ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

เมื่อรู้จัก ลักษณะปรากฏการณ์ที่ (Feature) กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้ว การนำค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data มาจำแนกและแสดงผลในรูปแผนที่หรือบางคนเรียกว่าส่วนที่เป็น Graphic data เป็นสิ่งที่จำเป็น  

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับการจัดเก็บภาษีป้ายของกรุงเทพมหานคร เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายที่มา แนวคิดและกระบวนการในการประยุกต์ใช้ระบบ GIS สำหรับการจัดเก็บภาษีป้ายของกรุงเทพมหานคร

 

อ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติ เรื่องง่าย ๆ เด็กก็เข้าใจได้...สไตล์อณุศร

ในเมื่อสามารถดูภาพพื้นผิวโลกเป็น 3 มิติใน Smart Phone ได้ตลอดเวลา แต่ก็ควรอ่านและเข้าใจ Contour เพราะเป็นพื้นฐานการอ่านค่า Isoline ทุกประเภท เช่น เส้นอุณหภูมิเท่า (isotherms) เส้นความกดอากาศเท่า (Isobar) เป็นต้น

หากไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต เมื่อสัญญาณดาวเทียมถูกรบกวน การอ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติก็น่าจะอ่านและเข้าใจได้ง่าย ๆ ....ลองดู...เด็ก ๆ ก็เข้าใจได้สไตล์อณุศร

1. หากนำกระป๋องทรงกระบอกสูง 20 เซนติเมตรมาวางบนพื้น แล้ววัดจากพื้นขึ้นมาที่ความสูง 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร ลากเส้นรอบกระป๋องทุกๆ ความสูงข้างต้น จะได้เส้นวงกลมขนานพื้นที่เป็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร

 

2. เมื่อมองกระป๋องลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร เป็นวงกลมซ้อนเป็นวงเดียวกัน

3. หากบีบกระป๋องด้านบนด้วยแรงเท่าๆกัน กระป๋องจะกลายเป็นรูปกรวยคว่ำและเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร จะแนบไปกับกระป๋องตามความสูงที่ลากเส้นไว้

4. เมื่อมองกระป๋องลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร เป็นวงกลมซ้อนกัน โดยเส้นความสูงที่ 0 จะใหญ่กว่าและอยู่วงนอก ส่วนเส้นความสูงที่ 5, 10, 15 และ 20 เซนติเมตร จะเล็กลงมาตามลำดับ โดยเส้นความสูงที่ 20 เซนติเมตรจะอยู่วงในสุด

5. หากบีบกระป๋องด้านบนด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน แล้วดึงฐานของกระป๋องให้ยืดออกไปด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งรูปทรงของกระป๋องที่ได้จะยุบและยืดเบ้ออกไปโดยจะมีเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตรแนบไปกับรูปทรงกระป๋องตามที่ลากเส้นไว้ และเมื่อมองกระป๋องลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร ซ้อนกันและเบี้ยวไปตามรูปทรงของกระป๋อง โดยเส้นความสูงที่ 0 จะใหญ่กว่าและอยู่วงนอก ส่วนเส้นความสูงที่ 5, 10, 15 และ 20 เซนติเมตรจะเล็กลงมาตามลำดับ

6. เมื่อนำกระป๋อง 2 ใบ มาบีบด้านบนด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน แล้วดึงฐานของกระป๋องให้ยืดออกไปด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งรูปทรงของกระป๋องที่ได้จะยุบและยืดเบ้ออกไปโดยจะมีเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตรแนบไปกับรูปทรงกระป๋องตามที่ลากเส้นไว้เช่นเดียวกับข้อ 5 ทั้ง 2 ใบ ต่อจากนั้นนำกระป๋องทั้ง 2 ใบมาวางให้ฐานของกระป๋องต่อกัน

เมื่อมองลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงที่ 0, 5, 10, 15, และ 20 เซนติเมตร ซ้อนกันและเบี้ยวไปตามรูปทรงของกระป๋องทั้ง 2 ใบ โดยเส้นความสูงที่ 0 ของกระป๋องทั้ง 2 ใบ จะใหญ่กว่าและเชื่อมติดกันอยู่วงนอก ส่วนเส้นความสูงที่ 5, 10, 15 และ 20 เซนติเมตรของทั้ง 2 ใบจะเล็กลงมาตามลำดับ

7. นำกระป๋องสูง 20 เซนติเมตร 2 ใบและกระป๋องสูง 10 เซนติเมตร 1 ใบ มาบีบด้านบนด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน แล้วดึงฐานของกระป๋องให้ยืดออกไปด้วยแรงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งรูปทรงของกระป๋องที่ได้จะยุบและยืดเบ้ออกไปโดยจะมีเส้นความสูงแนบไปกับรูปทรงกระป๋องตามที่ลากเส้นไว้เช่นเดียวกับข้อ 5

นำกระป๋องสูง 20 เซนติเมตร 2 ใบ คือกระป๋องใบที่ 1 และใบที่ 2 มาเฉือนตรงๆลงผ่านเส้นความสูง 5 เซนติเมตร

