สาระภูมิศาสตร์

สภาพอากาศ (Weather)และภูมิอากาศ (Climate) แตกต่างกันอย่างไร

สภาพอากาศโดยทั่วไปจะหมายถึง อุณหภูมิ ความชื้น เมฆ หมอก ลม ฝน และทัศนวิสัย การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ (Weather) เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

สภาพอากาศโดยทั่วไปจะหมายถึง อุณหภูมิ ความชื้น เมฆ หมอก ลม ฝน และทัศนวิสัย การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ (Weather) เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

สภาพอากาศ (Weather)และภูมิอากาศ (Climate) แตกต่างกันอย่างไร 

เรื่องของอากาศที่ครอบคลุมทั่วพื้นผิวโลก มีการเรียนรู้ การรับรู้ และการศึกษาสภาพบรรยากาศมาช้านาน หลายคนเข้าใจยาก หลายคนเข้าใจแต่อธิบายยาก นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับการรู้โลก จะทำให้รู้เราว่าควรจะทำอย่างไร

สภาพอากาศโดยทั่วไปจะหมายถึง อุณหภูมิ ความชื้น เมฆ หมอก ลม ฝน และทัศนวิสัย การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ (Weather) เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ เช่น ลมฟ้าอากาศที่กรุงเทพมหานครในวันนี้ อุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ (Climate) ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ภูมิอากาศจึงเป็นสภาพอากาศที่มีค่าปานกลางของแต่ละพื้นที่ เช่น ภูมิอากาศของกรุงเทพมหานครมีอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส

อากาศมีความแตกต่างกันเนื่องจากองค์ประกอบ 3 อย่างคือ อุณหภูมิ ความชื้น และความกดอากาศ โดยองค์ประกอบดังกล่าวเกิดจากการได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ และองค์ประกอบทั้งหมดจะแตกต่างกันเนื่องจาก 6 ปัจจัยหลัก คือ

1.       ระดับละติจูด : มีผลต่อการได้รับปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์เนื่องจากแกนของโลกเอียงจากแนวดิ่ง 23 องศา การโคจรรอบดวงอาทิตย์จึงเอียงไปด้วย ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์สลับกัน ในแต่ละพื้นที่จึงได้รับปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน

2.       ความแตกต่างระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำ : พื้นดินและพื้นน้ำมีคุณสมบัติที่ต่างกัน มีผลต่อการคายและการดูดความร้อน โดย

2.1    พื้นน้ำจะโปร่งแสง แสงจะส่องผ่านได้ลึก เมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ความร้อนจะกระจายออกไปกว้างและลึก ความร้อนส่วนหนึ่งจะถูกใช้สำหรับการระเหยของน้ำจึงทำให้พื้นน้ำร้อนช้ากว่าพื้นดิน ในส่วนที่ความร้อนกระจายไปลึกการคายความร้อนจึงเป็นไปได้ช้า

2.2    พื้นดินจะทึบแสง แสงจะส่องผ่านได้ยาก เมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ความร้อนจะกระจายได้น้อย ความร้อนจะอยู่แค่ผิวดิน พื้นดินจึงร้อนเร็วกว่าพื้นน้ำ และคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ

3.       ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลของพื้นที่ : ชั้นบรรยากาศที่ถัดจากผิวโลกขึ้นไปคือ ชั้นโทรโพสเฟียร์(Troposphere) เป็นชั้นที่อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงด้วยอัตรา 6.4 องศาเซลเซียส ต่อ 1 กิโลเมตร ซึ่งเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิปกติ นั่นคือ อุณหภูมิตามระดับความสูงของพื้นที่เหนือระดับน้ำทะเลจะลดลงไปด้วย

4.       กระแสน้ำในมหาสมุทร เป็นกระแสน้ำที่เรียบชายฝั่งไม่ว่าจะเป็นจากขั้วโลกมาศูนย์สูตร หรือ จากเขตร้อนไปละติจูดสูงก็จะมีผลต่ออุณหภูมิของอากาศบริเวณที่กระแสน้ำไหลผ่านด้วย

5.       ลักษณะภูมิประเทศ มีผลต่ออากาศ เช่น แนวเทือกเขาที่กั่นการเคลื่อนที่ของอากาศจะมีผลต่ออุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่อยู่คนละด้านของเทือกเขา

6.       มนุษย์ เป็นผู้สร้างกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลกระทบต่ออากาศ ทั้งการใช้สารเคมีที่ทำลายชั้นบรรยากาศ การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม การเผาป่า เป็นต้น

 

 

  • ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

    Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com