturated, lose their cohesion. Combined with a slope in the terrain, this imbalance leads to the collapse or sliding of the soil mass downward.

การเกิดแผ่นดินถล่มจะประกอบด้วย 4 ลักษณะของการถล่ม คือ

The occurrence of landslides comprises four characteristics of movement:

1.       การตก (Falls) เป็นการหลุดออกจากที่ชันสูงและตกลงมาเป็นก้อนหรือมวลขนาดใหญ่

Falls: This involves the detachment of a mass from a steep slope, causing it to fall as a large block or mass.

2.       การล้มหรือคว่ำของมวล (Topples) เป็นการล้มคว่ำหรือหมุนม้วนไปข้างหน้าทั้งก้อน

Topples: This refers to the forward tilting or rotation of a mass, causing it to fall or roll forward as a unit.

3.       การไถล (Slides) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลไปบนผิวชนิดใดชนิดหนึ่งเช่นผิวโค้ง ผิวเรียบ

Slides: This is the movement of a mass along a surface, such as a curved or flat surface.

4.       การไหล (Flows) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลตามแนวลาดชันโดยมีน้ำเป็นตัวช่วยให้เคลื่อน

Flows: This involves the movement of a mass along an inclined slope, often facilitated by the presence of water.

 

ปัจจัยและองค์ประกอบการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินถล่ม ประกอบด้วย

The factors and components contributing to the occurrence of landslide disasters include:

1.       ลักษณะภูมิประเทศ เช่น ความลาดชัน ความยาวของความลาดชัน ระดับความสูงของพื้นที่

Topographical Features: such as slope steepness, length of slopes, and the elevation of the area.

2.       ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา  เช่น องค์ประกอบของหินและดิน

Geological and Soil Characteristics: Such as the composition of rocks and soil.

3.       ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งจะมีผลต่อการปกคลุมพื้นดิน

Land Use Characteristics: Including the impact of land use practices on soil cover.

4.       ลักษณะภูมิอากาศ เช่นปริมาณฝน

Climatic Conditions: Such as precipitation.

 

แนวทางการบรรเทาภัยจากการเกิดแผ่นดินถล่ม

               ตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์ การป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินถล่มสามารถจำแนกตามพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงภัยแตกต่างกันควรจะทำการวิเคราะห์พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม ในการวิเคราะห์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มทั้ง 4 ปัจจัยข้างต้น เทคนิคในการวิเคราะห์จะใช้แผนที่ที่แสดงจุดที่เกิดแผ่นดินถล่ม นำมาเปรียบเทียบโดยซ้อนทับกับแผนที่ที่แสดงปัจจัยการเกิดแผ่นดินถล่มเพื่อพิจารณารายละเอียดและวิเคราะห์ศักยภาพที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัยที่จะทำให้เกิดแผ่นดินถล่มซึ่งทำให้ทราบว่าบริเวณที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพื้นที่ที่เคยเกิดแผ่นดินถล่มเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคนิควิธีการด้านการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งาน ทำให้สามารถวิเคราะห์พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มได้ชัดเจนขึ้น

We can classify strategies based on varying risk levels using geographical principles, landslide prevention, and mitigation. Analyzing landslide-prone areas requires consideration of fundamental factors, including the four mentioned factors. We use maps in analytical techniques to show landslide locations along with factors that contribute to landslides. The detailed examination and assessment of each factor's potential impact on landslides is made possible through this comparative analysis. When we identify areas resembling those where landslides have occurred in the past, it becomes clear which areas are at risk. GIS techniques are currently used to improve the analysis of landslide-prone areas. The integration helps identify areas prone to landslides with more clarity.

               เมื่อรู้พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มในระดับต่าง ๆ แล้ว สามารถกำหนดแนวทางในการป้องกันและบรรเทาการเกิดแผ่นดินถล่มได้โดยแยกเป็นมาตรการในแต่ละระยะดังนี้

Once areas susceptible to landslides are identified at various levels, prevention and mitigation strategies can be tailored accordingly. We categorize these strategies based on different phases as follows.

