ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

ความจริงแล้ว...ระบบ GIS ในปัจจุบัน คือ แนวคิดการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบโบราณของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งต้องการการวิเคราะห์ ประมวลผลและพรรณนาข้อมูลเชิงตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่คู่กับข้อมูลเชิงปริมาณเสมอ

 GIS เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ เครื่องมือก็จะถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า การใช้งาน GIS ก็จะทำได้เพียงเพื่อตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร

สารบัญ

 

          ๒. แผนผังหรือแผนผังบริเวณ (Layout Plan) มีลักษณะคล้ายแผนที่ลายเส้น จะใช้สัญลักษณ์ รูปภาพ ลายเส้น แทนปรากฏการณ์บนพื้นที่เหมือนกัน แต่จะเป็นแบบที่เขียนย่อสัดส่วน ว่าอยู่ในตำแหน่งใด แผนผังบริเวณมักแสดงปรากฏการณ์ในพื้นที่ที่ไม่กว้างขวางมากโดยอาจจะมีการย่อ-ขยายสัดส่วนเพื่อเน้นหรือลดปรากฏการณ์บนพื้นที่ให้สื่อสารได้ชัดเจน เช่น แผนผังประกอบการโฆษณาขายที่ตั้งหมู่บ้าน

 



       3. หุ่นจำลองภูมิประเทศ (Topographic Model) เป็นการย่อส่วนภูมิประเทศที่ในแนวตั้งและแนวนอนแสดงให้เห็นเป็น 3 มิติ สามารถจับต้องปรับทิศทางได้ทำให้สามารถสื่อสารได้ใกล้เคียงภูมิประเทศจริงที่สุด ทั้งนี้ยังสามารถแสดงปรากฏการณ์อื่น ๆ ทั้งที่เป็น 2 มิติหรือ 3 มิติ ซ้อนทับลงบนหุ่นจำลองภูมิประเทศได้อีกด้วย

       4.    แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) เป็นแผนที่ที่นำภาพถ่ายมาเป็นพื้นหลัก โดยภาพถ่ายนั้นๆ จะถ่ายจากที่สูงลงมาบนพื้นโลก อาจจะถ่ายทางอากาศหรืออวกาศลงมา ทำให้เห็นภาพปรากฏการณ์บนพื้นโลก อย่างไรก็ตามเนื่องจากถ่ายจากที่สูง ภาพที่ได้อาจจะมีรายละเอียดใหญ่-เล็ก ยุ่งยากซับซ้อนต่อการเข้าใจ ประกอบกับมีแสง-เงาของดวงอาทิตย์ทอดบังปรากฏการณ์ต่างๆด้วย บางครั้งจึงต้องมีการแปลความหมายแล้วใช้ลายเส้นหรือสัญลักษณ์แสดงปรากฏการณ์ประกอบบนภาพ อีกทั้งด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน การหลีกเลี่ยงการบดบังของแสง-เงา การถ่ายภาพปรากฏการณ์ระยะไกล การถ่ายภาพด้วยเทคนิคการสะท้อนของช่วงคลื่นต่างๆ ทำให้มีการแปลและวิเคราะห์ความหมายของปรากฏการณ์ในภาพถ่ายทางอากาศที่ซับซ้อนขึ้น ดังนั้น แผนที่ภาพถ่ายจึงสามารถแสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้ซับซ้อนและหลากหลายยิ่งขึ้น

 

   

จะเห็นว่าทั้ง ภาษาภาพและภาษาแผนที่นับได้ว่าเป็นภาษาสากล...เป็นภาษาที่สามารถถ่ายทอดและสื่อสารปรากฏการณ์บนพื้นพิภพให้มนุษย์สามารถเข้าใจได้ชัดเจนตรงกัน การเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน Cartographic Map ทั้งเพื่อสร้างและใช้แผนที่ จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ควรส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการและคนทั่วไปได้รับรู้เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศต่อไป

 

 

 

 

 

 


 

 


  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com