สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำมีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ

    After the earth's crust uplifts, erosion processes occur, developing into three age stages.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

    Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภูมิศาสตร์เมือง Urban Geography (GEO 3409)” สอนที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เนื้อหาครอบคลุมการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์เมือง ความเป็นเมืองและกระบวนการกลายเป็นเมือง การวัดค่าความเป็นเมือง การจำแนกประเภทของเมือง เขตอิทธิพลเมือง แหล่งกลาง ระบบการใช้ที่ดินในเขตชุมชนเมือง

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    นักภูมิศาสตร์ควรเรียนรู้และศึกษาภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในพื้นที่โดยมุ่งเน้นศึกษาศึกษาเกี่ยวกับโลกในมิติของพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 เมื่อวาน (22 พ.ย. 2560) ได้เข้าร่วมงาน วันพี่พบน้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโดยภาควิชาภูมิศาสตร์ เป็นการบอกเล่าประสบการณ์ แสดงความคิดเห็นการใช้วิชาความรู้ไปประกอบอาชีพทั้งในภาคราชการ ภาคเอกชน และอาชีพอิสระของพี่ๆศิษย์เก่าภูมิศาสตร์ มช.

 

                ในภาคบ่ายมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ทั้งนี้ในฐานะศิษย์เก่าได้นำเสนอประสบการณ์และความเห็นบางอย่างบางประการจากฐานความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหารมาก่อน  เลยอยากนำมาเขียนเผยแพร่ไว้เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อนักภูมิศาสตร์และผู้สนใจคนอื่น ๆ

 

                มีคำถามกับตัวเองหลายครั้งเมื่อเห็นภาพในหลวงรัชกาลที่ 9 ใช้แผนที่ มองดูแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 “พระองค์เห็นอะไร?” มีความเชื่อว่าพระองค์คงไม่ได้เห็นแค่ระดับความสูง-ต่ำของภูมิประเทศจากเส้นชั้นความสูง พระองค์คงไม่ได้เห็นแค่ถนน ทางน้ำ หรือตำแหน่งที่ตั้งหมู่บ้านเท่านั้น พระองค์คงต้องเห็นป่าไม้ เห็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถหล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นต่อพืชพรรณ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่ เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ เป็นแหล่งน้ำที่ทั้งหมู่บ้านใกล้เคียงและที่อยู่ห่างไกลได้ใช้ประโยชน์ทำมาหากินประกอบอาชีพต่าง ๆ พระองค์คงรู้ว่าต้องมีฝนตกบริเวณไหน เห็นการไหลของน้ำจากแต่ละสายที่จะไหลมาเติมเต็มให้แอ่งน้ำในแต่ละฤดูกาล พระองค์คงเห็นความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และความสุขที่จะเกิดขึ้นกับประชาราษฎร์ของพระองค์

 

                คำถามคือ ทำไมเราอ่านแผนที่จึงไม่เห็นอย่างพระองค์ ทำไมเราเห็นแค่ความสูง-ต่ำ ถนน ทางน้ำ ที่ตั้งหมู่บ้านเท่าที่รับรู้ตั้งแต่เกิดมา พระองค์ท่านเดินทางไปทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทยเคยอ่านในหนังสือเขียนบอกไว้ว่า พระองค์ต้องการรู้จักพื้นที่ รับรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรของพระองค์

 

สำรวจ ศึกษาพื้นที่ ทั้งภูมิประเทศ ภูมิอากาศ มนุษย์และสิ่งแวดล้อมคือสิ่งที่ระองค์ทำมาตลอด

 

นั่นคือ วิธีการศึกษาของนักภูมิศาสตร์ นี่หว่า !”

 

เพราะเราศึกษาพื้นที่ทั้งภูมิประเทศ ภูมิอากาศ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม แนวคิด ทฤษฎีทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี โดยเฉพาะแผนที่เป็นเครื่องสนับสนุนการศึกษาของเรา

 

แล้ววันที่เราลืมอะไรไปบ้าง เรายังคงสำรวจพื้นที่ เรียนรู้ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์หรือไม่

 

เรายังศึกษาและใช้แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์อยู่หรือไม่   

 

หรือเราหันมาเน้นศึกษาการใช้เทคโนโลยีตามกระแสสังคมไปแล้ว

 

