เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

 


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายประกอบการทำ workshop การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย GIS ของ กทม. โดยนำข้อมูลมาใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ArcView

IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแค่แนวคิดและเทคโนโลยี บางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย

 เมื่อขบวนการทำงานของ GPS ถูกประยุกต์ใช้ร่วมกับข้อมูลแผนที่และข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมทำให้เรารู้ตำแหน่งมือถือบนแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียม ทำให้เรามีโปรแกรมบอกเส้นทางรถเพื่อนำทางและบอกสภาพการจราจรเราได้ และในอนาคตคงทำให้เรารู้อะไรอีกมากมาย

การทำงานของเทคโนโลยีบางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย หากเรารู้และเข้าใจหลักการทำงานของเทคโนโลยีบ้าง เราในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยี ก็จะเป็นผู้ที่อยู่กับเทคโนโลยีอย่างที่รู้เท่าทัน อาจจะพัฒนาตัวเองเป็นผู้ปรับปรุง แก้ไข หรือผู้สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆในอนาตค

ผู้ที่สนใจเทคโนโลยี คงเคยได้รับรู้เรื่อง IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กันมาบ้าง สำหรับบทความนี้อยากบอกเล่าเรื่องราวตามภาษานักภูมิศาสตร์ (ที่รู้แบบเป็ดและพยายามคุยเรื่องยาก ๆ ให้เห็นภาพเพื่อจะได้เข้าใจง่าย ๆ) ต่อไปนี้

 

ภาค1… IoT (Internet Of Thing) :

อุปกรณ์ที่มีหน่วยความจำสำหรับจัดเก็บข้อมูลและประมวลผล อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อ Internet แต่เดิมเราพบว่ามีแต่คอมพิวเตอร์เท่านั้นที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ต่อมาเราพบว่า มือถือก็มีคุณสมบัติดังกล่าวเราจึงเข้าใจได้ว่า มือถือก็เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งโดยเฉพาะในภายหลังเราสามารถเขียนโปรแกรมให้มือถือสามารถทำงานและแสดงผลต่าง ๆ ได้

ปัจจุบันเมื่อเราไม่อยู่บ้าน เราติดกล้อง CCTV ไว้รอบบ้านและดูความเคลื่อนไหวผ่านกล้อง CCTV แต่ละตัวหรือหลาย ๆ ตัวผ่านมือถือได้ตลอดเวลา เช่นเดียวกับการที่เราไม่อยู่บ้านหรือกลับบ้านดึกมาก ๆ เราก็สามารถใช้มือถือสั่งให้หลอดไฟหน้าบ้าน หลอดไฟห้องรับแขกเปิดให้แสงสว่างไว้ได้

สำหรับในอนาคตอีกไม่นานเหตุการณ์เช่นนี้อาจจะถือว่าเป็นเรื่องปกติ โดยชีวิตประจำวันอาจจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับหลาย ๆ คน เช่น

.....หลังเลิกงานระหว่างเดินทางกลับบ้าน …..เปิดมือถือใช้โปรแกรมสั่งอุปกรณ์เครื่องมือที่บ้านใช้ทำงานรอก่อนกลับมาถึงบ้าน เช่น สั่งกาต้มน้ำให้ต้มน้ำเตรียมชงเครื่องดื่ม …..สั่งอ่างอาบน้ำให้เปิดน้ำให้ปริมาณพอดีเพื่อกลับถึงบ้านก็พร้อมที่จะอาบน้ำได้ทันที ฯลฯ ในระหว่างเดินทางเมื่อเห็นป้ายโฆษณาอาหารที่น่าสนใจก็ใช้โปรแกรมถ่ายภาพรายการอาหารจากป้ายโฆษณาอาหารแล้วรอรับอาหารเมื่อกลับถึงบ้านพอดี …..

