เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแค่แนวคิดและเทคโนโลยี บางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย

ากมอง GIS ในฐานะเครื่องมือแล้ว GIS จะประกอบด้วย Hardware Software Data Information Network Application และ Peopleware หากแต่ผลผลิตของ GIS คือสารสนเทศ (Information) ซึ่งลักษณะเด่นคือ สารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information)

การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

การวัดพื้นที่บนแผนที่แบบโบราณ

 การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจความหมายของมาตราส่วนแผนที่ก่อน เช่น แผนที่มาตราส่วน 1 : 5,000 หมายถึง เมื่อวัดความยาวบนแผนที่ได้ 1 ส่วน หมายถึงในภูมิประเทศจะยาว 5,000 ส่วน ถ้าให้เขาใจง่ายๆ คือ วัดความยาวในแผนที่ได้ 1 เซนติเมตร บนพื้นโลกจะยาว 5,000 เซนติเมตร หรือ 50 เมตรนั่นเอง

เมือต้องการการวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการโดยพิจารณาจากรูปร่างของพื้นที่เป็นหลัก คือ

1.       ถ้ารูปร่างพื้นที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต สามารถคำนวณพื้นที่ได้โดยใช้สูตรตามรูปทรงเรขาคณิตนั้น โดยวัดค่าระยะจากมาตราส่วน เช่น พื้นที่ถ้าเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ คือ กว้าง x ยาว โดยความกว้างและความยาวหาได้จากการวัดในแผนที่แล้วนำมาเทียบมาตราส่วน

 

๒.      ถ้ารูปร่างพื้นที่ไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต สามารถคำนวณโดยใช้วิธีเบื้องต้นดังนี้

 

2.1 การคำนวณพื้นที่จากเส้นขนาน

 

วิธีการประกอบด้วย

1.       ลากเส้นขนานให้มีระยะห่างเท่า ๆ กันให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการ

2.       วัดระยะห่างของเส้นขนานและคำนวณระยะจริงในภูมิประเทศ

3.       วัดระยะความยาวของแต่ละเส้นขนานสร้างในข้อ 1 และคำนวณระยะจริงในภูมิประเทศของแต่ละเส้น

4.       คำนวณพื้นที่โดยนำ ความยาวของแต่ละเส้นขนานในข้อ 3 มารวมกันแล้วคูณด้วยความยาวของระยะห่างของเส้นขนานในข้อ 2

2.2 การคำนวณพื้นที่จากตารางจัตุรัส

 

วิธีการประกอบด้วย

1.       สร้างตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็ก บนแผ่นใส หรือวัสดุคล้ายกัน

2.       คำนวณพื้นที่แต่ละตาราง เช่น ถ้าตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 1 เซนติเมตร เมื่อนำไปวัดพื้นที่บนแผนที่มาตราส่วน 1 : 100,000 พื้นที่ 1 ตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส จะเท่ากับพื้นที่ภูมิประเทศจริงดังนี้

100,000 เซนติเมตร X 100,000 เซนติเมตร

1 กิโลเมตร  X  1 กิโลเมตร

1 ตารางกิโลเมตร

3.       นำเอาแผ่นใส ไปทาบพื้นที่ที่ต้องการวัดขนาด แล้วนับจำนวนช่องตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้งหมด เศษของตารางนำมานับรวมกันให้เป็นพื้นที่ตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส

๔.       คำนวณพื้นที่ว่ามีกี่ช่องตารางแล้วนับ 1 ช่องตารางเท่ากับ 1 ตารางกิโลเมตร ส่วนของเศษก็สามารถประมาณการได้ 

 

 

 

  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
  •  GIS เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ เครื่องมือก็จะถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า การใช้งาน GIS ก็จะทำได้เพียงเพื่อตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com