เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ติดตามสถานการณ์ภารกิจช่วยเหลือเด็ก ๆ หายและเริ่มต้นการค้นหา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ในฐานะศิษย์เก่าจึงได้นำเสนอความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหาร

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 วันที่ 28 มิถุนายน 2561 :

 

วันที่ 28 มิถุนายน 2561 นักภูมิศาสตร์นำทีมโดยอนุกูลฯ ได้เดินทางเข้าถึงพื้นที่เพื่อร่วมภารกิจช่วยเหลือเด็ก ๆ พร้อมกับสร้างเฟซบุ๊ก “Mapping for Search & Rescue Mission @Mae Sai” สำหรับเป็นแกนกลางแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อสนับสนุนการค้นหาเด็กๆ  

รายงานข่าวจากสำนักต่าง ๆ รายงานว่าสถานการณ์การสูบน้ำในวันนี้ไม่ทำให้น้ำลดลง จึงมีการตัดสินใจหยุดการสูบน้ำเนื่องจากฝนตกหนักต่อเนื่องกว่า 5 ชั่วโมง น้ำในถ้ำล้นออกมาถึงปากถ้ำต้องย้ายกองอำนวยการออกมานอกถ้ำ

 นักภูมิศาสตร์ในพื้นที่ส่วนหนึ่งพยายามหาตำแหน่งในพื้นที่ที่น้ำซึมลงใต้ดิน โดยโพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Mapping for Search & Rescue Mission @Mae Sai ขอข้อมูลแนวแตกเหนือลอยเลื่อนในพื้นที่ทั้งหมด ในขณะที่นักภูมิศาสตร์ส่วนหนึ่งเริ่มนำภาพถ่ายจากดาวเทียมมาวิเคราะห์หาตำแหน่งหลุมยุบเหนือถ้ำหลวง และบางส่วนนำข้อมูล DEM มาสร้างแบบจำลองหาพื้นที่รับน้ำภายในถ้ำหลวงฯ พร้อมคาดการณ์ตำแหน่งที่จะพบเด็ก ๆ

         

นักภูมิศาสตร์สร้างเฟซบุ๊ก “Mapping for Search & Rescue Mission @Mae Sai” เป็นแกนกลางแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับภารกิจค้นหาเด็ก ๆ พร้อมโพสต์ขอข้อมูลแนวแตกของหินเหนือลอยเลื่อนในพื้นที่ทั้งหมดเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการค้นหาตำแหน่งที่น้ำจะซึมลงใต้ดิน ซึ่งอาจจะเป็นรอยแตกของหินหรือหลุมยุบที่เกิดขึ้นบนภูเขา (ที่มา: ภาพจากเฟซบุ๊ก Geo CMU Alumni)

         

นักภูมิศาสตร์พยายามสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์หาตำแหน่งหลุมยุบเหนือถ้ำหลวงจากข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมและข้อมูล Digital Surface Model (DSM) 1 เมตร (ที่มา: ภาพจากเฟซบุ๊ก Mapping for Search & Rescue Mission @Mae Sai)

       

ข้อมูล DEM ถูกนำมาสร้างแบบจำลองหาพื้นที่รับน้ำภายในถ้ำหลวงฯ แล้วนำมาซ้อนทับกับแผนที่ภูมิประเทศและแผนที่โครงข่ายถ้ำหลวงฯ เพื่อคาดการณ์พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังภายในถ้ำและจุดที่คาดว่าเด็ก ๆ จะไปหลบพักอยู่ (ที่มา: ภาพจากเฟซบุ๊ก Mapping for Search & Rescue Mission @Mae Sai)

สำหรับแนวคิดทางภูมิศาสตร์ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของธรรมชาติซึ่งช่วยทำให้น้ำในถ้ำลดลงถูกเสนอผ่านเฟซบุ๊ก Geo CMU Alumni โดย ผศ.ดร. พรรณี วราอัศวปติ อดีตอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ มช. ได้เสนอวิธีการพื้นฐาน คือ การเบี่ยงน้ำเพื่อไม่ให้ไหลเข้าไปเพิ่มปริมาณน้ำในถ้ำ ซึ่งภายหลังได้นำมาเป็นภารกิจหนึ่งในการใช้ลดปริมาณน้ำในถ้ำหลวง

