สาระภูมิศาสตร์

รู้จักพื้นที่ประเทศไทยหรือยัง

 ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

สารบัญ

เปรียบเทียบประชากรวัยสูงอายุ 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยสูงอายุแต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนผู้สูงอายุเป็น 5 กลุ่ม และนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 (รูปที่ 7) พบว่า

จำนวนผู้สูงอายุในหลายจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถ้าพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2556 กับปี  2565 พบว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีหลายจังหวัดที่จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน มีเพียงภาคใต้เท่านั้นที่จำนวนผู้สูงอายุยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด 

 

เมื่อนำจำนวนประชากรวัยสูงอายุมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ และนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบ 3 ปี เช่นเดิม(รูปที่ 8) จากข้อมูลพบว่า

ปี พ.ศ. 2556 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 9 - 19 % และจากรูปที่ 6 จังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดจะเกาะกลุ่มโดยปรากฏอยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก

ปี พ.ศ. 2560 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 10 - 21 % และจากรูปที่ 6 พบว่าจังหวัดที่ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรมากกว่า 15 จะกระจายครอบคลุมภาคเหนือ ภาคกลางและขยายไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกลุ่มจังหวัดที่เด่นชัดจะมีค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรมากกว่า 20 ซึ่งอยู่ในภาคเหนือ คือ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่

ปี พ.ศ. 2565 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 12 - 26 % โดยกระจายครอบคลุมทุกภาคและพบว่ามีถึง 4 จังหวัด (ลำปาง ลำพูน แพร่ สิงห์บุรี) ที่มีจำนวนประชากรวัยสูงอายุประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด (มากกว่า 25 %) และ มี 19 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยสูงอายุมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด (มากกว่า 20 %)

ถ้าเปรียบเทียบค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดระหว่างปี พ.ศ. 2556 กับ 2565 โดยพิจารณาจากรูปที่ 8 จะพบว่าจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเกือบทุกจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดในภาคเหนือต่อเนื่องลงมาถึงภาคกลางและภาคตะวันตก

โดยจากรูปที่ 8 พบว่ามีจังหวัดที่ร้อยละของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดมีการเปลี่ยนแปลงน้อยในช่วงปี พ.ศ. 2556 – 2565 ซึ่งปรากฏโดดเด่น ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก ชลบุรี ระยอง กระบี่ ภูเก็ต สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อย่างไรก็ตามพบว่าสัดส่วนของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทุกจังหวัดและทุก ๆ ปี ซึ่งสังเกตุได้ จากรูปที่ 9 แผนภูมิเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565

 

 

 

เปรียบเทียบประชากรวัยพึ่งพิง 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรของประเทศไทยโดยนับเอาจำนวนประชากรวัยเด็กรวมกับจำนวนประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิงแบ่งกลุ่มตามจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงเป็น 5 กลุ่ม แล้วนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 (รูปที่ 10)

ในปี 2556 เมื่อพิจารณาจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงรายจังหวัดพบว่า ส่วนใหญ่จะมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงไม่เกิน 500,000 คน มีเพียง 6 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คน ขณะที่จำนวนประชากรวัยพึงพิง 700,000 – 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือจังหวัดนครราชสีมา และจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงถึง 1,722,579 คน

ในปี 2560 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คนมีเพิ่มขึ้นอีก 1 จังหวัดเป็น 7 จังหวัด ขณะที่จำนวนประชากรวัยพึงพิง 700,000 – 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือจังหวัดนครราชสีมา และจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงถึง 1,802,878 คน

 

ในปี 2565 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คนมีเพิ่มขึ้นเป็น 10 จังหวัด โดยมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา (ประชากรวัยพึงพิง 906,139 คน) และ กรุงเทพมหานคร (ประชากรวัยพึงพิง 1,862,605 คน)

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ(รูปที่ 11) จะพบว่า

ในปี 2556 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % ในขณะที่มี 3 จังหวัดในภาคเหนือ(เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา) 2 จังหวัดในภาคกลาง(ปทุมธานี สมุทรปราการ) และ 1 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อุดรธานี) ที่ร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % ส่วนจังหวัดที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 35 % จะพบใน 4 จังหวัดในภาคใต้(สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) เท่านั้น

          ในปี 2560 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % โดยจังหวัดเดิมที่ปี 2556 มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % กลับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในช่วง 30-35 % และมี 4 จังหวัดในภาคกลาง(อุทัยธานี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง) ที่เดิมค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % เพิ่มขึ้นมาเป็นมากกว่า 35 % ในขณะที่มี 2 จังหวัด(แม่ฮ่องสอนและตาก) ที่เดิมค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดที่เดิมอยู่ในช่วง 30-35 % กลับลดลงมาน้อยกว่า 30 %

          ในปี 2565 พบว่ามีเพียงจังหวัดตากเท่านั้นที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % และถ้าพิจารณาข้อมูลในแผนที่จะพบว่าจังหวัดที่มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 35 % จะโดดเด่นและเกาะกลุ่มกันตั้งแต่จังหวัดในภาคเหนือตอนบนเชื่อมมาถึงภาคกลางและติดต่อมาถึงจังหวัดทางด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นก็จะปรากฏโดดเด่นและเกาะกลุ่มกันในจังหวัดทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส

เมื่อพิจารณาค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดทุกจังหวัดจากรูปที่ 12 แผนภูมิเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ปี 2556 2560 2565 จะพบว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไปเกือบทุกจังหวัดสัดส่วนของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อประชากรทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีเพียง 3 จังหวัด(ตาก แม่ฮ่องสอน ภูเก็ต) ที่อาจจะมีโอกาสที่สัดส่วนของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อประชากรทั้งหมดจะลดลง

ดังนั้นอาจจะพิจารณาโดยรวมได้ว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไปจำนวนประชากรวัยพึงพิงจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกจังหวัด รวมทั้งสัดส่วนจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดเกือบทุกจังหวัดก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 

 

  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • จากบทความ พระราชดำรัสสมเด็จพระราชินี "แผนที่" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ใน www.posttoday.com เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559 บางส่วน

     

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com