เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วนักวิชาการพยายามนิยาม ระบบ GIS” เป็น 3 แนวทางตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่

หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

สารบัญ

 

เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

เส้นโครงแผนที่...สิ่งสำคัญต่อการอ่านและแปลความหมายในแผนที่

 เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบเพื่อพกพา การย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงกับปรากฏการณ์บนพื้นโลกที่สุดนั้น นักภูมิศาสตร์ผู้ผลิตแผนที่จึงพยายามจัดทำแผนที่ให้รูปร่างของปรากฏการณ์บนแผนที่มีความใกล้เคียงกับโลกที่สุดโดยพยายามให้มีทิศทางถูกต้อง ระยะทางถูกต้อง รูปร่างถูกต้องและพื้นที่ถูกต้องที่สุด

หากต้องการอ่านค่าบนโลกจำเป็นต้องมีค่าพิกัดซึ่งนักภูมิศาสตร์ได้ศึกษา คำนวณและกำหนดตำแหน่งของจุดต่างๆ โดยใช้เส้นละติจูดและลองจิจูด โดยมีค่าพิกัดเป็นองศา คือ 1 องศา จะประกอบด้วย 60 ลิปดา (60) และ 60 ฟิลิบดา (60’’) โดยเส้นละติจูด คือ เส้นต่างๆที่ลากขนานไปทางเหนือและใต้กับเส้นศูนย์สูตรที่เป็นเส้นแกนกลางของโลกหรือที่เราเรียกกันว่าเส้นรุ้ง เส้นลองจิจูด คือ เส้นที่ลากจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ และตัดกับเส้นศูนย์สูตรเป็นมุมฉาก โดยจะลากเป็นเส้นขนานจากทางทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตก หรือที่เราเรียกว่า เส้นแวง

 

โลกที่เป็นทรงกลม ทิศทางถูกต้อง ระยะทางถูกต้อง รูปร่างถูกต้องและพื้นที่ถูกต้องที่สุด

 

การนำทรงกลมมาแผ่เป็นแผ่นราบหากผ่าทรงกลมแล้วฉีกออกให้เป็นแผ่นราบก็จะมีรูปร่างประหลาดยากต่อการพกพาและการรักษาทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่ให้ถูกต้องคงเป็นได้ยากเช่นกัน

 

นักภูมิศาสตร์ผู้ผลิตแผนที่พยายามหาวิธีถ่ายทอดข้อมูลปรากฏการณ์บนผิวโลกที่เป็นทรงกลม (หรือรูปทรงเกือบเป็นทรงกลม ที่เรียกว่า geoid หรือ ellipsoid ซึ่งนำมาใช้คำนวณทางคณิตศาสตร์ ) ให้มาสู่แผ่นราบโดยใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์จากการจิตนาการว่า.....


 ......เมื่อดวงไฟอยู่ใจกลางโลก แสงของดวงไฟที่ส่องออกมาทุกทิศทุกทางมากระทบปรากฏการณ์บนโลกทั้งแผ่นดิน แผ่นน้ำ เส้นละติจูด เส้นลองจิจูด และปรากฏการณ์อื่นๆ

 

 ......แสงเงาที่ส่องผ่านปรากฏการณ์ดังกล่าว หากเอาฉากแผ่นราบหรือฉากที่รูปทรงเรขาคณิตมารับและคลี่ออกเป็นแผ่นราบได้ก็จะเกิดเป็นแผนที่

 


 ......การถ่ายทอดตำแหน่งก็สามารถทำได้ตามหลักการทางคณิตศาสตร์เนื่องจากเป็นการถ่ายทอดรูปทรงกลม มาสู่รูปทรงเรขาคณิตและแผ่เป็นแผ่นราบ

 

......การเลือกรูปทรงเรขาคณิต รวมทั้งกำหนดรูปแบบการวางตำแหน่งของรูปทรงให้สัมผัสกับทรงกลมของโลกเหมาะสมกับพื้นที่เป้าหมายเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตแผนที่พยายามกำหนดเพื่อให้เส้นโครงแผนที่ที่ได้สามารถรักษาทิศทาง ระยะทาง รูปร่าง พื้นที่ได้ใกล้เคียงความจริงที่สุด

 

 


.....จะพบว่ามีเส้นโครงแผนที่แบบต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในแต่ละพื้นที่แต่ละภูมิภาคนั้น ผู้ผลิตแผนที่จะเลือกใช้เส้นโครงแผนที่ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน โดยจะพิจารณาคุณสมบัติของเส้นโครงแผนที่ด้านการรักษาทิศทาง ระยะทาง รูปร่าง และพื้นที่ เส้นโครงแผนที่แต่ละชนิดเมื่อนำมาผลิตแผนที่จะทำให้แผนที่มีส่วนที่ถูกต้องและคลาดเคลื่อนเสมอ และพบว่าไม่มีเส้นโครงแผนที่ชนิดใดเมื่อที่มีคุณสมบัติรักษาทิศทาง ระยะทาง รูปร่าง พื้นที่ได้ถูกต้องที่สุดในเวลาเดียวกัน

 

เมื่อเข้าใจเรื่องเส้นโครงแผนที่เราจะไม่ต้องสงสัย..แปลกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อใช้งานระบบ GIS

 ดูตัวอย่างข้อมูลและโปรแกรมที่ได้จาก ArcView 3.2 สามารถนำมาอธิบายได้ชัดเจนดังนี้

   ภาพของโลกที่เห็นเมื่อมองลงมาจากท้องฟ้า

  หากกำหนดใช้ Map Projection ที่แตกต่างกันและวัดระยะบนแผนที่ของประเทศไทยจากด้านตะวันตกไปตะวันออก (จุด A ไปจุด B) เหมือนกัน สิ่งที่ได้จะปรากฏดังนี้

 1. เมื่อกำหนด Projection : Robinson ระยะ A-B วัดได้ประมาณ 687 กิโลเมตร

  

 


2. เมื่อกำหนด Projection : Mercator ระยะ A-B วัดได้ประมาณ 815 กิโลเมตร

  

 

3. เมื่อกำหนด Projection : Equal Area Cylindrical ระยะ A-B วัดได้ประมาณ 815 กิโลเมตร 

  

 


4. เมื่อกำหนด Projection : Mollweide ระยะ A-B วัดได้ประมาณ 719 กิโลเมตร

  

 

 จากที่กล่าวข้างต้นว่าเส้นโครงแผนที่แต่ละแบบจะมีคุณสมบัติรักษาทิศทาง ระยะทาง รูปร่าง และพื้นที่แตกต่างกัน ผู้ใช้แผนที่ควรรู้ที่มาของแผนที่ว่าผ่านขบวนการ Projection หรือไม่ หรือผ่านเพียงขบวนการ Transformationเท่านั้น เพราะผลการวัดค่าจะมีความคลาดเคลื่อนแตกต่างกันไปดังตัวอย่างข้างต้นที่วัดระยะทางจากจุด A ไปจุดB บนแผนที่เหมือนกันแต่ได้ค่าระยะทางแตกต่างกัน

 

  • แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแค่แนวคิดและเทคโนโลยี บางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com