การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

    The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ในฐานะศิษย์เก่าจึงได้นำเสนอความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหาร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เพื่อไม่ให้เนื้อหาที่เตรียมไปบรรยายประกอบการเรียน การสอนวิชา 154108 เสียของ จึงขอนำเอามาเขียนไว้ใน www.GEO2GIS.com โดยจะแบ่งเป็น 5 ตอน

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อต้องการใช้และแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบ GIS ควรจำแนกกลุ่มข้อมูลเป็น 3 กลุ่ม

 ภายหลังที่อ่านบทความ การกำหนด Feature Type กับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ มาตราส่วนของแผนที่ฐานและบทความสิ่งที่ต้องเข้าใจ...เมื่อสร้างชั้นข้อมูลอ้างอิงตำแหน่งของแผนที่ฐาน (Base Map) ในระบบ GIS” ทำให้รู้จักคำว่า แผนที่ฐาน (Base Map)

 คำถามต่อมาคือ นอกจากแผนที่ฐานแล้วในระบบ GIS ควรจะมีกลุ่มข้อมูลอะไรอีกบ้าง ทำไมต้องแบ่งกลุ่มข้อมูลนั้น

 ข้อมูลในระบบ GIS มีทั้งข้อมูล Spatial data และ Attribute data ซึ่งมีมากมายหลายชั้นข้อมูล หลายมาตราส่วน หลายประเภท หลายนิยาม หากต้องการใช้ข้อมูลจะสร้างใหม่ทำไม (ยกเว้นต้องการใช้งบประมาณหรือมีนัยอื่นๆ ซ้อนอยู่) สิ่งที่ต้องพิจารณาเริ่มแรกควรมองหาว่ามีแหล่งข้อมูลที่ต้องการใช้ว่ามีใคร หน่วยงานไหนทำไว้บ้าง สามารถแลกเปลี่ยนใช้งานร่วมกันได้หรือไม่

 ในองค์กรหนึ่งๆนั้น เมื่อนำระบบ GIS ไปพัฒนาใช้งานสิ่งแรกที่ต้องการคือข้อมูล หากองค์กรเดี่ยวที่ไม่มีแผนก สาขาหรือหน่วยงานย่อย การจัดทำ จัดหาและใช้งานข้อมูลในองค์กรคงไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ถ้าองค์กรมีหลายหน่วยงานย่อยที่เป็นแหล่งการเกิดและใช้งานข้อมูลต่างๆ อีกทั้งยังต้องการใช้งานข้อมูลจากภายนอกองค์กรอีก เราควรวิเคราะห์และจำแนกข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ

 

 

นั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงควรจำแนกกลุ่มข้อมูลเป็น 3 กลุ่มข้อมูล คือ ข้อมูลแผนที่ฐาน (Base Map) ข้อมูลทั่วไป (Common Data) ข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Specific Data)

 

 

 3 กลุ่มข้อมูล คืออะไร

 1. ข้อมูลแผนที่ฐาน เป็นฐานของการเกิดข้อมูลชุดอื่น ๆ การเกิดขอมูล Spatial data ในระบบ GIS ควรเริ่มต้นที่แผนที่ฐานก่อน โดยแผนที่ฐานจะเป็นตำแหน่ง เส้นหรือพื้นที่ที่ใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งสำหรับการสร้างข้อมูลอื่นๆ ซึ่งปกติจะเป็นการวาดซ้อนทับหรือนำข้อมูลจากเครื่องมือต่างๆมาอ้างอิงตำแหน่งในแผนที่ฐาน ชั้นข้อมูลที่เป็นแผนที่ฐาน เช่น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 50,000 ได้แก่ ถนน ทางน้ำ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เส้นชั้นความสูง เขตปกครอง ที่ตั้งสถานที่สำคัญ เส้นทางรถไฟ เป็นต้น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 1,000 ได้แก่ ถนน อาคาร แม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำ เขตปกครอง เป็นต้น

 2. ข้อมูลทั่วไป (Common Data) เป็นชุดข้อมูลที่ไม่ใช่แผนที่ฐานและเป็นชั้นข้อมูลที่หลายหน่วยงานมีความต้องการใช้งานร่วมกัน เช่น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 50,000 ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ ชุดดิน ชุดหิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม แหล่งน้ำใต้ดิน เป็นต้น 

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 1,000 ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวท่อประปา แนวสายโทรศัพท์ แนวท่อระบายน้ำ ตำแหน่งผาท่อระบายน้ำ ขอบเขตแปลงที่ดิน เป็นต้น

3. ข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Specific Data) เป็นข้อมูลที่มีการใช้งานเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือเป็นข้อมูลที่ใช้ชั่วคราวเฉพาะเหตุการณ์ เป็นข้อมูลเฉพาะด้านซึ่งปกติหน่วยงานอื่นไม่มีความต้องการนำไปใช้งานประจำ เช่น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 50,000 ได้แก่ เส้นความกดอากาศ ตำแหน่งหมุดหลักฐาน พื้นที่ดินถล่ม พื้นที่น้ำท่วม ตำแหน่งแผ่นดินทรุด เป็นต้น

            - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 1,000 ได้แก่ ตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้า ตำแหน่งประตูระบายน้ำ ตำแหน่งจุดวางถังขยะ ตำแหน่งต้นไม้ขนาดใหญ่ควรค่าต่อการอนุรักษ์ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เป็นต้น

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยขาดความรู้พื้นฐานทางด้านพื้นที่แล้ว ข้อมูลพื้นที่ที่ได้จากระบบสารสนเทศจะเชื่อถือได้อย่างไร หากกระจายข้อมูลเหล่านั้นออกไปจะเกิดอะไรขึ้น 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักแผนที่และนักสำรวจจะต้องปรับตัวเมื่อตำแหน่งมือถือปรากฏบนแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียมในหน้าจอมือถือได้ถูกต้อง

    อ่านเพิ่มเติม...
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้60
เมื่อวานนี้563
สัปดาห์นี้1156
เดือนนี้7591
ทั้งหมด1468518
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 3

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com