เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ในฐานะศิษย์เก่าจึงได้นำเสนอความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหาร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ข้อมูล แนวคิดและพลังการช่วยเหลือเด็ก ๆ

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ในเมื่อสามารถดูภาพพื้นผิวโลกเป็น 3 มิติใน Smart Phone ได้ตลอดเวลา แต่ก็ควรอ่านและเข้าใจ Contour เพราะเป็นพื้นฐานการอ่านค่า Isoline ทุกประเภท เช่น เส้นอุณหภูมิเท่า (isotherms) เส้นความกดอากาศเท่า (Isobar) เป็นต้น

หากไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต เมื่อสัญญาณดาวเทียมถูกรบกวน การอ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติก็น่าจะอ่านและเข้าใจได้ง่าย ๆ ....ลองดู...เด็ก ๆ ก็เข้าใจได้สไตล์อณุศร

1. หากนำกระป๋องทรงกระบอกสูง 20 เซนติเมตรมาวางบนพื้น แล้ววัดจากพื้นขึ้นมาที่ความสูง 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร ลากเส้นรอบกระป๋องทุกๆ ความสูงข้างต้น จะได้เส้นวงกลมขนานพื้นที่เป็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร

 

2. เมื่อมองกระป๋องลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร เป็นวงกลมซ้อนเป็นวงเดียวกัน

3. หากบีบกระป๋องด้านบนด้วยแรงเท่าๆกัน กระป๋องจะกลายเป็นรูปกรวยคว่ำและเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร จะแนบไปกับกระป๋องตามความสูงที่ลากเส้นไว้

4. เมื่อมองกระป๋องลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร เป็นวงกลมซ้อนกัน โดยเส้นความสูงที่ 0 จะใหญ่กว่าและอยู่วงนอก ส่วนเส้นความสูงที่ 5, 10, 15 และ 20 เซนติเมตร จะเล็กลงมาตามลำดับ โดยเส้นความสูงที่ 20 เซนติเมตรจะอยู่วงในสุด

5. หากบีบกระป๋องด้านบนด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน แล้วดึงฐานของกระป๋องให้ยืดออกไปด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งรูปทรงของกระป๋องที่ได้จะยุบและยืดเบ้ออกไปโดยจะมีเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตรแนบไปกับรูปทรงกระป๋องตามที่ลากเส้นไว้ และเมื่อมองกระป๋องลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร ซ้อนกันและเบี้ยวไปตามรูปทรงของกระป๋อง โดยเส้นความสูงที่ 0 จะใหญ่กว่าและอยู่วงนอก ส่วนเส้นความสูงที่ 5, 10, 15 และ 20 เซนติเมตรจะเล็กลงมาตามลำดับ

6. เมื่อนำกระป๋อง 2 ใบ มาบีบด้านบนด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน แล้วดึงฐานของกระป๋องให้ยืดออกไปด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งรูปทรงของกระป๋องที่ได้จะยุบและยืดเบ้ออกไปโดยจะมีเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตรแนบไปกับรูปทรงกระป๋องตามที่ลากเส้นไว้เช่นเดียวกับข้อ 5 ทั้ง 2 ใบ ต่อจากนั้นนำกระป๋องทั้ง 2 ใบมาวางให้ฐานของกระป๋องต่อกัน

เมื่อมองลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร ซ้อนกันและเบี้ยวไปตามรูปทรงของกระป๋องทั้ง 2 ใบ โดยเส้นความสูงที่ 0 ของกระป๋องทั้ง 2 ใบ จะใหญ่กว่าและเชื่อมติดกันอยู่วงนอก ส่วนเส้นความสูงที่ 5, 10, 15 และ 20 เซนติเมตรของทั้ง 2 ใบจะเล็กลงมาตามลำดับ

7. นำกระป๋องสูง 20 เซนติเมตร 2 ใบและกระป๋องสูง 10 เซนติเมตร 1 ใบ มาบีบด้านบนด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน แล้วดึงฐานของกระป๋องให้ยืดออกไปด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งรูปทรงของกระป๋องที่ได้จะยุบและยืดเบ้ออกไปโดยจะมีเส้นความสูงแนบไปกับรูปทรงกระป๋องตามที่ลากเส้นไว้เช่นเดียวกับข้อ 5

นำกระป๋องสูง 20 เซนติเมตร 2 ใบ คือกระป๋องใบที่ 1 และใบที่ 2 มาเฉือนตรงๆลงผ่านเส้นความสูง 5 เซนติเมตร

นำกระป๋องใบที่ 2 ที่ถูกเฉือนแล้วมาเฉือนอีกครั้ง โดยเฉือนตรงๆลงตัดผ่านเส้นความสูง 0 เซนติเมตรบางส่วนออก

นำกระป๋องสูง 10 เซนติเมตรมาเฉือนตรงๆลงตัดผ่านเส้นความสูง 0 เซนติเมตรบางส่วนออก ซึ่งจะได้กระป๋องใบที่ 3

