เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

 

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

 GIS เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ เครื่องมือก็จะถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า การใช้งาน GIS ก็จะทำได้เพียงเพื่อตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร

ากมอง GIS ในฐานะเครื่องมือแล้ว GIS จะประกอบด้วย Hardware Software Data Information Network Application และ Peopleware หากแต่ผลผลิตของ GIS คือสารสนเทศ (Information) ซึ่งลักษณะเด่นคือ สารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information)

ข้อมูลในระบบ GIS มีมากมายหลายชั้นข้อมูล หลายมาตราส่วน หลายประเภทหลายนิยาม หากต้องการใช้ข้อมูลจะสร้างข้อมูลใหม่ควรเข้าใจว่ากลุ่มข้อมูล GIS มีอยู่ 3 กลุ่มข้อมูล

เมื่อต้องการใช้และแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบ GIS ควรจำแนกกลุ่มข้อมูลเป็น 3 กลุ่ม

 ภายหลังที่อ่านบทความ การกำหนด Feature Type กับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ มาตราส่วนของแผนที่ฐานและบทความสิ่งที่ต้องเข้าใจ...เมื่อสร้างชั้นข้อมูลอ้างอิงตำแหน่งของแผนที่ฐาน (Base Map) ในระบบ GIS” ทำให้รู้จักคำว่า แผนที่ฐาน (Base Map)

 คำถามต่อมาคือ นอกจากแผนที่ฐานแล้วในระบบ GIS ควรจะมีกลุ่มข้อมูลอะไรอีกบ้าง ทำไมต้องแบ่งกลุ่มข้อมูลนั้น

 ข้อมูลในระบบ GIS มีทั้งข้อมูล Spatial data และ Attribute data ซึ่งมีมากมายหลายชั้นข้อมูล หลายมาตราส่วน หลายประเภท หลายนิยาม หากต้องการใช้ข้อมูลจะสร้างใหม่ทำไม (ยกเว้นต้องการใช้งบประมาณหรือมีนัยอื่นๆ ซ้อนอยู่) สิ่งที่ต้องพิจารณาเริ่มแรกควรมองหาว่ามีแหล่งข้อมูลที่ต้องการใช้ว่ามีใคร หน่วยงานไหนทำไว้บ้าง สามารถแลกเปลี่ยนใช้งานร่วมกันได้หรือไม่

 ในองค์กรหนึ่งๆนั้น เมื่อนำระบบ GIS ไปพัฒนาใช้งานสิ่งแรกที่ต้องการคือข้อมูล หากองค์กรเดี่ยวที่ไม่มีแผนก สาขาหรือหน่วยงานย่อย การจัดทำ จัดหาและใช้งานข้อมูลในองค์กรคงไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ถ้าองค์กรมีหลายหน่วยงานย่อยที่เป็นแหล่งการเกิดและใช้งานข้อมูลต่างๆ อีกทั้งยังต้องการใช้งานข้อมูลจากภายนอกองค์กรอีก เราควรวิเคราะห์และจำแนกข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ

 

 

นั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงควรจำแนกกลุ่มข้อมูลเป็น 3 กลุ่มข้อมูล คือ ข้อมูลแผนที่ฐาน (Base Map) ข้อมูลทั่วไป (Common Data) ข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Specific Data)

 

 

 3 กลุ่มข้อมูล คืออะไร

 1. ข้อมูลแผนที่ฐาน เป็นฐานของการเกิดข้อมูลชุดอื่น ๆ การเกิดขอมูล Spatial data ในระบบ GIS ควรเริ่มต้นที่แผนที่ฐานก่อน โดยแผนที่ฐานจะเป็นตำแหน่ง เส้นหรือพื้นที่ที่ใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งสำหรับการสร้างข้อมูลอื่นๆ ซึ่งปกติจะเป็นการวาดซ้อนทับหรือนำข้อมูลจากเครื่องมือต่างๆมาอ้างอิงตำแหน่งในแผนที่ฐาน ชั้นข้อมูลที่เป็นแผนที่ฐาน เช่น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 50,000 ได้แก่ ถนน ทางน้ำ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เส้นชั้นความสูง เขตปกครอง ที่ตั้งสถานที่สำคัญ เส้นทางรถไฟ เป็นต้น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 1,000 ได้แก่ ถนน อาคาร แม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำ เขตปกครอง เป็นต้น

 2. ข้อมูลทั่วไป (Common Data) เป็นชุดข้อมูลที่ไม่ใช่แผนที่ฐานและเป็นชั้นข้อมูลที่หลายหน่วยงานมีความต้องการใช้งานร่วมกัน เช่น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 50,000 ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ ชุดดิน ชุดหิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม แหล่งน้ำใต้ดิน เป็นต้น 

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 1,000 ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวท่อประปา แนวสายโทรศัพท์ แนวท่อระบายน้ำ ตำแหน่งผาท่อระบายน้ำ ขอบเขตแปลงที่ดิน เป็นต้น

3. ข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Specific Data) เป็นข้อมูลที่มีการใช้งานเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือเป็นข้อมูลที่ใช้ชั่วคราวเฉพาะเหตุการณ์ เป็นข้อมูลเฉพาะด้านซึ่งปกติหน่วยงานอื่นไม่มีความต้องการนำไปใช้งานประจำ เช่น

 - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 50,000 ได้แก่ เส้นความกดอากาศ ตำแหน่งหมุดหลักฐาน พื้นที่ดินถล่ม พื้นที่น้ำท่วม ตำแหน่งแผ่นดินทรุด เป็นต้น

            - แผนที่ฐานมาตราส่วน 1 : 1,000 ได้แก่ ตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้า ตำแหน่งประตูระบายน้ำ ตำแหน่งจุดวางถังขยะ ตำแหน่งต้นไม้ขนาดใหญ่ควรค่าต่อการอนุรักษ์ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เป็นต้น


  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับการจัดเก็บภาษีป้ายของกรุงเทพมหานคร เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายที่มา แนวคิดและกระบวนการในการประยุกต์ใช้ระบบ GIS สำหรับการจัดเก็บภาษีป้ายของกรุงเทพมหานคร

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com