แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

ากมอง GIS ในฐานะเครื่องมือแล้ว GIS จะประกอบด้วย Hardware Software Data Information Network Application และ Peopleware หากแต่ผลผลิตของ GIS คือสารสนเทศ (Information) ซึ่งลักษณะเด่นคือ สารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information)

ราชบัณฑิตยสถาน (2549,258) ให้ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ว่า ระบบข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์....." แล้วเข้าใจข้อมูลที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ว่าอย่างไร

ปรากฏการณ์บนโลกมีทั้งที่กลมกลืนต่อเนื่องและแบ่งแยกชัดเจน การออกแบบในการสร้างและอธิบายให้เข้าใจผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าแผนที่จำเป็นต้อง....

ลักษณะปรากฏการณ์กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริง

หากนำระบบ GIS มานำเสนอปรากฏการณ์บนพื้นโลกในรูปแผนที่ เราต้องเข้าใจปรากฏการณ์ซึ่งจะนำไปสู่ลักษณะของข้อมูลที่จะนำเสนอเพื่อให้

- ผู้สร้างแผนที่สามารถออกแบบการนำเสนอข้อมูลให้ผู้ใช้เข้าใจ

- ผู้ใช้แผนที่สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่อยอดได้

- ผู้รับบริการข้อมูลสุดท้ายจึงจะได้รับข้อเท็จจริงที่เป็น ข้อจริงมากกว่าข้อเท็จ  

ชนิดปรากฏการณ์ที่นำเสนอ ประกอบด้วย

1. ปรากฏการณ์ไม่ต่อเนื่องแบ่งแยกได้ชัดเจน

1.1 หากพิจารณาข้อมูลเชิงพื้นที่เราสามารถแบ่งแยกปรากฏการณ์เป็นส่วนๆ ได้ชัดเจน เช่น

ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแบ่งเป็นแต่ละตำแหน่ง ได้แก่ ที่ว่าการอำเภอร่อนพิบูลย์ ที่ว่าการอำเภอปากพนัง ที่ว่าการอำเภอเชียรใหญ่ ที่ว่าการอำเภอลานสกา เป็นต้น เช่นเดียวกับพื้นที่อำเภอซึ่งมีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ชัดเจน

ถนนแบ่งเป็นเส้น ๆ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 เป็นต้น

 

1.2 หากพิจารณาข้อมูลเชิงตัวเลขแล้วจะพบว่าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นเลขจำนวนเต็มไม่มีทศนิยม เช่น จำนวนประชากร จำนวนโรงงาน จำนวนต้นไม้ ฯลฯ การนำเสนอเสนอในรูปกราฟจะชัดเจนเมื่อนำเสนอในรูปกราฟแท่ง

 

2. ปรากฏการณ์ที่ต่อเนื่อง เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่มีช่องว่างหรือรอยต่อระหว่างการเป็นกลุ่ม ประเภทหรือ ลำดับของข้อมูลอย่างชัดเจน เช่น

 

2.1 หากพิจารณาข้อมูลเชิงพื้นที่เราจะแสดงโดยใช้ค่าส่วนใหญ่หรือค่าเฉลี่ย เช่น

 

ค่าฝุ่นละออกในบรรยากาศ ณ จุดตรวจวัดต่างๆ ถ้าได้ค่า PM10 ซึ่งหมายถึง ฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา แต่ไม่ได้ความอย่างนั้นจริงๆ เพราะ PM10 เป็นค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ซึ่ง ณ จุดตรวจวัดนั้นสามารถมีฝุ่นละอองขนาดเกิน 10 ไมครอนผสมอยู่ก็ได้

            เส้นชั้นความสูง ซึ่งเป็นเส้นที่ลากผ่านจุดที่ความสูงของภูมิประเทศที่เท่ากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกจุดบนเส้นนั้นมีความสูงตามค่านั้นจริงๆ เพราะค่าความสูงบนเส้นนั้นเกิดจากค่าเฉลี่ยโดยประมาณ เช่นเดียวกับข้อมูลพื้นที่ระดับความสูง ไม่ได้หมายความว่าทุกจุดบนพื้นที่นั้นจะมีค่าความสูงเท่ากัน และไม่ได้หมายความว่ารอยต่อของพื้นที่ที่เปลี่ยนค่าระดับความสูงจะเปลี่ยนค่าความสูงทันที จริงแล้วในภูมิประเทศจะค่อยๆเปลี่ยนค่าระดับความสูงเข้าหากัน

พื้นที่ขอบเขตชุดดิน ไม่ได้หมายความว่าในพื้นที่จริงจะแบ่งชุดดินตามรอยต่อนั้นจริงๆ เพราะข้อเท็จจริงจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงและผสมผสานในองค์ประกอบของดินตามรอยต่อของประเภทชุดดินที่แยกประเภทกัน

      2.2  หากพิจารณาข้อมูลเชิงตัวเลขแล้วจะพบว่าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นตัวเลขมีค่าทศนิยม เช่น ข้อมูลปริมาณฝน ข้อมูลอุณหภูมิ ฯลฯ ซึ่งสามารถนำมาสร้างโค้งการกระจายข้อมูลได้

 

  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    การนำข้อมูลในระบบ GIS ที่เป็น Attribute data มาแสดงผลให้เห็นเป็นภาพในแผนที่ สามารถแสดงได้ 4 รูปแบบ คือ

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com