สิ่งที่บอกเล่าคือการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนองความต้องการความสะดวกสบาย ซึ่งผู้ผลิตและผู้บริโภคมีต้องการตรงกัน การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือให้มีหน่วยความจำและต่อเชื่อมระบบ Internet ได้ จึงเป็นระบบหลักที่เป็นกลไกลการนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้งานตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์นิยามและเรียกมันว่า IoT (Internet Of Thing) ซึ่งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ IoT มี 3 ส่วนหลัก คือ

1.      อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มี IP Address (เลขรหัสเฉพาะประจำเครื่องที่ต่อเชื่อมบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์) สำหรับเชื่อมต่อกับระบบ Internet ซึ่งมีหน่วยความจำที่ถูกเขียนโปรแกรมฝั่งไว้ โดยโปรแกรมจะสามารถบังคับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้นั้น ๆ ผ่านระบบ Internet ได้

2.      โปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานผ่านระบบ Internet ตามขบวนงานที่กำหนด

3.      อุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับจัดเก็บข้อมูลและ/หรือโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มี IP Address


ภาพที่ 1

 

จากภาพที่ 1 อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มี IP Address จะมีทั้งที่อยู่ในอาคารทั้งที่ต่อเชื่อมเป็นระบบเครือข่าย และเป็นอุปกรณ์เดี่ยว ๆ (ไม่จำเป็นต้องเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ติดตั้งอยู่ในอาคารเท่านั้น) ซึ่งต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์ ที่มีโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ ซึ่งทำงานผ่านระบบ Internet

 หากจะอธิบายการรายละเอียดการทำงานของระบบต่าง ๆ ในกรณี.....หลังเลิกงานระหว่างเดินทางกลับบ้าน.....เราใช้มือถือสั่งงานต่าง ๆ สามารถอธิบายได้ดังนี้

 -          กรณี....ใช้มือถือสั่งให้หลอดไฟหน้าบ้าน หลอดไฟห้องรับแขกเปิดให้แสงสว่าง       :

  เมื่อเปิดมือถือใช้โปรแกรมควบคุมระบบไฟส่องสว่างของบ้าน ระบบที่มือถือจะต่อเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของหลอดไฟฟ้า หลังจากนั้นโปรแกรมจะมี Functions การสั่งการหลอดไฟแต่ละดวงผ่านอุปกรณ์ควบคุม โดยอาจจะสามารถสั่งให้เปิด-ปิด ปรับความมืด- สว่าง ฯลฯ

 -          กรณี....ใช้โปรแกรมสั่งกาต้มน้ำให้ต้มน้ำ

 เมื่อเปิดโปรแกรมและสั่งกาต้มน้ำให้ต้มน้ำ โปรแกรมที่มือถือจะส่งข้อมูลผ่านระบบ Internet ไปที่กาต้มน้ำที่มี IP Address ที่โปรแกรมระบุ ที่กาต้มน้ำจะทำการเปิดระบบไฟฟ้าให้เข้ามาควบคุมการทำงาน และจะเปิดวาล์วให้น้ำไหลเข้ามาในกาต้มน้ำในปริมาณที่ต้องการ (โปรแกรมสามารถกำหนดได้) และระบบควบคุมความร้อนก็เริ่มทำงาน ซึ่งโปรแกรมสามารถสั่งการให้ต้มน้ำให้น้ำเดือดที่อุณหภูมิที่กำหนดได้

 หากลืมปิดการทำงานของกาต้มน้ำ ระบบสามารถตัดการทำงานได้อัตโนมัติ หรือสามารถสั่งปิดการทำงานผ่านมือถือได้

              -          กรณี....ใช้โปรแกรมสั่งอ่างอาบน้ำให้เปิดน้ำให้ปริมาณพอดีก็มีลักษณะเช่นเดียวกับ ใช้โปรแกรมสั่งกาต้มน้ำให้ต้มน้ำเช่นกัน

 สำหรับกรณีการใช้โปรแกรมสั่งกาต้มน้ำ หรือใช้โปรแกรมสั่งอ่างอาบน้ำให้เปิดน้ำ ในอนาคตจะถือว่าเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของระบบ IoT ซึ่งจะสามารถใช้ได้กับอุปกรณ์หลากหลายขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าในการนำมาประยุกต์ต่อยอดใช้ประโยชน์