 

มาตรการระยะยาวเพื่อจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม  ได้แก่

Long-term measures for managing landslide-prone areas include:

1.       การกำหนดเขตการใช้ที่ดินอย่างชัดเจน

Clearly defining land-use boundaries.

2.       การกำหนดกฎระเบียบและข้อกำหนดในการจัดการพื้นที่

Establishing regulations and guidelines for area management.

3.       การจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินถล่ม

Allocating budgets for constructing various structures to mitigate landslide intensity.

4.       การปลูกพืชคลุมดินที่เหมาะสม โตเร็ว

Planting suitable and fast-growing ground cover vegetation.

5.       การส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการป้องกันและบรรเทาการเกิดแผ่นดินถล่ม

Promoting awareness and providing education on landslide prevention and mitigation.

6.       การติดตามสถานการณ์ข่าวพยากรณ์อากาศ

Monitoring weather forecasts.

มาตรการระยะสั้นหรือมาตรการเร่งด่วนเพื่อจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม  ได้แก่

Short-term or emergency measures for managing landslide-prone areas include:

1.       การกำหนดเขตพื้นที่ที่เป็นอันตรายจากการเกิดแผ่นดินถล่ม

Identifying areas at risk of landslides.

2.       การวางมาตรการและกำหนดวิธีการจัดการพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม

Implementing measures and defining methods to manage areas prone to landslides.

3.       เร่งดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม

Urgently undertaking improvements in areas susceptible to landslides.

4.       จัดตั้ง อบรมและให้ความรู้แก่หน่วยบรรเทาสาธารณภัย

Establishing training programs and providing knowledge to disaster relief units.

5.       เร่งดำเนินการย้ายชุมชนที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มสูง

Expedited relocation of communities at high risk of landslides.

6.       หาวิธีหรือแนวทางในการจัดทำและติดตั้งระบบเตือนภัย

Exploring methods or guidelines for developing and installing warning systems. 

                         สำหรับในประเทศไทยพบบริเวณที่เกิดแผ่นดินถล่มอยู่จำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณที่เป็นภูเขา เมื่อฝนตกหนักเกิดการถล่มของดินน้ำจะพัดพาเอาดินเหล่านั้นไปตามลำน้ำ ร่องเขาออกสู่ปากแม่น้ำ ไหลลงสู่ที่ราบ สู่ชุมชนทำให้เกิดความเสียหาย  แผ่นดินถล่มจะพบชัดเจนและเกิดความเสียหายได้แก่บริเวณบริเวณภาคใต้  เช่น เมื่อวันที่ 5-6 .. 2518 ภูเขาถล่มที่ ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้บ้านเรือนพัง 85 หลัง เสียชีวิต 24 คน สูญหาย 35 คน และ เมื่อวันที่ 26 พ.ย. – 4 ธ.ค. 2531 ที่ ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน  จังหวัดนครศรีธรรมราช ภูเขาถล่ม น้ำพัดพาเอาดิน ต้นไม้มากระแทกทับบ้านเรือนทำให้เสียหาย 2621 หลัง คนเสียชีวิต 236 คน สูญหาย 305 คน เป็นต้น

Thailand has many mountainous regions that are prone to landslides. Heavy rainfall can cause soil erosion, resulting in the displacement of soil that is carried by water, ultimately causing damage downstream. The southern region of Thailand experiences noticeable and significant effects from landslides.

For example, on January 5-6, 1975, a landslide occurred in Hin Tok Subdistrict, Ron Phibun District, Nakhon Si Thammarat Province. This event resulted in the destruction of 85 houses, with 24 fatalities and 35 missing persons. Another notable incident took place from November 26 to December 4, 2531 (1988) in Krathun Subdistrict, Phipun District, Nakhon Si Thammarat Province. A landslide caused soil and trees to collide with houses, resulting in damage to 2,621 houses, 236 fatalities, and 305 missing persons.

 

  • ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

    Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผลงานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้องและเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com