ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

เมื่อรู้จัก ลักษณะปรากฏการณ์ที่ (Feature) กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้ว การนำค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data มาจำแนกและแสดงผลในรูปแผนที่หรือบางคนเรียกว่าส่วนที่เป็น Graphic data เป็นสิ่งที่จำเป็น  

ผลงานทางวิชาการเสนอเป็นผลงานในการปรับระดับการดำรงตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 7 เป็นเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 8ว. ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ และในปัจจุบัน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้จะนำเอาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อพิจารณาคำที่เป็นส่วนประกอบของคำว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จะเห็นว่ามีคำหลักคือ "ภูมิศาสตร์" หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์ที่เรียกว่าภูมิศาสตร์ จะพบว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" เป็นเพียง "เทคนิควิธีการ" ซึ่งเป็นเพียงสาขาย่อยของแนวคิดในการศึกษาภูมิศาสตร์เท่านั้น

ภูมิศาสตร์ มีแนวคิดเป็นโครงสร้างสาขาที่ศึกษากันมา 4 ด้านหลัก คือ

1. ด้านปรัชญาทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวความคิด วิธีการศึกษา

2. ด้านภูมิศาสตร์ระบบ ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวกับกายภาพ และมนุษย์

3. ด้านภูมิศาสตร์ภูมิภาค โดยมีหลักคิดในการแบ่งกลุ่ม แบ่งโซน กำหนดของเขตทางพื้นที่

4. ด้านเทคนิควิธีการที่นำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์

โดย ทั้ง 4 ด้านจะเน้นศึกษาทางด้านพื้นที่เป็นหลักจจึงเรียกว่า "ภูมิศาสตร์คือ ศาสตร์ทางพื้นที่" การใช้เครื่องมือ GIS จึงใช้ในกระบวนการ รวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์และนำเสนอสารสนเทศในเชิงพื้นที่ โดยผู้ใช้เครื่องมือควรเข้าใจหลัก 3 ประการที่นักภูมิศาสตร์ศึกษาเชิงพื้นที่ คือ

1. คุณสมบัติเชิงพื้นที่

2. ปรากฏการณ์เชิงพื้นที่

3. แนวคิดเชิงพื้นที่

  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS สำหรับเมืองขนาดใหญ่ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์เบื้องต้น หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ แนวคิดและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com