-          กรณี....เปิดมือถือใช้โปรแกรมถ่ายภาพรายการอาหารจากป้ายโฆษณาอาหาร :

 จากภาพที่ 2 เมื่อเปิดมือถือถ่ายภาพรายการอาหารจากป้ายโฆษณาอาหาร (1) ข้อมูลรายการอาหารซึ่งประกอบด้วยรูปภาพและรหัสรายการอาหาร (อาจจะเป็นคิวอาร์โค้ดหรืออะไรที่ทันสมัยกว่าก็ได้)  จะถูกส่งไปยัง Servers ส่วนกลางเพื่อประมวลผล(2)  แล้วส่งไปยังคอมพิวเตอร์(3) ที่ร้านอาหารที่มีที่ตั้งใกล้บ้าน (ระบบรู้จักบ้านได้เพราะการลงทะเบียนมือถือไว้กับค่ายมือถือซึ่งต่อไปจะระบุ Location ของเจ้าของมือถือคู่กับ Address โดยหลังถ่ายภาพรายการอาหารฯ ระบบโปรแกรมฯอาจจะถาม-ตอบรายการอื่น ๆ เช่น เวลาส่ง จำนวนชิ้น รสชาติ ฯลฯ) เมื่อร้านอาหารรับรายการก็จะจัดการตรวจสอบระบบการจ่ายเงิน (4) โดยจะหักเงินจากบัญชีรายรับหรือเครดิตของผู้สั่งซื้อซึ่งเชื่อมระหว่างธนาคารกับร้านค้า หากระบบตรวจสอบผ่าน จึงจะมีการส่งสินค้ามาให้ที่บ้านซึ่งจะตรงกับช่วงเวลาที่ผู้ซื้อระบุไว้ (5)

 

ภาพที่ 2

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของนักภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ Location แล้ว อาจจะเห็นความหลากหลายในการประยุกต์และใช้งาน IoT เช่น

ช่วงหนึ่งเคยขับรถ Honda และพบว่าทุกครั้งที่สตาร์ทรถ จะสังเกตเห็นที่หน้าปัดรถแสดงตัวเลขอุณหภูมิภายนอกรถ ไปพร้อม ๆ กับจอภาพแสดงแผนที่และตำแหน่งของรถ หากนำเอาข้อมูลดังกล่าวของรถทุก ๆ คันเชื่อมเข้าระบบ Internet และส่งข้อมูลเข้า Servers ของ Honda ที่มีข้อมูลลูกค้าบางส่วนแล้ว Honda ก็จะมีข้อมูลตำแหน่งรถ อุณหภูมิภายนอกรถขณะนั้น และข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ (ข้อมูลบางรายการยังสามารถนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ด้วย) ตัวอย่างที่ชัดเจนได้แก่การนำไปประยุกต์ใช้เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศแบบ Real Time หรือการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ได้ ทั้งนี้การนำไปต่อยอดวางแผนการตลาดของสินค้าที่เกี่ยวกับอุณหภูมิ เช่น อุปกรณ์ทำความเย็น-ร้อน อุปกรณ์ถนอมอาหาร อาหาร อุปกรณ์นุ่งห่ม  หรืออุปกรณ์ด้านสุขภาพ ก็จะเกิดขึ้นอย่างหลากหลายและอาจจะเกิดอาชีพใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีก (ดูโครงสร้างการทำงานได้จากภาพที่ 3)

ภาพที่ 3

 

อนึ่ง ตามที่กล่าวว่าระบบ IoT ซึ่งอุปกรณ์เครื่องมือมีหน่วยความจำและต่อเชื่อมระบบ Internet หากนำคุณสมบัตินี้มาพัฒนาใช้งานโดยเขียนโปรแกรมให้หน่วยความจำสามารถประมวลผลจัดเก็บและส่งข้อมูลไปใช้งานได้ ระบบอุปกรณ์อัจฉริยะจะเกิดขึ้นอีกมากมาย เช่นตัวอย่างจากข่าวสารต่อไปนี้....