นำกระป๋องใบที่ 2 ที่ถูกเฉือนแล้วมาเฉือนอีกครั้ง โดยเฉือนตรงๆลงตัดผ่านเส้นความสูง 0 เซนติเมตรบางส่วนออก

นำกระป๋องสูง 10 เซนติเมตรมาเฉือนตรงๆลงตัดผ่านเส้นความสูง 0 เซนติเมตรบางส่วนออก ซึ่งจะได้กระป๋องใบที่ 3

นำกระป๋องสูง 10 เซนติเมตร 1 ใบซึ่งเป็นกระป๋องใบที่ 4 มาบีบด้านล่างด้วยแรงเท่าๆกัน กระป๋องจะกลายเป็นรูปกรวยหงายและเส้นความสูงที่ 0, 5 และ 10 เซนติเมตร จะแนบไปกับกระป๋องตามความสูงที่ลากเส้นไว้

แล้วนำกระป๋อง 3 ใบมาวางเบียดกันโดยนำใบที่ 1 และใบที่ 2 มาวางเบียดกันให้จุดที่ถูกเฉือนที่ผ่านเส้นความสูง 5 เซนติเมตรมาชนกัน แล้วนำกระป๋องใบที่ 3 มาวางเบียดชนใบที่ 2 ให้ส่วนที่เฉือนตรงๆ ผ่านเส้นความสูง 0 เซนติเมตรของทั้ง 2 ใบมาชนกัน ซึ่งจะทำให้กระป๋องทั้ง 3 ใบเรียงต่อเชื่อมกัน ซึ่งเส้นความสูงที่แนบอยู่ข้างกระป๋องทั้ง 3 ใบบางส่วนจะชนต่อกัน ส่วนกระป๋องใบที่ 4 ซึ่งเป็นกระป๋องที่มีขนาดเล็กให้นำมาวางซ้อนอยู่ใต้กระป๋องใบที่ 1 ทำให้กระป๋องใบที่ 4 อยู่ต่ำกว่าพื้นซึ่งมีความสูง 0 เซนติเมตร ดังนั้นเส้นความสูงที่ 0, 5 และ 10 เซนติเมตรของกระป๋องที่ 4 จะมีค่าติดลบโดยเส้นความสูงที่ 10 เซนติเมตรจะเป็นเส้นความสูงที่ 0 เซนติเมตร เส้นความสูงที่ 5 เซนติเมตรจะเป็นเส้นความสูงที่ -5 เซนติเมตร เส้นความสูงที่ 0 เซนติเมตรจะเป็นเส้นความสูงที่ -10 เซนติเมตร

เมื่อมองลงมาจากที่สูงตรง ๆ จะเห็นเส้นความสูงซ้อนกันและเบี้ยวไปตามรูปทรงของกระป๋องทั้ง 4 ใบ โดยเส้นความสูงที่ 0 เซนติเมตรของกระป๋องใบที่ 1 ใบที่ 2 และใบที่ 3 จะเชื่อมต่อกันอยู่วงนอก เส้นความสูงที่ 5 เซนติเมตรของกระป๋องใบที่ 1 และใบที่ 2 จะเชื่อมติดกัน เส้นความสูงที่ 10, 15 และ 20 เซนติเมตรซึ่งเล็กกว่าจะซ้อนอยู่ด้านในตามลำดับ สำหรับกระป๋องใบที่ 3 เส้นความสูงที่ 5 และ 10 เซนติเมตรซึ่งเล็กกว่าจะซ้อนอยู่ด้านในตามลำดับเช่นกัน ส่วนเส้นความสูงของกระป๋องใบที่ 4 จะซ้อนอยู่ในเส้นความสูงของกระป๋องใบที่ 1 โดยเส้นความสูงที่ -10 เซนติเมตรภายในสุด ถัดมาคือเส้นความสูงที่ -5 และ 0 เซนติเมตรตามลำดับ อย่างไรก็ตามการแสดงเส้นความสูงที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นหรือระดับ 0 จะใช้สัญลักษณ์ขีดขวางสั้น ๆ ลากตั้งฉากกับเส้นความสูงเพื่อแสดงทิศทางตามแนวที่ต่ำลงไป

8. เราจะพบเส้นความสูงหรือที่เรียกว่าเส้นชั้นความสูง (Contour line) ปรากฏอยู่บนแผนที่เพื่อแสดงลักษณะของภูมิประเทศซึ่งสามารถอ่านและเข้าใจได้เช่นเดียวกับการมองเห็นเส้นความสูงที่เกิดจากการมองกระป๋องที่บิดเบี้ยวนั่นเอง

 

หากสามารถอ่านและเข้าใจ Contour line ได้ การอ่าน เข้าใจและวิเคราะห์ เส้นอุณหภูมิเท่า (isotherms) เส้นความกดอากาศเท่า (Isobar) และเส้นท่าอื่นๆ ก็เป็นเรื่องง่าย ๆ

 

 

 

 

 

 


 

 

  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
  • นักแผนที่และนักสำรวจจะต้องปรับตัวเมื่อตำแหน่งมือถือปรากฏบนแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียมในหน้าจอมือถือได้ถูกต้อง

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com