ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

สารบัญ

เส้นโครงแผนที่...สิ่งสำคัญต่อการอ่านและแปลความหมายในแผนที่

 เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบเพื่อพกพา การย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงกับปรากฏการณ์บนพื้นโลกที่สุดนั้น นักภูมิศาสตร์ผู้ผลิตแผนที่จึงพยายามจัดทำแผนที่ให้รูปร่างของปรากฏการณ์บนแผนที่มีความใกล้เคียงกับโลกที่สุดโดยพยายามให้มีทิศทางถูกต้อง ระยะทางถูกต้อง รูปร่างถูกต้องและพื้นที่ถูกต้องที่สุด

หากต้องการอ่านค่าบนโลกจำเป็นต้องมีค่าพิกัดซึ่งนักภูมิศาสตร์ได้ศึกษา คำนวณและกำหนดตำแหน่งของจุดต่างๆ โดยใช้เส้นละติจูดและลองจิจูด โดยมีค่าพิกัดเป็นองศา คือ 1 องศา จะประกอบด้วย 60 ลิปดา (60) และ 60 ฟิลิบดา (60’’) โดยเส้นละติจูด คือ เส้นต่างๆที่ลากขนานไปทางเหนือและใต้กับเส้นศูนย์สูตรที่เป็นเส้นแกนกลางของโลกหรือที่เราเรียกกันว่าเส้นรุ้ง เส้นลองจิจูด คือ เส้นที่ลากจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ และตัดกับเส้นศูนย์สูตรเป็นมุมฉาก โดยจะลากเป็นเส้นขนานจากทางทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตก หรือที่เราเรียกว่า เส้นแวง

 

โลกที่เป็นทรงกลม ทิศทางถูกต้อง ระยะทางถูกต้อง รูปร่างถูกต้องและพื้นที่ถูกต้องที่สุด

 

การนำทรงกลมมาแผ่เป็นแผ่นราบหากผ่าทรงกลมแล้วฉีกออกให้เป็นแผ่นราบก็จะมีรูปร่างประหลาดยากต่อการพกพาและการรักษาทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่ให้ถูกต้องคงเป็นได้ยากเช่นกัน

 

นักภูมิศาสตร์ผู้ผลิตแผนที่พยายามหาวิธีถ่ายทอดข้อมูลปรากฏการณ์บนผิวโลกที่เป็นทรงกลม (หรือรูปทรงเกือบเป็นทรงกลม ที่เรียกว่า geoid หรือ ellipsoid ซึ่งนำมาใช้คำนวณทางคณิตศาสตร์ ) ให้มาสู่แผ่นราบโดยใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์จากการจิตนาการว่า.....


 ......เมื่อดวงไฟอยู่ใจกลางโลก แสงของดวงไฟที่ส่องออกมาทุกทิศทุกทางมากระทบปรากฏการณ์บนโลกทั้งแผ่นดิน แผ่นน้ำ เส้นละติจูด เส้นลองจิจูด และปรากฏการณ์อื่นๆ

 

 ......แสงเงาที่ส่องผ่านปรากฏการณ์ดังกล่าว หากเอาฉากแผ่นราบหรือฉากที่รูปทรงเรขาคณิตมารับและคลี่ออกเป็นแผ่นราบได้ก็จะเกิดเป็นแผนที่

 


 ......การถ่ายทอดตำแหน่งก็สามารถทำได้ตามหลักการทางคณิตศาสตร์เนื่องจากเป็นการถ่ายทอดรูปทรงกลม มาสู่รูปทรงเรขาคณิตและแผ่เป็นแผ่นราบ

 

......การเลือกรูปทรงเรขาคณิต รวมทั้งกำหนดรูปแบบการวางตำแหน่งของรูปทรงให้สัมผัสกับทรงกลมของโลกเหมาะสมกับพื้นที่เป้าหมายเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตแผนที่พยายามกำหนดเพื่อให้เส้นโครงแผนที่ที่ได้สามารถรักษาทิศทาง ระยะทาง รูปร่าง พื้นที่ได้ใกล้เคียงความจริงที่สุด

 

 


.....จะพบว่ามีเส้นโครงแผนที่แบบต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในแต่ละพื้นที่แต่ละภูมิภาคนั้น ผู้ผลิตแผนที่จะเลือกใช้เส้นโครงแผนที่ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน โดยจะพิจารณาคุณสมบัติของเส้นโครงแผนที่ด้านการรักษาทิศทาง ระยะทาง รูปร่าง และพื้นที่ เส้นโครงแผนที่แต่ละชนิดเมื่อนำมาผลิตแผนที่จะทำให้แผนที่มีส่วนที่ถูกต้องและคลาดเคลื่อนเสมอ และพบว่าไม่มีเส้นโครงแผนที่ชนิดใดเมื่อที่มีคุณสมบัติรักษาทิศทาง ระยะทาง รูปร่าง พื้นที่ได้ถูกต้องที่สุดในเวลาเดียวกัน

 

เมื่อเข้าใจเรื่องเส้นโครงแผนที่เราจะไม่ต้องสงสัย..แปลกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อใช้งานระบบ GIS

 ดูตัวอย่างข้อมูลและโปรแกรมที่ได้จาก ArcView 3.2 สามารถนำมาอธิบายได้ชัดเจนดังนี้

   ภาพของโลกที่เห็นเมื่อมองลงมาจากท้องฟ้า

  หากกำหนดใช้ Map Projection ที่แตกต่างกันและวัดระยะบนแผนที่ของประเทศไทยจากด้านตะวันตกไปตะวันออก (จุด A ไปจุด B) เหมือนกัน สิ่งที่ได้จะปรากฏดังนี้

 1. เมื่อกำหนด Projection : Robinson ระยะ A-B วัดได้ประมาณ 687 กิโลเมตร

  

 


2. เมื่อกำหนด Projection : Mercator ระยะ A-B วัดได้ประมาณ 815 กิโลเมตร

  

 

3. เมื่อกำหนด Projection : Equal Area Cylindrical ระยะ A-B วัดได้ประมาณ 815 กิโลเมตร 

  

 


4. เมื่อกำหนด Projection : Mollweide ระยะ A-B วัดได้ประมาณ 719 กิโลเมตร

  

 

 จากที่กล่าวข้างต้นว่าเส้นโครงแผนที่แต่ละแบบจะมีคุณสมบัติรักษาทิศทาง ระยะทาง รูปร่าง และพื้นที่แตกต่างกัน ผู้ใช้แผนที่ควรรู้ที่มาของแผนที่ว่าผ่านขบวนการ Projection หรือไม่ หรือผ่านเพียงขบวนการ Transformationเท่านั้น เพราะผลการวัดค่าจะมีความคลาดเคลื่อนแตกต่างกันไปดังตัวอย่างข้างต้นที่วัดระยะทางจากจุด A ไปจุดB บนแผนที่เหมือนกันแต่ได้ค่าระยะทางแตกต่างกัน

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    การนำข้อมูลในระบบ GIS ที่เป็น Attribute data มาแสดงผลให้เห็นเป็นภาพในแผนที่ สามารถแสดงได้ 4 รูปแบบ คือ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เอกสารการนำเสนอประกอบการสอนวิชา “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายประกอบการทำ workshop การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย GIS ของ กทม. โดยนำข้อมูลมาใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ArcView

    อ่านเพิ่มเติม...
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้104
เมื่อวานนี้504
สัปดาห์นี้608
เดือนนี้12542
ทั้งหมด1198751
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 4

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com