อ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติ เรื่องง่าย ๆ เด็กก็เข้าใจได้...สไตล์อณุศร


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

เมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลในระบบ GIS ไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูล ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

สารบัญ

ประชากรวัยพึ่งพิง (วัยเด็กรวมกับวัยสูงอายุ)

 

จากรูปที่ 7 แสดงจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงแต่ละจังหวัดของประเทศไทย พบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา อุบลราชธานี เชียงใหม่ ขอนแก่น และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการกระจายและกระจุกตัวของข้อมูลในพื้น พบว่ากลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมาก จะมีเพียงกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด(นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และอุดรธานี)เท่านั้นที่กระจุกตัวต่อเนื่อง 

สำหรับอันดับของจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงจังหวัดต่าง ๆ พบว่ากลุ่มที่ประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมากส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดย 10 อันดับแรก ประกอบด้วย 

หากพิจารณาจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงโดยเทียบเป็นร้อยละกับจำนวนประชากรทั้งหมดของจังหวัดแล้วนำข้อมูลมาจัดกลุ่มเป็น 3 กลุ่มโดยให้กลุ่มที่มีค่าข้อมูลใกล้เคียงกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันตามรูปที่ 8 จะพบว่ากลุ่มที่มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดจะมี 3 กลุ่มใหญ่ในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ นอกจากนั้นจะกระจายตัวออกไปไม่เกาะกลุ่มชัดเจน ได้แก่ จังหวัดนครนายก สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช พัทลุง  

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจำนวนประชากรวัยเด็ก วัยสูงอายุ วัยแรงงาน หรือวัยพึ่งพิงก็ตาม ลักษณะการเกิดการมีอยู่ของจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่หากพิจารณาให้ความสำคัญของประชากรแต่ละกลุ่มในแต่ละประเด็นแล้ว (เช่น การให้ความสำคัญต่อประชากรวัยสูงอายุเนื่องจากการเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุ) คงต้องมีข้อมูล หลักเกณฑ์ต่าง ๆ หลักกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับมาพิจารณาประกอบอีกมากมาย ซึ่งในมุมนักภูมิศาสตร์แล้ว การนำเสนอข้อเท็จจริงเชื่อมโยงกับพื้นที่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้เกิดมุมมองและแง่คิดที่ชัดเจนขึ้นในอีกมิติหนึ่ง

อนึ่ง เมื่อพิจารณาให้ความสำคัญของประชากรแต่ละกลุ่มในแต่ละประเด็นและเจาะลึกลงไปในแต่ละพื้นที่แล้ว ในมิติทางภูมิศาสตร์คงต้องมีการนำเสนอข้อมูลด้านสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ การตั้งถิ่นฐาน ตลอดจนมิติทางสังคมอื่นๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนแปลงซึ่งจะได้นำเสนอในตอนต่อ ๆ ไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  GIS เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ เครื่องมือก็จะถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า การใช้งาน GIS ก็จะทำได้เพียงเพื่อตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com