เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

 


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

เอกสารการนำเสนอประกอบการสอนวิชา “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแค่แนวคิดและเทคโนโลยี บางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย

หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วนักวิชาการพยายามนิยาม ระบบ GIS” เป็น 3 แนวทางตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่

ระบบ GIS ความหมายหลากหลายมุมมอง

1.       ระบบ GIS ในฐานะเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในกระบวนการรวบรวม จัดเก็บ เรียกใช้งาน ถ่ายโอนข้อมูล วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลปรากฏการณ์ทางพื้นที่บนโลกโดยอ้างอิงพิกัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์

2.  ระบบ GIS ในฐานะฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ที่อ้างอิงเกี่ยวข้องกับพิกัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ซึ่งนำมาเข้าสู่ขบวนการจัดเก็บและ จัดการเพื่อการค้นหาและตอบคำถามที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางพื้นที่

 

3. ระบบ GIS ในฐานะระบบที่สนับสนุนการบริหารจัดการองค์กร โดยการนำข้อมูลที่อ้างอิงพิกัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์มาผสมผสานวิเคราะห์ตามหลักการของศาสตร์แต่ละสาขาเพื่อแก้ปัญหาตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรนั้นๆ

 

โดยความจริงแล้วความหลากหลายของนิยามเป็นเพียงเครื่องชี้ลักษณะเฉพาะของระบบ GIS ว่าต้องเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, ฐานข้อมูล

ปรากฏการณ์ทางพื้นที่ที่อ้างอิงพิกัดทางภูมิศาสตร์ และระบบที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาตามบทบาทหน้าที่องค์กร

  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

    รายละเอียด

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com