Acer จับมือ Intel โชว์นวัตกรรมแห่งอนาคตผ้าอ้อมเด็กอัจฉริยะ

http://www.acerspace.com/acer-diaperpie-computex-2015/

 

ภาค2… Big Data :

เคยสงสัยหรือไม่ว่า บางครั้งขณะเราผ่านห่างสรรพสินค้า เมื่อเปิดมือถือเพื่อใช้งาน เราจะพบข้อความโฆษณาเป็น Pop Up ขึ้นมา บางครั้งโฆษณา รองเท้ายี่ห้อดังที่เราสนใจจะซื้อ ซึ่งเราเพิ่งค้นข้อมูลเมื่อวานนี้เพื่อดูราคาและร้านค้าที่จัดโปรโมชั่นลดราคา หรือมีข้อความเป็น Pop Up บอกว่า ที่พักเชียงใหม่ ราคาถูก ห่างประตูท่าแพ 300 เมตรโดยที่เราเพิ่งค้นข้อมูลที่พักในเมืองเชียงใหม่เพื่อวางแผนไปพักผ่อน

สิ่งที่น่าสงสัยคือใคร รู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังสนใจเรื่องเหล่านั้นอยู่

ชัดเจนว่าเมื่อเราขยับใช้มือถือเมื่อใด ข้อมูลที่ค้นหา หรือใช้งานจะถูกส่งมาที่มือถือ ในขณะเดียวกันที่ข้อมูลที่มือถือก็ถูกส่งไปให้ Servers ต่าง ๆ มากมาย ทั้งข้อมูลตัวอักษรที่เราพิมพ์ ข้อมูลภาพที่เราถ่ายหรือภาพที่เราเก็บไว้ ข้อมูลเสียงที่เราพูดคุยสนทนาหรือบันทึกไว้ ข้อมูลการเข้าใช้โปรแกรม เข้าใช้เว็บไซด์ต่าง ๆ แม้กระทั้งข้อมูลการขยับนิ้วกดหรือสไลด์ไปบนหน้าจอหรือการกดเม้าแต่ละครั้งก็อาจจะถูกบันทึกและส่งไปยัง Servers ใดๆ บนโลกไซด์เบอร์ได้ ข้อมูลเหล่านี้จากทุก ๆ คนจะถูกส่งกระจายไปยัง Servers ต่าง ๆ (ตามเงื่อนไขการลงทะเบียนหรือการใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมหรือเกมส์ที่เราเข้าไปใช้) ข้อมูลมหาศาลเหล่านี้เราเรียกว่า “Big Data” ในด้านธุรกิจการได้ข้อมูลลูกค้าที่มีความต้องการสินค้าและบริการที่ชัดเจนก็เป็นข้อมูลที่มีมูลค่าสูงมาก ในด้านความมั่นคง ด้านการเมือง และด้านอื่น ๆ ก็เช่นกัน ข้อมูลของเราทั้งหลายที่อยู่ใน Servers ต่าง ๆ จึงถูกบันทึก ถูกขายและแลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา  (ตัวอย่างที่ชัดเจนได้แก่ข่าว เฟซบุ๊กอึ้ง ถูกดูดข้อมูลไปใช้ในแคมเปญหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี)

 https://m.mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000027244

 

จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม เราพบข้อความเป็น Pop Up โฆษณา รองเท้ายี่ห้อดังที่เราสนใจจะซื้อหรือมีข้อความบอก ที่พักเชียงใหม่ ราคาถูก ห่างประตูท่าแพ 300 เมตร

ในทำนองเดียวกัน เมื่อการเคลื่อนที่ของ GPS บนมือถือหรือบนรถประเภทต่าง ๆ ก็เกิดข้อมูล Location ที่ถูกบันทึกเช่นกัน หากอุปกรณ์ เครื่องมือที่เป็นระบบ IoT ติดตั้งระบบบอกตำแหน่ง แน่นอนว่าข้อมูลที่เป็น Big Data ส่วนหนึ่งคือตำแหน่งซึ่งจะถูกนำไปใช้ประโยชน์มากมาย

