สาระภูมิศาสตร์

การวัดค่าในศาสตร์ของภูมิศาสตร์ 2

เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผลงานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้องและเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

ฤดูกาลของไทยทั้ง 3 ฤดู มีน้อยครั้งที่ทำให้เกิดภัยพิบัติอย่างรุนแรง แล้วอะไรคือสาเหตุการเกิดฤดูกาลของไทย ทั้ง ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว

ฤดูกาลของประเทศไทย

ประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู

1. ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

 

 เป็นช่วงที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณประเทศไทยจึงได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มๆ โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายนดวงอาทิตย์เกือบตั้งฉากในเวลาเที่ยงวันทำให้ร้อนจัด

 

 อย่างไรก็ตามบางช่วงที่มีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาจากประเทศจีนอาจทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างมวลอากาศร้อนกับมวลอากาศเย็นทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตก แต่ก็อาจจะช่วงทำให้อุณหภูมิเย็นลงได้บ้าง

 2. ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม

 

 โดยประมาณกลางเดือนพฤษภาคมลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมประเทศไทยทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลม  เนื่องจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณมหาสมุทรอินเดียทางซีกโลกใต้ พัดเอามวลอากาศชื้นข้ามเส้นศูนย์สูตรมาสู่ประเทศไทย มาพบกับร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านประเทศไทย

 

 

 

 อย่างไรก็ตามในฤดูฝนปกติจะมีฝนทิ้งช่วงในช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายนเนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านประเทศไทยทางตอนใต้จะเลื่อนขึ้นไปทางเหนือเลยออกไปทางตอนใต้ของจีน หลังจากนั้นประมาณช่วงเดือนกรกฎาคมร่องความกดอากาศต่ำก็จะเลื่อนลงมาทางใต้ผ่านประเทศไทยอีกครั้งจึงทำให้มีฝนตกชุก

 3. ฤดูหนาว ระหว่างกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

 

 โดยประมาณกลางเดือนตุลาคมลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดปกคลุมประเทศไทยแทนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีนจึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งมาปกคลุมประเทศไทย

 

 จึงเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูหนาว อากาศจะเริ่มเย็นและแห้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคกลาง ภาคตะวันออกลงมาอาจจะยังคงมีฝนฟ้าคะนองบ้าง แต่ภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดนำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม

  • ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

    The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • บทสรุป : ภูมิศาสตร์ศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนภารกิจช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com