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา นักภูมิศาสตร์ใช้เทคโนโลยีเพื่อบอกว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร ใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์พื้นที่ ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับการทำอะไร อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พื้นที่ที่เหมาะสมกับการทิ้งขยะ พื้นที่ที่เหมาะสมกับการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถสร้างหรือจัดทำได้เนื่องจากถูกต่อต้านจากคนในพื้นที่หรือผู้เกี่ยวข้อง

ทำไม เราไม่ใช้ศาสตร์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ มาเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ทางพื้นที่ ความพึงพอใจ การเข้าถึงพื้นที่และอื่น ๆ ถ้าเรามี Layers เกี่ยวกับมนุษย์มาร่วมวิเคราะห์กับ Layers ทางกายภาพ วันนี้ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมอาจจะได้รับการยอมรับและไม่ต้องเสียเวลา เสียงบประมาณในการจ้างศึกษามากมายแล้วศูนย์เปล่า

นักภูมิศาสตร์ อย่าลืมว่าเราเรียนรู้ ศึกษาทั้งภูมิประเทศ ภูมิอากาศ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม แนวคิด ทฤษฎี และเครื่องมือและเทคโนโลยี เราน่าจะบูรณาการทั้งหมดเข้าด้วยกันได้ดีกว่าศาสตร์อื่น โดยเฉพาะการบูรณาการใช้แนวคิด ทฤษฎีทางด้านมนุษย์กับด้านกายภาพเข้าด้วยกัน

สิ่งสำคัญที่นักภูมิศาสตร์ใช้น้อยมากคือ โอกาสไม่ว่าจะเป็นการฉวยโอกาสหรือสร้างโอกาส สังเกตได้จาก ในวันที่เกิดภัยพิบัติใหญ่ การเกิดดินโคลนถล่ม การเกิดสึนามิ การเกิดน้ำท่วมใหญ่ นักวิชาการที่ออกมาอธิบายสาเหตุการเกิด การเฝ้าระวัง หรือการช่วยเหลือก็ตาม จะเป็นนักวิชาการสายอื่น ๆ ทั้งนักธรณีวิทยา นักอุทกวิทยา นักปฐพีวิทยา นักอุตุนิยมวิทยา นักวิศวกร.... ขาดแต่นักภูมิศาสตร์ทั้ง ๆ ที่เรื่องที่นักวิชาการเหล่านั้นอธิบายเป็นเรื่องพื้นฐานทางภูมิศาสตร์ทั้งสิ้น วันนั้นนักภูมิศาสตร์อยู่ไหน หรือนักภูมิศาสตร์จะบอกได้แค่ อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไรโดยอ้างอิงจากการอ่านแผนที่ ดูภาพถ่ายจากดาวเทียมที่สร้างขึ้นมาอย่างสวย ๆ เท่านั้น

สิ่งที่นักภูมิศาสตร์ควรทำอย่างยิ่งคือ ย้อนกลับมาค้นหาตัวตนหรืออัตลักษณ์ของตนเอง แล้วเรียนรู้และหาประสบการณ์อย่างเข้มข้น รวมทั้งสร้างและฉวยโอกาสที่จะออกมาบอกเล่า อธิบายเรื่องราวทางภูมิศาสตร์กับสังคมเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

พื้นฐานที่สำคัญคือ การอ่านแผนที่ของนักภูมิศาสตร์ไม่ว่าจะอ่านจากแผนที่แผ่นกระดาษหรือแผนที่จากคอมพิวเตอร์ ต้องเห็นมากกว่าระดับความสูง-ต่ำของภูมิประเทศ เห็นมากกว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • GIS : หลักการและการสร้างแผนที่ภูมิศาสตร์เบื้องต้น การใช้งานโปรแกรม ArcView 3.2 เบื้องต้น เนื้อหา การใช้งานโปรแกรม ArcView 3.2 เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลทั้งในรูปฐานข้อมูล แผนภูมิ และแผนที่  โดยสอนฝึกปฏิบัติกับโปรแกรมและข้อมูลจริง

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • GIS เป็น แค่เครื่องมือ ในการนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้หรือการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ควรศึกษาในบ้างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลในระบบ GIS ไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูล ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้65
เมื่อวานนี้569
สัปดาห์นี้2143
เดือนนี้1104
ทั้งหมด1200286
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 1

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com