นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำมีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ

    After the earth's crust uplifts, erosion processes occur, developing into three age stages.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ถูกบรรจุเนื้อหาไว้ในวิชาเรียนในระดับมัธยมศึกษา

    อ่านเพิ่มเติม...
  • บทสรุป : ภูมิศาสตร์ศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนภารกิจช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เพื่อไม่ให้เนื้อหาที่เตรียมไปบรรยายประกอบการเรียน การสอนวิชา 154108 เสียของ จึงขอนำเอามาเขียนไว้ใน www.GEO2GIS.com โดยจะแบ่งเป็น 5 ตอน

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

GIS เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ เครื่องมือก็จะถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า การใช้งาน GIS ก็จะทำได้เพียงเพื่อตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน เท่าไร สถาบันการศึกษาที่นำระบบ GIS ไปประกอบการสอนควรตระหนักว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแต่ ศาสตร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

แท้จริง GIS ก็เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ ก็แทบจะทำอะไรได้ไม่มากไปกว่า การใช้ GIS เป็นเครื่องมือเพื่อตอบคำถามว่า อะไร อยู่ที่ไหน ยิ่งในปัจจุบัน การเข้าถึงข้อมูลโดยการเรียกดูแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพ 3 มิติ หรือภาพจริงด้วย Google Earth, Google Map, Bring Map และอื่น ๆ ผ่านระบบ Internet ก็สามารถตอบดังกล่าวได้อย่างชัดเจน

หากถามว่าเมื่อเข้าใจในศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่แล้วจะสามารถใช้  GIS เป็นเครื่องมือตอบคำถามอะไรได้มากกว่านั้นบ้าง ตัวอย่างมากมายที่ประยุกต์ใช้ GIS เพื่อวิเคราะห์เชิงพื้นที่และตอบคำถามได้ตั้งแต่คำถามพื้นฐานจนถึงคำถามที่ซับซ้อน เช่น

-    การใช้ GIS ค้นหาที่ตั้งหรือตำแหน่งที่ต้องการ เช่น การตั้งคำถามพื้นฐานว่า โรงเรียนวัดมะกอกอยู่ที่ไหน

-     การใช้ GIS ถามคำถามที่มีเงื่อนไขมากขึ้น เช่น โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง

-     การใช้ GIS ถามเกี่ยวกับการเดินทางไม่ว่าจะเป็นระยะทางที่สั้นที่สุด เวลาที่ใช้เดินทางน้อยที่สุด หรือ เส้นทางที่ใช้เวลาน้อยที่สุดโดยไม่ต้องใช้ทางด่วน

-     การใช้ GIS วิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มหรือการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดในพื้นที่ด้วยเงื่อนไข ตัวแปรที่ชัดเจน เช่น มวลน้ำ 20000 ล้านลูกบาศก์เมตร จากนครสวรรค์จะไหลมาถึงกรุงเทพมหานครภายในกี่ชั่วโมง และจะส่งผลกระทบให้เกิดน้ำทั่วครอบคลุมพื้นที่เท่าไร 

คำถามและสิ่งที่น่าสนใจข้างต้นเป็นการนำเอา GIS ไปประยุกต์ใช้งานที่น่าจะได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องและหลากหลายภายใต้กรอบแนวคิดของศาสตร์สาขาต่างๆ โดยเฉพาะศาสตร์ที่เป็นรากฐานการศึกษาทางพื้นที่โดยตรงคือ ภูมิศาสตร์

เป็นที่น่าเสียดายว่า ในปัจจุบันการเรียนสอนและการศึกษาวิจัยในบ้างสาขาที่มีการนำ GIS ไปเป็นเครื่องมือนั้น ผู้สอนและผู้เรียนหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากกว่าแนวคิดของศาสตร์ ทำให้การศึกษาวิจัยมีแนวคิดที่ซ้ำ ๆ เพียงแต่เปลี่ยนพื้นที่ศึกษาไม่สามารถดำเนินการได้หลากหลายและต่อเนื่อง มุ่งเน้นเพียงการใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก ทำให้ความแตกฉานในเนื้อหาวิชาจึงลดลง ผู้ศึกษามีเพียงความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี

ที่น่าตกใจคือ หลายสถาบันการศึกษาลืมไปว่า GIS เป็นเทคโนโลยี ไม่ใช่ "ศาสตร์"มีการนำระบบ GIS ไปเป็นเนื้อหาวิชาหลักที่ใช้สอนและให้ความสำคัญ จนยอมเปลี่ยนชื่อหรือตั้งสาขาวิชาเป็นชื่อ GIS โดยตรง และสิ่งที่ตามมาและต้องระวังในอนาคต คือ ศิษย์ของสถาบันที่จบในสาขานี้มีความเสี่ยงที่จะมี องค์ความรู้ที่ล้าสมัย (obsolete)ในอนาคตเพราะเป็นความรู้ด้านเทคโนโลยี (ไม่ใช่ ศาสตร์)ซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อศิษย์สถาบันเหล่านี้จบการศึกษาไปแล้วและยังหางานทำไม่ได้ในระยะ 3-5 ปี เขาจะเป็น บัณฑิต obsolete

หน่วยงานที่นำเอาระบบ GIS ไปใช้งาน เมื่อรับบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเข้าไปทำงาน การพัฒนาระบบ GIS เพื่อใช้งานสามารถทำได้ระยะหนึ่งเท่านั้น เพราะการขาดความรู้ด้านการประยุกต์ใช้งานเชิงพื้นที่ ทำให้ใช้งานระบบ GIS ได้เพียงการตอบคำถามพื้นฐานไม่ต่างอะไรกับการใช้ Google Map ผ่านระบบ Internet การลงทุนพัฒนาระบบงานด้านเทคโนโลยี GIS จึงไม่เสี่ยงที่จะใช้งานไม่คุ้มค่า สุดท้ายก็จะเหลือไว้เพียง "ขยะคอมพิวเตอร์ (Hardware Software Data Information เก่า ๆ)" ในขณะที่ยังคงต้องจ่ายเงินค่าดูแลระบบเดิมอย่างต่อเนื่อง

ควรตระหนักว่า GIS เป็นเพียงเครื่องมือ หากไม่รู้และไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าไม่รู้จัก "ศาสตร์" ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีแล้วนี้ เครื่องมือก็จะถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า ระบบ GIS เป็นเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแต่ ศาสตร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    อ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติ เรื่องง่าย ๆ เด็กก็เข้าใจได้...สไตล์อณุศร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     

  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
  • แนวคิดการนำระบบ GIS ประยุกต์ใช้งานในภารกิจที่รับผิดชอบ เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจถึงวิธีคิดในการประยุกต์ใช้ระบบ GIS สำหรับงานในภารกิจที่รับผิดชอบ โดยยกตัวอย่างการออกแบบและขบวนประยุกต์ใช้งานทุกขั้นตอน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากจะขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแค่แนวคิดและเทคโนโลยี บางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้349
เมื่อวานนี้569
สัปดาห์นี้2427
เดือนนี้1388
ทั้งหมด1200570
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 4

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com