         

เนื่องจากน้ำในถ้ำหลวงเพิ่มปริมาณตลอด อดีตอาจารย์ภูมิศาสตร์จึงเสนอวิธีการเบี่ยงน้ำที่ไหลจากบนภูเขาเข้าไปตามรอยแตกของหินและหลุมยุบไม่ให้ไหลเข้าไปเพิ่มปริมาณน้ำในถ้ำหลวงฯ (ที่มา: ภาพจากเฟซบุ๊ก Geo CMU Alumni)

         

ผศ. น้อม งามนิสัย อดีตอาจารย์ภูมิศาสตร์เป็นนักวิชาการด้านภูมิศาสตร์อีกท่านหนึ่งที่สื่อมวลชนหลายสาขาได้ติดตามสอบถามข้อคิดเห็น แนวคิด วิธีการของนักภูมิศาสตร์ที่จะนำความรู้มาประยุกต์ช่วยค้นหาและนำเด็ก ๆออกจากถ้ำหลวงฯ ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายลักษณะทางกายภาพของภูมิประเทศที่เป็นภูเขา ถ้ำหินปูน ลักษณะภายในถ้ำ รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นต่อการระบายน้ำออกจากถ้ำ การขุดเจาะถ้ำทั้งด้านข้างและด้านบนของดอยนางนอน สิ่งที่ต้องระมัดระวัง ความเสี่ยงต่อการถล่มของถ้ำหินปูน และอื่น ๆ  (ที่มา : ภาพต้นแบบจาก www.komchadluek.net www.nationtv.tv และ www.amarintv.com )

วันที่ 29 มิถุนายน 2561 :

วันที่ 29 มิถุนายน 2561 ปริมาณน้ำในถ้ำยังคงสูง นักภูมิศาสตร์มีความพยายามใช้ข้อมูลค้นหาโพรงที่จะทะลุเข้าถ้ำโดยนำข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 มาซ้อนกับข้อมูลแผนที่ถ้ำหาเส้นทางเข้าถ้ำด้านเหนือดอยผาหมีและด้านตะวันตกใกล้บริเวณหาดพัทยา ในเวลาเดียวกันที่นักภูมิศาสตร์ที่อยู่นอกพื้นที่พยายามวิเคราะห์หาตำแหน่งหลุบยุบจากเส้นทางน้ำไหลและความลาดชันเพื่อชี้เป้าทางเข้าสู่ถ้ำจากด้านบน

          ในวันนี้กองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิกหรือ USPACOM ที่ถูกส่งมาช่วยค้นหาและกู้ภัย ได้เดินทางมาถึงถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เมื่อมาถึงกองกำลังสหรัฐอเมริกาฯ ทราบว่านักภูมิศาสตร์ในพื้นที่มีข้อมูลทางพื้นที่ที่น่าสนใจจึงขอให้นักภูมิศาสตร์บรรยายสถานการณ์และข้อมูลที่มีให้ฟัง

          

 เมื่อกองกำลังจากสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิกหรือ USPACOM ที่ถูกส่งมาช่วยค้นหาและกู้ภัยมาถึงพื้นที่แล้ว พบว่าข้อมูลที่นักภูมิศาสตร์รวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลสำคัญจึงขอให้นักภูมิศาสตร์อธิบายสถานการณ์และข้อมูลที่รวบรวมไว้ให้ฟัง เพื่อเป็นข้อมูลช่วยสนับสนุนในการช่วยค้นหาเด็ก ๆ (ที่มา: ภาพจากเฟซบุ๊ก Mapping for Search & Rescue Mission @Mae Sai)

         

การเข้าสู่ถ้ำหลวงผ่านโพรงด้านบนภูเขาเป็นแนวทางค้นหาเด็ก ๆ อีกทางหนึ่ง นักภูมิศาสตร์จึงนำข้อมูลที่มีมาผสมผสานสร้างเป็นแผนที่ตำแหน่งที่คาดว่าจะเป็นหลุบยุบซึ่งอาจจะเป็นโพรงเข้าสู่ถ้ำจากด้านบน นอกจากนี้ยังนำค่า DEM จากข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมมาคำนวณค่าความลึกของหลุมยุบอีกด้วย (ที่มา: ภาพจากเฟซบุ๊ก Mapping for Search & Rescue Mission @Mae Sai)

สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่นำโดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้สำรวจพบโพรง 2 จุดบนภูเขาและได้หย่อนตัวลงไปในโพรงได้ลึกถึง 60 เมตร แต่ก็ยังเป็นโพรงที่ไม่ได้ทะลุถึงถ้ำหลวง ทำให้ยังไม่สามารถเข้าถึงถ้ำหลวงได้จากด้านบน

          

 ในการสำรวจโพรงบนภูเขาพบว่ามีโพรงอยู่ 2 จุด ซึ่งกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาช่วยค้นหาเด็ก ๆ ไปเข้าไปสำรวจแต่พบว่าไม่สามารถทะลุเข้าไปถึงถ้ำหลวงได้ (ที่มา: ภาพต้นแบบจาก www.komchadluek.net และ TV New18 )

อย่างไรก็ตาม สำหรับขวัญและกำลังใจแล้ว ในด้านจิตใจ ความเชื่อ ความศรัทธา วันนี้ครูบาชุ่ม พระเกจิดังจากรัฐฉานได้เดินทางมาถึงปากถ้ำและทำพิธีเปิดทางช่วยเด็ก ๆ ทำให้ขวัญและกำลังใจของผู้ปกครอง ญาติมิตรผู้ใกล้ชิดเด็ก ๆ ตลอดจนคณะทำงานที่ช่วยและสนับสนุนการค้นหาเด็กต่างมีพลังและความหวังที่จะได้พบเด็ก ๆ อีกครั้ง

         

ครูบาชุ่ม พระเกจิดังจากรัฐฉานเดินทางมาถึงปากถ้ำและทำพิธีเปิดทางช่วยเด็ก ๆ (ที่มา: ภาพต้นแบบจาก www.komchadluek.net)

สำหรับผมแล้ว ในวันนี้ได้เสนอความคิดผ่านเฟซบุ๊ก Geo CMU Alumni โดยกล่าวถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ว่าเส้นทางน้ำใต้ดินในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกันมักจะเชื่อมโยงถึงกันหมด ดังนั้นการน้ำสูบออกจากปากถ้ำและการขุดเจาะเพื่อสูบน้ำใต้ดินออกหลาย ๆ จุดจะช่วยลดปริมาณน้ำในถ้ำได้เร็วขึ้น (หลักการทางภูมิศาสตร์นี้ถูกนำมาเป็นภารกิจเพื่อลดปริมาณน้ำในถ้ำด้วยเช่นกัน)

         

หลักการ เส้นทางน้ำใต้ดินในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกันมักจะเชื่อมโยงถึงกันหมด สามารถนำไปใช้กำหนดตำแหน่งเจาะสูบน้ำรอบ ๆ บริเวณถ้ำหลวงเพื่อลดปริมาณน้ำด้านในถ้ำได้ (ที่มา: ภาพจากเฟซบุ๊ก Geo CMU Alumni)

 

          อ่านตอน 1

          อ่านตอน 2

          อ่านตอน 4

          อ่านตอน 5

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มนุษย์พยายามบอกเล่าปรากฏการณ์บนพื้นพิภพเป็นภาษา Cartographic Map

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  GIS เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ เครื่องมือก็จะถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า การใช้งาน GIS ก็จะทำได้เพียงเพื่อตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ควรหรือที่จะสรุปว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS)  การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • แนวคิดการนำระบบ GIS ประยุกต์ใช้งานในภารกิจที่รับผิดชอบ เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจถึงวิธีคิดในการประยุกต์ใช้ระบบ GIS สำหรับงานในภารกิจที่รับผิดชอบ โดยยกตัวอย่างการออกแบบและขบวนประยุกต์ใช้งานทุกขั้นตอน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้342
เมื่อวานนี้413
สัปดาห์นี้3078
เดือนนี้5702
ทั้งหมด1204884
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 4

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com