 

ภาค3… Data Analytic :

เมื่อ IoT เป็นการประยุกต์ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ผ่านระบบเครือข่าย Big Data เป็นข้อมูลจำนวนมหาศาลที่หลากหลายรูปแบบและมาจากหลายแหล่งที่มา การใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบเครื่องมือ อุปกรณ์เพื่อประโยชน์ด้านความสะดวกสบาย ความบันเทิงและความสงบจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์พยายามทำ โดยเบื้องต้นมีการนำแนวคิด วิธีการและทฤษฎีพื้นฐานมาใช้ (โดยเฉพาะสถิติพื้นฐานที่เราเรียกว่า Descriptive Statistic) จึงเป็นแนวคิดวิธีการที่เรียกว่า Data Analytic ซึ่งต้องการผู้มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาใช้คัดเลือก จำแนกแยกแยะ จัดกลุ่ม ใช้งานหรือวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่อย่างมหาศาลและหลากหลายรูปแบบให้เกิดประโยชน์และมูลค่า โดยเฉพาะทางธุรกิจ จึงเกิดแนวคิดที่เรียกกันอย่างโก้หรูหลากหลาย เช่น Smart City, Smart Farming, Smart Home และอื่น ๆ

ภาพที่ 4

จากภาพที่ 4 จะแสดงการทำงานของขบวนการทำงานเมื่อเราผ่านห่างสรรพสินค้าและเปิดมือถือแล้วพบข้อความโฆษณาเป็น Pop Up ขึ้นมา ซึ่งจะอธิบายการเกิดและใช้งาน Big Data และ Data Analytic ตั้งแต่การมีข้อมูลมหาศาล (Big Data) จากการนำข้อมูลสินค้าไปเก็บไว้ก่อนแล้ว (1) และการค้นหาข้อมูลสินค้าที่สนใจผ่านมือถือ (2) ซึ่งข้อมูลจะถูกส่งไปรวบรวมและวิเคราะห์ ประมวลผลใน Servers ตลอดเวลา (3) และเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ผู้สนใจสินค้าผ่านมาที่ห้างสรรพสินค้า (4) ซึ่งมีสินค้าที่เคยถูกค้นหาผ่านโปรแกรมบนมือถือ ระบบ Data Analytics จะแสดงผลชักชวนการซื้อสินค้าเป็น Pop Up โฆษณาสินค้าบนมือถือของผู้ที่เคยค้นหาข้อมูลสินค้านั้น ๆ

สำหรับนักภูมิศาสตร์แล้ว ทั้ง IoT, Big Data, Data Analytic ล้วนเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ซึ่งต้องการผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ผู้มีความเชี่ยวชาญ มากำหนดแนวคิดวิธีการ ขั้นตอนการพัฒนาใช้ประโยชน์ หรือที่นักเทคโนโลยีต้องการนำมาพัฒนาเขียนเป็นโปรแกรม หรือที่นักคอมพิวเตอร์มักจะเรียกว่า “Algorithm” ซึ่ง ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ มนุษย์ พื้นที่และเวลา ที่นักเทคโนโลยีต้องการแนวคิดที่เป็น “Algorithm” เพื่อพัฒนาใช้ประโยชน์ (เคยกล่าวไว้ในแนวคิดของนักภูมิศาสตร์สมัยใหม่)

http://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-55-21/2016-02-10-05-57-33/332-geographer5

 

ภาค4… AI (Artificial Intelligence) :

นอกจาก IoT, Big Data, Data Analytic จะกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของเราอย่างมากมายแล้ว ปัจจุบัน AI เข้ามาสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คนมากมาย (เหมือนกับยุคหนึ่งที่ GIS เริ่มเป็นที่รู้จักจนผู้ใหญ่และนักวิชาการในบ้านเมืองต่างยกย่องว่าอยากรู้อะไรอยู่ที่ไหนก็ถามระบบ GIS จะรู้หมด แล้ววันนี้เป็นอย่างไรล่ะครับ)

