เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำมีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ

    After the earth's crust uplifts, erosion processes occur, developing into three age stages.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

    The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  หลากหลายความเห็นจากนักภูมิศาสตร์และการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    นักภูมิศาสตร์ควรเรียนรู้และศึกษาภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในพื้นที่โดยมุ่งเน้นศึกษาศึกษาเกี่ยวกับโลกในมิติของพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ที่บอกว่าภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องของพื้นที่เป็นคำกล่าวที่กล่าวกันง่ายๆ ต่อๆกันมา วันนี้เลยลองหยิบข้อมูลประชากร (หาได้ทั่วไป) มาลองมองในมุมของนักภูมิศาสตร์ โดยตอน 1 กล่าวถึงจำนวนประชากรแต่ละอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ตอน 2 ลองนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่น การกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ ...ซึ่งพบว่ามีอะไรสนุกๆ จากข้อมูลจริงภายใต้มิติของพื้นที่และเวลา

อัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่

จากข้อมูลประชากรของจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2559 มานำมาเปรียบเทียบกับประชากรทั่วประเทศและจังหวัดที่มีประชากรจำนวนมากในประเทศไทยจะพบว่า

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลประชากรทั่วประเทศและจังหวัดที่มีประชากรจำนวนมาก ปี พ.ศ. 2559

ในภาพรวม อัตราเกิด อัตราตาย และอัตราเพิ่มธรรมชาติของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่จะใกล้เคียงกับข้อมูลของประชากรทั่วประเทศ โดย

-          -  ประชากรทั่วประเทศจะมีการเกิดประมาณ 12 คนต่อ 1,000 คน ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่จะมีการเกิดประมาณ 11 คนต่อ 1,000 คน

-          - ประชากรทั่วประเทศจะมีการตายประมาณ 7 คนต่อประชากร 1,000 คน ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่จะมีการตายประมาณ 9 คนต่อประชากร 1,000 คน

-          - ประชากรทั่วประเทศจะมีอัตราเพิ่มตามธรรมชาติเท่ากับร้อยละ 0.34 ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่จะมีอัตราเพิ่มตามธรรมชาติเท่ากับร้อยละ 0.24

 - การย้ายถิ่นของประชากรในจังหวัดที่มีประชากรมากจะเพิ่มขึ้นและลดลงอยู่ในช่วงประมาณ 2 คนใน 1,000 คน ในขณะที่การย้ายถิ่นจังหวัดเชียงใหม่มีเพิ่มขึ้นสุทธิ 1 คนต่อประชากร 1,000 คน

- จังหวัดเชียงใหม่อัตราเพิ่มประชากรเท่ากับร้อยละ 1.34 ซึ่งคาดการณ์ว่าหากอัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่เท่ากับร้อยละ 1.34 ไปเรื่อย ๆ จังหวัดเชียงใหม่จะมีประชากรเพิ่มอีกเท่าตัวในอีกประมาณ 52 ปี

ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลประชากรจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2550 - 2559

 

อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบข้อมูลประชากรจังหวัดเชียงใหม่ในแต่ละปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2559 จะพบว่าตั้งแต่ปี 2553 เรื่อยมาจำนวนประชากรจังหวัดเชียงใหม่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ


 

แผนภูมิที่ 1 แสดงจำนวนประชากรจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2559

แผนภูมิที่ 2 แสดงอัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2559

ในขณะที่อัตราการเพิ่มประชากรก็จะลดลงเรื่อย ๆ เช่นกัน จึงเป็นไปได้ว่าอัตราการเพิ่มประชากรมีแนวโน้มที่จะไม่คงที่เท่ากับร้อยละ 1.34 และน่าจะลดลงไปเรื่อย ๆ

อัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่รายอำเภอ

          เมื่ออัตราเพิ่มประชากรเกิดจากอัตราเพิ่มธรรมชาติ +อัตราการย้ายถิ่นสุทธิ ซึ่งอัตราการเพิ่มธรรมชาติเป็นผลมาจากอัตราการเกิดและอัตราการตาย ซึ่งในระยะ 10 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2559 ประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีอัตราการเกิดและอัตราการตายค่อนข้างจะคงที่ ทำให้อัตราการเพิ่มธรรมชาติของประชากรจังหวัดเชียงใหม่จะค่อนข้างคงที่ไปด้วย

 

แผนภูมิที่ 3 แสดงอัตราเกิด อัตราตายและอัตราเพิ่มธรรมชาติของประชากรจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2559

และเมื่ออัตราการเพิ่มธรรมชาติของประชากรจังหวัดเชียงใหม่จะค่อนข้างคงที่แล้ว การเปลี่ยนแปลงอัตราเพิ่มประชากรไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงย่อมจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราการย้ายถิ่นสุทธิเป็นหลัก

แผนภูมิที่ 4 แสดงอัตราการย้ายถิ่นสุทธิ อัตราเพิ่มธรรมชาติ และอัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2559

ในขณะที่ปี พ.ศ. 2559 อัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีค่าเท่ากับร้อยละ 1.34 แล้ว หากพิจารณาอัตราเพิ่มประชากรจังหวัดเชียงใหม่รายอำเภอจะพบว่าจะมีทั้งอำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรสูงและต่ำกว่าร้อยละ 1.34 โดย

ตารางที่ 3 แสดงข้อมูลประชากรจังหวัดเชียงใหม่รายอำเภอปี พ.ศ. 2559

ภาพที่ 1 แสดงอัตราเกิดประชากรปี 2559 รายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

 

 

ภาพที่ 2 แสดงอัตราตายประชากรปี 2559 รายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

พบว่าในปี พ.ศ. 2559 ประชากรของอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีอัตราเกิดสูงกว่าอำเภออื่นอย่างเด่นชัดมี 2 อำเภอ คือของอำเภอแม่ริมและอำเภอเมือง โดยมีอัตราเกิดสูงถึง 31 คนต่อประชากร 1,000 คน ในขณะที่อำเภอแม่ริมมีอัตราตายสูงด้วยเช่นกัน โดยมีอัตราตายสูงประมาณ 25 คนต่อประชากร 1,000 คน

ภาพที่ 3 แสดงอัตราเพิ่มธรรมชาติประชากรปี 2559 รายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

อัตราเพิ่มตามธรรมชาติของทุกอำเภอจะแตกต่างกันน้อยมาก โดยพบว่า

- อำเภอที่มีอัตราเพิ่มธรรมชาติน้อยที่สุดคือ อำเภอดอยหล่อมีอัตราเพิ่มธรรมชาติร้อยละ -0.89 ซึ่งหมายความว่าอำเภอดอยหล่อมีอัตราตายมากกว่าอัตราเกิด

            - อำเภอที่มีอัตราเพิ่มธรรมชาติมากที่สุดคือ อำเภอเมืองมีอัตราเพิ่มธรรมชาติร้อยละ 1.84

ภาพที่ 4 แสดงอัตราเพิ่มประชากรปี 2559 รายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

- มี 20 อำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรสูงกว่าร้อยละ 1.34 โดยมีถึง 5 อำเภอที่อัตราเพิ่มประชากรสูงกว่าร้อยละ 10 คือ อำเภอสันกำแพง อำเภอสารภี อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอหางดงและอำเภอแม่ออน ตามลำดับ โดยอำเภอสันกำแพงจะมีอัตราเพิ่มประชากรสูงสุดถึงร้อยละ 24.56

- มี 4 อำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรต่ำกว่าร้อยละ 0 คือ อำเภอเมือง อำเภอแม่ริม อำเภอจอมทองและอำเภอฝางตามลำดับ

