เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

 

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

ข้อมูลในระบบ GIS มีมากมายหลายชั้นข้อมูล หลายมาตราส่วน หลายประเภทหลายนิยาม หากต้องการใช้ข้อมูลจะสร้างข้อมูลใหม่ควรเข้าใจว่ากลุ่มข้อมูล GIS มีอยู่ 3 กลุ่มข้อมูล

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

 

 การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 2 อ่านและแปลความจากเส้นชั้นความสูง (Contour)

เมื่ออ่านค่าพิกัด UTM ในตอนที่ 1 แล้ว ในตอน 2 เราจะอ่านค่าและแปลค่าความสูงจากเส้นชั้นความสูง (Contour) กัน

เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS

 เส้นชั้นความสูงหลัก (Index Contour) จะมีค่าความสูงกำกับ เช่น เส้นชั้นความสูงที่มีค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 100 เมตร 200 เมตร 300 เมตร.... ส่วนเส้นชั้นความสูงที่อยู่ระหว่างเส้นชั้นความสูงหลักจะเป็นเส้นชั้นความสูงแทรก (Supplemental Contour) โดยปกติจะมีค่าความสูงเส้นละ 20 เมตร  

หากเป็นเส้นที่เป็นเส้นประ จะเรียกว่าเส้นชั้นความสูงประมาณ (Approximate Contour) ซึ่งเกิดจากการประมาณค่าขึ้นเองโดยอาจจะเนื่องจากผู้ทำแผนที่ไม่มีค่าระดับความสูงในบริเวณพื้นที่นั้นๆ ขบวนการสร้างเส้นชั้นความสูงที่เกิดจากการใช้ค่าความสูงโดยรอบ หรือการทำ Interpolation จึงคลาดเคลื่อนสูงไม่ได้ค่าตามมาตรฐานที่กำหนด ในงานทำแผนที่จึงสร้างเส้นชั้นความสูงประมาณเป็นเส้นประ หากทำการ Interpolate ด้วยระบบ GIS ซึ่งผู้ใช้โปรแกรมไม่เข้าใจหลักของขบวนการสร้างเส้นชั้นความสูงแล้ว เส้นชั้นความสูงทุกเส้นจะไม่สามารถแยกได้ว่าเส้นใดควรเป็น ชั้นความสูงโดยประมาณ (Approximate Contour) การนำไปใช้ประโยชน์อาจจะไม่เหมาะสมได้ (จะอธิบายเมื่อมีโอกาสต่อไป)

 

หากเป็นเส้นที่เป็นเส้นขีดสั้นๆตั้งฉากเส้นชั้นความสูง จะเรียกว่าเส้นชั้นความสูงเป็นแอ่ง (Depression Contour) ซึ่งปลายของขีดสั้นๆ จะชี้ลงที่ต่ำ

 

การอ่านค่าจะอ่านตามค่าที่กำกับเส้นชั้นความสูง ซึ่งปกติจะกำกับที่เส้นชั้นความสูงหลัก โดยจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่ออ่านค่าที่เส้นชั้นความสูงแทรก

 

การแปลความหมายโดยการอ่านค่าและลักษณะของกลุ่มเส้นชั้นความสูงที่ปรากฏเด่นชัด คือ

- ยอดเขาหรือเนินเขา เป็นจุดสูงสุดจะเป็นเส้นชั้นความสูงที่มาบรรจบกันเล็กๆ และจะไม่ปรากฏเส้นชั้นความสูงใดซ้อนอยู่ภายในเส้นนั้นอีก

- จมูกเขา เป็นส่วนที่ยื่นออกจากจุดสูงสุดของเนินเขาลาดลงต่ำ ลักษณะเส้นชั้นความสูงจากเส้นที่มีค่ามากจะยื่นแหลมออกยังไปเส้นที่มีค่าน้อยหรือยื่นลงสู่ที่ต่ำ

- แนวสันเขา เป็นแนวที่ลากเชื่อมกันจากยอดเขาไปยังอีกยอดเขาหรือไปตามแนวจมูกเขาเชื่อมเข้าหายอดเขาที่ใกล้กันที่สุดสุดถึงยอดเขาสุดท้าย

- ร่องน้ำ เป็นแนวที่เป็นร่องที่น้ำสามารถไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้ ลักษณะเส้นชั้นความสูงจากเส้นที่มีค่าน้อยจะยื่นแหลมเขาหาเส้นที่มีค่ามากหรือขึ้นสู่ที่สูง

 

 ตัวอย่างที่สามารถแสดงการอ่านและการแปลความได้ชัด คือ

 

 

ในการอ่านและแปลความเส้นชั้นความสูง ทำให้สามารถเข้าใจพื้นที่ บริหารจัดการพื้นที่ในภาพรวมได้อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง ดิน น้ำ และป่าไม้ ซึ่งการอ่านและแปลความเส้นชั้นความสูงทำให้มองเห็นสภาพทางกายภาพของลุ่มน้ำ ทั้งที่เป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่และลุ่มน้ำย่อยๆ ซึ่งคงจะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อๆไป

 

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 1 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/257-grid-utm-2 

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 3 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/255-profile-contour-2

  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
  • GIS : หลักการและการสร้างแผนที่ภูมิศาสตร์เบื้องต้น การใช้งานโปรแกรม ArcView 3.2 เบื้องต้น เนื้อหา การใช้งานโปรแกรม ArcView 3.2 เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลทั้งในรูปฐานข้อมูล แผนภูมิ และแผนที่  โดยสอนฝึกปฏิบัติกับโปรแกรมและข้อมูลจริง

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com