เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

 

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

ปรากฏการณ์บนโลกมีทั้งที่กลมกลืนต่อเนื่องและแบ่งแยกชัดเจน การออกแบบในการสร้างและอธิบายให้เข้าใจผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าแผนที่จำเป็นต้อง....

ควรหรือที่จะสรุปว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS)  การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

 

 

เมื่ออ่านและแปลความจากเส้นชั้นความสูง (Contour) ในตอนที่ 2 แล้ว ตอน 3 จะเป็นการอ่านภาพตัดขวางจากเส้นชั้นความสูง (Contour) โดยการอ่านภาพตัดขวางจากเส้นชั้นความสูง (Contour) จะทำให้เห็นความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินเขา หุบเขา ร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด เช่นเมื่อผู้ใช้แผนที่ยืนอยู่ที่จุดหนึ่ง (A) ต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวาง (B-C) เราสามารถนำข้อมูลเส้นชั้นความสูงและแนวขวางมาสร้างภาพตัดขวางได้โดยง่าย

 

ตัวอย่างการสร้างภาพตัดขวางจากเส้นชั้นความสูง

 

1. ข้อมูลเส้นชั้นความสูงและแนวขวางที่ต้องการสร้างภาพตัดขวาง

 

 

2. อ่านค่าความสูงจากเส้นชั้นความสูงที่แนวขวางลากผ่าน (สังเกตค่าความสูงที่ต่ำสุดและสูงสุด) สร้างเส้นตั้งฉากแกน x,y โดยให้

 

- แกน x ยาวเท่ากับหรือยาวกว่าแนวขวางที่ต้องการสร้างภาพตัดขวาง

 

- แบ่งค่าแกน Y เป็นระยะ ๆ ตามค่าความสูงของเส้นชั้นความสูงที่เราอ่านค่าโดยให้ค่าความสูงต่ำสุดของเส้นชั้นความสูงเป็นระยะฐาน แล้วแบ่งค่าความสูงเป็นช่วงๆ ให้มีระยะและความสูงเท่าๆ กัน

 

- ลากเส้นขนานแกน X ตามระยะช่วงที่แบ่งในแกน Y

 

 

3. ที่จุดตัดของข้อมูลเส้นชั้นความสูงกับแนวขวางที่ต้องการสร้างภาพตัดขวางทุกๆ จุดตัด อ่านค่าความสูงของเส้นชั้นความสูงแล้วลากเส้นให้ขนานกับแกน Y โดยให้มาบรรจบกับเส้นที่ลากในข้อ 2 ซึ่งมีค่าความสูงที่ตรงกันกับค่าของแกน Y

4. ลากเส้นเชื่อมจุดตัดในข้อ 3 ทุก ๆ จุด ปรับแต่งให้พอสวยงามเป็นธรรมชาติ จะเห็นภาพตัดขวางเป็นภูมิประเทศที่แสดงความสูง ต่ำ การลาดเอียง

 หลักการนี้ เป็นหลักการเดียวที่โปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D นำไปใช้ประมวลผลข้อมูลซึ่งสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา และที่สำคัญการที่เรารู้ที่มาและหลักการพื้นฐานดังเดิมเราจะรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏสามารถนำไปใช้งานได้จริงแค่ไหน ระดับไหนที่คลาดเคลื่อนไม่สามารถนำไปใช้งานจริงได้

 

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 1 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/257-grid-utm-2

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 2 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/256-contour-2

  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เมื่อปรากฏการณ์บนพื้นโลกถูกแสดงเป็นแผนที่ทั้งในรูป Hard Copy (กระดาษ, แผ่นผ้า, พลาสติก ฯลฯ) และ Soft Copy (Digital Map) ปัจจุบันเราจะรับรู้ว่ามีการจัดเก็บในระบบ GIS ในรูป Feature ที่เป็น Graphic data และ Attribute data  

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com