เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

การดำเนินการศึกษาใช้สภาพทางกายภาพของที่ตั้งอาคารเป็นเครื่องชี้ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย ใช้ GIS Multi Criteria Modeling Delphi Technique  เป็นเครื่องมือประกอบการศึกษา

เมื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยขาดความรู้พื้นฐานทางด้านพื้นที่แล้ว ข้อมูลพื้นที่ที่ได้จากระบบสารสนเทศจะเชื่อถือได้อย่างไร หากกระจายข้อมูลเหล่านั้นออกไปจะเกิดอะไรขึ้น 

หนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมี Algorithms เกี่ยวข้องกับพื้นที่และเวลา

 เมื่อโปรแกรมแผนที่บนมือถือบอกเส้นทางเพื่อนำทางไปยังที่ต่าง ๆ ได้ ข้อมูลที่น่าสนใจและปรากฏบนเส้นทางคือ สภาพการจราจรที่ถูกแสดงบนเส้นถนนแต่เส้นหรือละช่วง โดยช่วงถนนที่เป็นสีแดงหมายถึงการจราจรติดขัด ช่วงถนนที่เป็นสีส้มหมายถึงมีสภาพการจราจรติดขัดเล็กน้อย หรือช่วงถนนที่เป็นสีฟ้าหมายถึงมีการจราจรคล่องตัว สิ่งที่เป็นข้อสงสัยคือ เป็นไปได้หรือที่บนถนนทุกเส้นทางมีการติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจจับความเร็วรถโดยตลอด

 

จากประสบการณ์การเดินทาง เคยเดินทางในช่วงปีใหม่โดยขับรถจาก อ.เมือง จังหวัดเชียงราย มา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งต้องผ่านป่า เขาและมีเส้นทางเป็นถนนคดเคี้ยว อีกทั้งยังเดินทางในเวลากลางคืนอีกด้วย (ประมาณ 3 ทุ่ม) แน่นอนว่ามีการใช้ GPS จากมือถือนำทางเพื่อดูเส้นทางและสภาพการจราจรมาตลอด ช่วงหนึ่งของการเดินทางมองเห็นข้อมูลบนจอภาพของมือถือพบว่า แผนที่บนมือถือมีเส้นถนนข้างหน้าที่จะขับรถผ่านเป็นสีแดงระยะทางยาว..... (ภาพที่ 1) ซึ่งหมายถึงมีสภาพการจราจรติดขัดและข้อมูลในแผนที่แสดงให้เห็นว่าเส้นทางเป็นถนนคดเคี้ยว อยู่บนเขาและกลางป่า ก็ยังสงสัยว่า ในป่าเขาเวลากลางคืน แผนที่บนมือถือสามารถแสดงสภาพการจราจรให้เราเห็นได้อย่างไร

ภาพที่ 1

และเมื่อขับรถเข้าไปถึงตำแหน่งถนนที่เป็นสีแดงก็พบว่าการจราจรติดขัดจริง ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากถนนที่คดเคี้ยวมีความลาดชันค่อนข้างมากและอยู่กลางป่าเขาในเวลากลางป่าคืนจึงทำให้รถวิ่งได้ช้าและติดขัดเป็นระยะทางยาว ย้ำข้อสังเกตและน่าสงสัยคือ เส้นทางบริเวณนี้อยู่กลางป่าเขา ไม่เป็นทางแยก ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ไม่น่าจะมีการติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจจับความเร็วรถ อีกทั้งยังเป็นเวลากลางคืน ทำไมภาพบนแผนที่ในมือถือเส้นถนนจึงเป็นสีแดงได้

หากได้อ่านบทความตอนที่ 1 (“ตำแหน่งมือถือปรากฏซ้อนทับบนแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียมได้อย่างไรhttp://www.geo2gis.com/index.php/geography/gis-2/338-itc-geo-1) และบทความตอนที่ 2 (ทำไมโปรแกรมแผนที่บนมือถือจึงบอกเส้นทางรถเพื่อนำทางเราได้http://www.geo2gis.com/index.php/geography/gis-2/339-itc-geo-2 )แล้ว  หลายคนอาจจะคาดการณ์ได้ว่า ทำไมโปรแกรมแผนที่บนมือถือจึงบอกสภาพการจราจรเราได้ เราลองมาศึกษาวิธีการทำงานของขบวนการดังกล่าวกัน

ในตอนที่ 1 สิ่งที่น่าสังเกตคือ ทุกคนที่ใช้แผนที่ ภาพถ่ายจากดาวเทียม และใช้ GPS บอกตำแหน่งบนแผนที่ในมือถือต้องลงทะเบียนกับผู้ให้บริการแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียมซึ่งเป็นเงื่อนไขให้ยอมรับกฎระเบียบที่ผู้ให้บริการแผนที่กำหนดไว้ ต่อมาเมื่อ GPS ที่รถหรือที่มือถือส่งสัญญาณไปยังดาวเทียม GPS ข้อมูลพิกัดตำแหน่งของรถที่ได้จากการคำนวณจะถูกส่งกลับมาแสดงตำแหน่งบนหน้าจอพร้อมแผนที่ แต่ข้อมูลส่วนหนึ่งจะถูกบันทึกผลไว้ที่ Servers (เป็น Temporary Files) โดย Servers ที่มีพิกัดตำแหน่งของรถจะมีโปรแกรมรายงานสภาพการจราจรด้วย ขณะเดียวกันนั้น รถคันอื่น ๆ ที่ใช้ GPS นำทางก็ส่งข้อมูลพิกัดตำแหน่งของรถไปที่ Servers ที่มีโปรแกรมรายงานสภาพการจราจรด้วยเช่นกัน

 

นั่นหมายความว่า เมื่อปรากฏการณ์พิกัดตำแหน่งของรถหลาย ๆ คันมีค่าพิกัดตำแหน่งบนแนวถนนอยู่ใกล้ ๆ กันในช่วงของเวลาเดียวกัน แสดงว่ารถเหล่านั้นกำลังวิ่งต่อเชื่อมเป็นแนวเดียวกันด้วยความเร็วและตำแหน่งใกล้เคียงกัน และหากความเร็วของรถเหล่านั้น (การคำนวณความเร็วกล่าวไว้ในตอนที่ 2) อยู่ในช่วงระดับที่กำหนด และพิกัดตำแหน่งของรถที่เรียงต่อเชื่อมมีระยะทางยาวตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในโปรแกรมฯ โปรแกรมฯ ก็จะประมวลผลแล้วแสดงข้อมูลเป็นสัญลักษณ์สีแดง สีส้ม หรือสีฟ้าตามความหมายมาตรฐานของสภาพการจราจร.... (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 2

ทั้งนี้ในความเป็นจริงแล้วในโลกของเทคโนโลยีและโลกเสมือน เราไม่สามารถรู้ได้   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวันหลาย ๆ รูปแบบจะมีข้อมูล โปรแกรมและ Servers ติดตั้งอยู่ที่ใดบ้างบนโลก แต่ที่แน่ ๆ คือ ข้อมูลและโปนแกรมใน Servers เหล่านั้นมีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนและประมวลผลข้อมูลอยู่ตลอดเวลา... (ภาพที่ 3)

 

 

ภาพที่ 3

และนี่คือหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีขบวนการ ขั้นตอน วิธีคิด การประมวลและคำนวณผลในเชิงพื้นที่และเวลา (ภาษาโปรแกรมมักจะเรียกว่า Algorithms) ที่นักภูมิศาสตร์หรือศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องของมนุษย์ในเชิงพื้นที่และเวลาควรให้ความสนใจ

 

  • การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

    Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com