เขาบอกว่า AI มีหลักการพัฒนาและทำงานคือ มนุษย์สร้าง AI ให้คิดและกระทำอย่างมีเหตุผลเหมือนมนุษย์โดย AI จะเป็นเทคโนโลยีที่ฉลาดสามารถเรียนรู้ได้ด้วยข้อมูลที่ถูกใส่ให้และข้อมูลที่ AI สัมผัส โดย AI จะเรียนรู้และคิดได้ด้วยตัวมันเอง ดังนั้นผู้พัฒนา AI จึงพยายามทำให้ AI มี “Algorithm” ที่เข้าใจในเรื่องที่มนุษย์เป็น คือ

-          AI ต้องเรียนรู้ให้เข้าใจว่ามนุษย์มีขบวนการคิดอย่างไรทั้งการตัดสินใจ การแก้ปัญหา โดยใช้สติปัญญา

-          AI ต้องมีเหตุผลและคิดตามหลัก ตรรกะศาสตร์

-          AI ต้องสื่อสารได้จากการสัมผัสและเคลื่อนไหว

ปัจจุบันตัวอย่างการพัฒนา AI ให้ใกล้เคียงมนุษย์ ได้แก่การพัฒนาหุ่นยนต์ ซึ่งสามารถพูดคุยตอบโต้กับคนได้อย่างชาญฉลาด

https://www.youtube.com/watch?v=VdtMxZ4Ke-k

https://www.youtube.com/watch?v=LVQHDnC37Ic

หรือ โปรแกรมที่พัฒนาโดยระบบ AI ที่สามารถปลอมวิดีโอสุนทรพจน์ของ Barack Obama ได้เหมือนที่สุด

https://spectrum.ieee.org/tech-talk/robotics/artificial-intelligence/ai-creates-fake-obama

 หรือข่าว ไป่ตู้ ลงทุน บ.สมาร์ททีวี ดีง AI รับคำสั่งผู้ชมเป็นต้น

 

 https://m.mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000026738

 

อย่างไรก็ตาม หากศึกษาการพัฒนาโปรแกรม Search Engine เช่น Google ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นข้อมูล เราจะพบว่าเมื่อค้นข้อมูลด้วยข้อความหรือเสียงพูด โปรแกรมจะให้คำตอบต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้หลายคนสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์และตอบสนองได้อย่างตรงตามความต้องการ หลายคนสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้บ้างแต่อาจจะไม่ตรงตามความต้องการนัก แต่ก็มีไม่น้อยที่ได้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เช่น เมื่อต้องการทำอาหารไทยยอดนิยม ต้มยำไก่ หากทำไม่เป็น เราสามารถค้นหาวิธีทำได้ทั่วไปใน Google ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นรายละเอียดวิธีทำ ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงอธิบาย ซึ่งเราสามารถศึกษาและนำไปทำ ต้มยำไก่ ได้ แต่หลายครั้งที่ไม่สามารถทำรสชาติและกลิ่นให้เป็นต้มยำไก่แบบทั่วไปได้  เช่นเดียวกับการที่มนุษย์พยายามใช้นำเอา AI เข้ามาช่วย Q.C. รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ก่อนออกจำหน่าย ซึ่งพบว่าระบบของเครื่องยนต์หลายส่วนยังต้องให้คนเป็นผู้ตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง เช่น  ระบบช่วงล่าง การตั้งศูนย์ของล้อรถเมื่อผ่านการ Q.C. จากระบบ AI แล้ว ค่าของศูนย์ล้อแม้เป็นค่าที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้ว เมื่อนำมาขับเคลื่อนบนพื้นถนนจริง ๆ บางครั้งผู้ขับอาจจะรับรู้ได้ว่าขณะรถวิ่งศูนย์ล้อเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ไม่อยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางแม้จะตรวจสอบลมยางและพื้นถนนแล้วก็ตาม ดังนั้นหลายครั้งที่รถออกใหม่ต้องนำกลับเข้ามาที่ศูนย์รถเพื่อให้มีการตั้งศูนย์ล้อรถใหม่โดยต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และมนุษย์ทำงานตั้งศูนย์ล้อร่วมกัน

