การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

ากมอง GIS ในฐานะเครื่องมือแล้ว GIS จะประกอบด้วย Hardware Software Data Information Network Application และ Peopleware หากแต่ผลผลิตของ GIS คือสารสนเทศ (Information) ซึ่งลักษณะเด่นคือ สารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information)


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

ความรู้ ความเข้าใจที่จำเป็นต้องมีเมื่อจัดทำหรือใช้แผนที่

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ สิ่งที่สำคัญในความหมายของแผนที่ ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์

การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ

1. การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ

หลักการที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ คือ ระบบพิกัด

ระบบพิกัด : เป็นระบบการอ่านค่าตัวเลขในเชิงตำแหน่งบนพื้นที่ ซึ่งจะสามารถนำไปอ้างอิงคำนวณระยะทาง พื้นที่ ปริมาตรได้ต่อไป

พิกัดที่อ้างอิงบนแผนที่มี 2 ระบบหลัก คือ

1.1 ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ 

1.2 ระบบพิกัดกริด

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ :

ระบบการกำหนดตำแหน่งลงบนทรงกลมโลกโดยกำหนดเส้นสมมุติทั้งแนวตั้งและแนวนอน ได้แก่ เส้นละติจูด (Latitude) เส้นลองจิจูด (Longitude) เส้นศูนย์สูตร และเส้น Prime Meridian
การบอกตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์จะบอกอ้างอิงเป็นค่าระยะเชิงมุมของ ละติจูด (Latitude) ลองจิจูด (Longitude) หน่วยวัดจะกำหนดเป็น องศา ลิปดา ฟิลิปดา และบอกซีกโลกกำกับด้วย ( เหนือ - ใต้ - ตะวันออก - ตะวันตก ) 

ระบบพิกัดกริด :

ระบบวิธีการกำหนดค่าจุดตำแหน่งหรือค่าพิกัดในแผนที่ ระบบพิกัดกริดที่นิยมใช้ และนำมาใช้กับการทำแผนที่ในประเทศไทย คือ ระบบเส้นโครงพิกัด U.T.M. ( Universal Transverse Mercator Gris System)
ซึ่งจะแสดงเป็นตารางจตุรัสค่าพิกัด สำหรับแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน  1 : 50,000 ชุด L7017 ระบบพิกัด UTM แผนที่ขนาด 15 ลิปดา X 15 ลิปดา ทุกเส้นกริด UTM จะมีค่าพิกัดห่างกัน 1000 เมตร

 

2. การย่อส่วน 

การย่อส่วนจากสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกจริงๆ ลงมาในแผนที่เราเรียนกว่า สัดส่วนหรือมาตราส่วน

มาตราส่วน :

หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง โดยกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย

 

3. สัญลักษณ์แผนที่ :

สัญลักษณ์แผนที่จะปรากฏเป็น 3 ลักษณะ คือ

1.2.1 สัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็น จุด (point) เช่น ที่ตั้งจังหวัด อำเภอ วัดมีโบสถ์ วัดไม่มีโบสถ์ โรงเรียน เป็นต้น

1.2.2 สัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็น เส้น (line)เช่น แนวแบ่งเขตจังหวัด ถนน ทางน้ำ และเส้นชั้นความสูง เป็นต้น

1.2.3 สัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ (polygon) เช่น  สวนหรือไร่  สวนป่า  ทุ่งนา  แหล่งน้ำ

ในสัญลักษณ์ต่างๆ อาจจะมีข้อความเพื่ออธิบาย และการแสดงสี ประกอบด้วย โดยทั่วไปสัญลักษณ์จะออกแบบให้สื่อสารกับผู้ใช้งานได้ใกล้เคียงกับลักษณะภูมิประเทศจริงมากที่สุด
เพื่อความสะดวกต่อการแปลความ เช่น ทุ่งนา มีสัญลักษณ์คล้ายกับต้นข้าวทั่วทั้งพื้นที่ที่เป็นทุ่งนา แหล่งน้ำ จะกำหนดให้เป็นบริเวณที่มีสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสีน้ำทะเล
ทางรถไฟจะมีลักษณะคล้ายรางรถไฟ โรงเรียน มีลักษณะคล้ายเสาธงชาติ เป็นต้นนอกจากเครื่องหมายแล้ว  เรายังใช้สีเป็นการแสดงลักษณะภูมิประเทศอีกด้วย  เช่น

- สีดำ  หมายถึง สิ่งสำคัญทางวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น อาคาร  วัด  สถานที่ทางราชการต่างๆ เป็นต้น

- สีน้ำเงิน  หมายถึง  ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแหล่งน้ำ  เช่น  ทะเล  แม่น้ำ คลอง หนอง  บึง  เป็นต้น

- สีน้ำตาล  หมายถึง  ลักษณะภูมิประเทศที่มีความสูง เช่น  เส้นชั้นความสูง

- สีเขียว  หมายถึง  พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ  เช่น  สวน  ไร่ ป่า 

- สีแดง  หมายถึง  ถนนสายหลัก  พื้นที่ย่านชุมชน  และบริเวณภูมิประเทศสำคัญ

  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อรู้จัก ลักษณะปรากฏการณ์ที่ (Feature) กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้ว การนำค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data มาจำแนกและแสดงผลในรูปแผนที่หรือบางคนเรียกว่าส่วนที่เป็น Graphic data เป็นสิ่งที่จำเป็น  

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com