เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

หนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมี Algorithms เกี่ยวข้องกับพื้นที่และเวลา

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจที่มาของระบบ GIS รวมทั้ง Spatial data เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยแผนที่ระบบเดิม โดยมีกิจกรรมแทรกประกอบ

เมื่อรู้จัก ลักษณะปรากฏการณ์ที่ (Feature) กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้ว การนำค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data มาจำแนกและแสดงผลในรูปแผนที่หรือบางคนเรียกว่าส่วนที่เป็น Graphic data เป็นสิ่งที่จำเป็น  

  เมื่อรู้จัก ลักษณะปรากฏการณ์ที่ (Feature) กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้ว การนำค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data มาจำแนกและแสดงผลในรูปแผนที่หรือบางคนเรียกว่าส่วนที่เป็น Graphic data เป็นสิ่งที่จำเป็น ผู้ผลิตต้องเข้าใจการนำเสนอสารสนเทศ (Information) ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ แน่นอนว่าสารสนเทศ (Information) คงไม่ใช่ ข้อมูลฐาน (Datum) อย่างเดียว การที่ผู้ผลิตจะทำให้ผู้ใช้เข้าใจและรับรู้ข้อเท็จจริงที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จะมีรูปแบบการนำเสนอสารสนเทศได้ 4 วิธีหลัก ดังนี้

 1. Categories : เป็นการนำเสนอสารสนเทศโดยการจำแนกประเภทข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ โดยการจัดปรากฏการณ์เชิงพื้นที่ (Feature) หรือสิ่งที่เหมือนกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน เช่น แสดงที่ตั้งสถานที่ราชการจำแนกเป็นประเภท สำนักงานเขต/อำเภอ หน่วยงานราชการ สถานีตำรวจ สถานที่ศึกษา  มหาวิทยาลัย ฯลฯ

2. Counts and Amounts : เป็นการนำเสนอสารสนเทศโดยการจำแนกประเภทข้อมูลปรากฏการณ์เป็นกลุ่มๆ โดยการนับจำนวนรวมของปรากฏการณ์ทางพื้นที่ (Feature) หรือตามค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data เช่น แสดงค่าคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ในแต่ละพื้นที่ โดยจำแนกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเห็นข้อเท็จจริงได้ละเอียดขึ้น

3. Ranks : เป็นการนำเสนอสารสนเทศโดยการจำแนกประเภทข้อมูลปรากฏการณ์เป็นกลุ่มๆ ตามลำดับ เช่น ความมาก-น้อย ความสูง-ต่ำ ความเข้ม-จาง ฯลฯ เช่น แสดงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ โดยจำแนกเป็นผลสรุปในแต่ละพื้นที่เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้อย มีความเสี่ยงปานกลาง และมีความเสี่ยงมาก-มากที่สุด

 

 4. Ratios : เป็นการนำเสนอสารสนเทศโดยการจำแนกประเภทข้อมูลปรากฏการณ์เป็นกลุ่มๆ โดยนำความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ค่า มาเปรียบเทียบหรือกระทำต่อกัน เช่น

                 ค่าสัดส่วน เป็นการเปรียบเทียบโดยการหารกันของ 2 ค่า  

                 ค่าร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ เป็นการเปรียบเทียบโดยคิดเป็นสัดส่วนของค่าร้อย

                ค่าเฉลี่ย เป็นการเปรียบเทียบระหว่างค่า2 ค่าที่เกิดจากการรวมค่าข้อมูลหารด้วยจำนวนรวมของปรากฏการณ์ทางพื้นที่ (Feature) ทั้งหมด

 

  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อรู้จัก ลักษณะปรากฏการณ์ที่ (Feature) กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้ว การนำค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data มาจำแนกและแสดงผลในรูปแผนที่หรือบางคนเรียกว่าส่วนที่เป็น Graphic data เป็นสิ่งที่จำเป็น  

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com