นั่นหมายความว่าไม่ว่ากรณี Google ที่ให้ข้อมูลที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ กรณีนำเอา AI เข้ามาช่วย Q.C. รถยนต์ก่อนออกจำหน่าย หรือแม้แต่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GPS ก็อาจจะยังคงความต้องการองค์ความรู้และประสบการณ์หรือกรณีศึกษาที่มีรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งเทคโนโลยีต้องเรียนรู้และพัฒนาผ่านมนุษย์ พื้นที่และเวลาอีกระยะหนึ่ง

https://m.mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000025456

เมื่อกล่าวในหลักการ คือ ด้วยข้อเด่นของ AI ที่มีคือความจำที่มีมหาศาลและการประมวลผลที่รวดเร็ว หากผู้พัฒนาสามารถจินตนาการ “Algorithm” และ Input ข้อมูล ต่อด้วยการให้ AI เรียนรู้ขบวนการทำงานทั้งแบบ Machine Learning หรือแบบใดก็ตาม เมื่อ AI มี “Algorithm” ข้อมูลและกรณีศึกษาใหม่ ๆ อย่างมหาศาลจน AI คิดเองได้เหมือนมนุษย์แล้ว AI จะเป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างมาก อย่างน้อยอาชีพและงานหลาย ๆ อย่าง AI จะเข้ามาทดแทนมนุษย์ โดยเฉพาะงานที่ยุ่งยากซับซ้อน งานที่ต้องทำซ้ำ ๆ งานบริการที่ต้องการมาตรฐานและควบคุมอารมณ์ในการให้บริการ

 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องตระหนัก คือ นอกจากมนุษย์จะเป็นผู้สร้างและพัฒนา AI แล้ว มนุษย์ยังต้องรู้จักเทคโนโลยี (ไม่ใช่เฉพาะ AI) ต้องสามารถวิเคราะห์ คาดการณ์สิ่งที่ควรจะเป็นและควรจะควบคุมเทคโนโลยีที่นำมาใช้ประโยชน์ด้วย (เช่นกรณี   Facebook ปิดระบบ AI ในศูนย์วิจัยของตัวเอง)

https://www.techmoblog.com/facebook-shutdown-ai

สำหรับมุมมองของนักภูมิศาสตร์แล้ว แม้ว่า IoT, Big Data, Data Analytic และ AI จะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างมากมาย จนปัจจุบัน AI เข้ามาแทนที่นักภูมิศาสตร์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (GIS Remote sensing) บ้างแล้ว  อย่างไรก็ตาม เมื่อรู้จักเทคโนโลยี รู้ข้อจำกัดของเทคโนโลยี จะพบว่าศาสตร์ที่เรียกว่า ภูมิศาสตร์” (ศึกษาเรื่องมนุษย์ พื้นที่ และเวลา) เทคโนโลยียังไม่สามารถเข้ามาทดแทนได้ทั้งหมด เนื่องจากเทคโนโลยีไม่สามารถสร้าง มนุษย์ พื้นที่ และเวลาได้ หากนักภูมิศาสตร์ยังศึกษามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ยังศึกษาเรียนรู้ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติผ่านพื้นที่และกาลเวลาแล้ว  Algorithm : Science, Experience, Intelligence ที่เกิดจากการศึกษาและวิจัยของนักภูมิศาสตร์จะยังสร้างอัตลักษณ์ทางอาชีพ และสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือได้ต่อไป

 

 

  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ประเทศไทยเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย ขณะที่ประชากรวัยชราและประชากรวัยเด็กซึ่งเป็นวัยพึ่งพิงต้องการการเลี้ยงดูและดูแลจากวัยแรงงาน ภายใต้สภาวะประชากรวัยเด็ก”ลดลง "วัยชรา"เพิ่มขึ้น "วัยแรงงาน" พร้อมจะเลี้ยงดูและดูแลกันอย่างไร 

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com