นำกระป๋องสูง 10 เซนติเมตร 1 ใบซึ่งเป็นกระป๋องใบที่ 4 มาบีบด้านล่างด้วยแรงเท่าๆกัน กระป๋องจะกลายเป็นรูปกรวยหงายและเส้นความสูงที่ 0, 5 และ 10 เซนติเมตร จะแนบไปกับกระป๋องตามความสูงที่ลากเส้นไว้

แล้วนำกระป๋อง 3 ใบมาวางเบียดกันโดยนำใบที่ 1 และใบที่ 2 มาวางเบียดกันให้จุดที่ถูกเฉือนที่ผ่านเส้นความสูง 5 เซนติเมตรมาชนกัน แล้วนำกระป๋องใบที่ 3 มาวางเบียดชนใบที่ 2 ให้ส่วนที่เฉือนตรงๆ ผ่านเส้นความสูง 0 เซนติเมตรของทั้ง 2 ใบมาชนกัน ซึ่งจะทำให้กระป๋องทั้ง 3 ใบเรียงต่อเชื่อมกัน ซึ่งเส้นความสูงที่แนบอยู่ข้างกระป๋องทั้ง 3 ใบบางส่วนจะชนต่อกัน ส่วนกระป๋องใบที่ 4 ซึ่งเป็นกระป๋องที่มีขนาดเล็กให้นำมาวางซ้อนอยู่ใต้กระป๋องใบที่ 1 ทำให้กระป๋องใบที่ 4 อยู่ต่ำกว่าพื้นซึ่งมีความสูง 0 เซนติเมตร ดังนั้นเส้นความสูงที่ 0, 5 และ 10 เซนติเมตรของกระป๋องที่ 4 จะมีค่าติดลบโดยเส้นความสูงที่ 10 เซนติเมตรจะเป็นเส้นความสูงที่ 0 เซนติเมตร เส้นความสูงที่ 5 เซนติเมตรจะเป็นเส้นความสูงที่ -5 เซนติเมตร เส้นความสูงที่ 0 เซนติเมตรจะเป็นเส้นความสูงที่ -10 เซนติเมตร

เมื่อมองลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงซ้อนกันและเบี้ยวไปตามรูปทรงของกระป๋องทั้ง 4 ใบ โดยเส้นความสูงที่ 0 เซนติเมตรของกระป๋องใบที่ 1 ใบที่ 2 และใบที่ 3 จะเชื่อมต่อกันอยู่วงนอก เส้นความสูงที่ 5 เซนติเมตรของกระป๋องใบที่ 1 และใบที่ 2 จะเชื่อมติดกัน เส้นความสูงที่ 10, 15 และ 20 เซนติเมตรซึ่งเล็กกว่าจะซ้อนอยู่ด้านในตามลำดับ สำหรับกระป๋องใบที่ 3 เส้นความสูงที่ 5 และ 10 เซนติเมตรซึ่งเล็กกว่าจะซ้อนอยู่ด้านในตามลำดับเช่นกัน ส่วนเส้นความสูงของกระป๋องใบที่ 4 จะซ้อนอยู่ในเส้นความสูงของกระป๋องใบที่ 1 โดยเส้นความสูงที่ -10 เซนติเมตรภายในสุด ถัดมาคือเส้นความสูงที่ -5 และ 0 เซนติเมตรตามลำดับ อย่างไรก็ตามการแสดงเส้นความสูงที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นหรือระดับ 0 จะใช้สัญลักษณ์ขีดขวางสั้น ๆ ลากตั้งฉากกับเส้นความสูงเพื่อแสดงทิศทางตามแนวที่ต่ำลงไป

8. เราจะพบเส้นความสูงหรือที่เรียกว่าเส้นชั้นความสูง (Contour line) ปรากฏอยู่บนแผนที่เพื่อแสดงลักษณะของภูมิประเทศซึ่งสามารถอ่านและเข้าใจได้เช่นเดียวกับการมองเห็นเส้นความสูงที่เกิดจากการมองกระป๋องที่บิดเบี้ยวนั่นเอง

 

หากสามารถอ่านและเข้าใจ Contour line ได้ การอ่าน เข้าใจและวิเคราะห์ เส้นอุณหภูมิเท่า (isotherms) เส้นความกดอากาศเท่า (Isobar) และเส้นท่าอื่นๆ ก็เป็นเรื่องง่าย ๆ

 

 

 

 

 

 


 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมี Algorithms เกี่ยวข้องกับพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ประเทศไทยเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย ขณะที่ประชากรวัยชราและประชากรวัยเด็กซึ่งเป็นวัยพึ่งพิงต้องการการเลี้ยงดูและดูแลจากวัยแรงงาน ภายใต้สภาวะประชากรวัยเด็ก”ลดลง "วัยชรา"เพิ่มขึ้น "วัยแรงงาน" พร้อมจะเลี้ยงดูและดูแลกันอย่างไร 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วนักวิชาการพยายามนิยาม ระบบ GIS” เป็น 3 แนวทางตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้279
เมื่อวานนี้665
สัปดาห์นี้1415
เดือนนี้4039
ทั้งหมด1203221
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 5

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com