เมื่อข้อมูลอัตราเพิ่มธรรมชาติของประชากรจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2559 พบว่าจังหวัดเชียงใหม่มีอัตราเพิ่มธรรมชาติค่อนข้างคงที่ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงอัตราเพิ่มประชากรจึงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราการย้ายถิ่นสุทธิเป็นหลัก และเมื่อพิจารณาอัตราการย้ายถิ่นสุทธิรายอำเภอจะพบว่า

ภาพที่ 5 แสดงอัตราการย้ายถิ่นสุทธิรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2559

- เมื่อพิจารณาอัตราการย้ายถิ่นสุทธิรายอำเภอเฉพาะกลุ่มอำเภอที่อัตราเพิ่มประชากรสูงกว่าร้อยละ 10 จะพบว่าทั้ง 5 อำเภอคือ อำเภอสันกำแพง อำเภอสารภี อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอหางดงและอำเภอแม่ออนมีอัตราการย้ายถิ่นสุทธิสูงด้วยเช่นกัน หมายความว่าทั้ง 5 อำเภอมีประชากรย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่มากกว่าการย้ายออก

     - เมื่อพิจารณาอัตราการย้ายถิ่นสุทธิรายอำเภอเฉพาะกลุ่มอำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรต่ำกว่าร้อยละ 0 จะพบว่าทั้ง 4 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอแม่ริม อำเภอจอมทองและอำเภอฝางมีประชากรย้ายออกจากพื้นที่มากกว่าการย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะอำเภอเมืองในปี 2559 มีประชากรลดลงสุทธิถึง 27 คนต่อประชากร 1,000 คน

ภาพที่ 6 แสดงความหนาแน่นประชากรรายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2559

- หากสังเกตข้อมูลกลุ่มอำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรสูงกว่าร้อยละ 10 จะพบว่า นอกจากมีอัตราการย้ายถิ่นสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดแล้วยังเป็นกลุ่มอำเภอที่มีพื้นที่ที่ติดต่อกันและมีประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นกว่าพื้นที่อื่นด้วย

- หากสังเกตข้อมูลกลุ่มอำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรต่ำกว่าร้อยละ 0 แล้ว จะพบว่านอกจากมีอัตราการย้ายถิ่นสุทธิลดลงอย่างเด่นชัดแล้วยังเป็นกลุ่มอำเภอที่มีประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นกว่าพื้นที่อื่นและมี 2 อำเภอคือ อำเภอเมืองและอำเภอแม่ริมที่มีพื้นที่ทีติดต่อกับกลุ่มอำเภอที่มีอัตราเพิ่มประชากรสูงด้วย

 อย่างไรก็ตาม หากต้องการรู้ว่าการย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่หรือการย้ายออกจากในพื้นที่ของประชากรแต่ละอำเภอเป็นการย้ายภายในจังหวัดเชียงใหม่หรือย้ายมาจากจังหวัดอื่น ประเทศอื่น จำนวนเท่าไร ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ที่สำนักบริการการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการบริหารราชการของภาครัฐ โดยเฉพาะการนำมาวางแผนจัดการพื้นที่ สาธารณูปโภค สาธารณูปการโดยเฉพาะการการเตรียมการ การป้องกัน การแก้ปัญหาเมื่อประชากรแต่ละกลุ่มที่มีการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมที่ต่างกันอพยพย้ายถิ่นเข้ามาใช้บริการในพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ในการสร้างหรือแก้ไขชั้นข้อมูลในระบบ GIS สิ่งที่ต้องระวังและควรรับรู้ก็คือที่มาของแผนที่ฐาน เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบ Digital การย่อ ขยายเพื่อปรับแก้ข้อมูลทำได้ง่ายแต่คลาดเคลื่อนผิดพลาดตามค่าตั้งต้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หลักการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ตามแนวคิดและเทคนิควิธีการทางภูมิศาสตร์ซึ่งมีมาตั้งแต่ดั่งเดิมจนมาถึงปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมี Algorithms เกี่ยวข้องกับพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้285
เมื่อวานนี้627
สัปดาห์นี้912
เดือนนี้14503
ทั้งหมด1179888
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 8

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com