ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 

หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

การสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยใช้แผนที่เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล

Improving map data in geographic information systems with field data surveys using maps. We need consideration to determine the type of data feature.

เมื่อนำหลักการพื้นฐานของ Network Analysis มาเป็นโปรแกรมการวิเคราะห์เส้นทาง มือถือจึงแนะนำเส้นทางเพื่อการทางเราได้

GIS : หลักการและการสร้างแผนที่ภูมิศาสตร์เบื้องต้น การใช้งานโปรแกรม ArcView 3.2 เบื้องต้น เนื้อหา การใช้งานโปรแกรม ArcView 3.2 เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลทั้งในรูปฐานข้อมูล แผนภูมิ และแผนที่  โดยสอนฝึกปฏิบัติกับโปรแกรมและข้อมูลจริง

สารบัญ

เปรียบเทียบประชากรวัยสูงอายุ 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยสูงอายุแต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนผู้สูงอายุเป็น 5 กลุ่ม และนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 (รูปที่ 7) พบว่า

จำนวนผู้สูงอายุในหลายจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถ้าพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2556 กับปี  2565 พบว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีหลายจังหวัดที่จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน มีเพียงภาคใต้เท่านั้นที่จำนวนผู้สูงอายุยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด 

 

เมื่อนำจำนวนประชากรวัยสูงอายุมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ และนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบ 3 ปี เช่นเดิม(รูปที่ 8) จากข้อมูลพบว่า

ปี พ.ศ. 2556 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 9 - 19 % และจากรูปที่ 6 จังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดจะเกาะกลุ่มโดยปรากฏอยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก

ปี พ.ศ. 2560 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 10 - 21 % และจากรูปที่ 6 พบว่าจังหวัดที่ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรมากกว่า 15 จะกระจายครอบคลุมภาคเหนือ ภาคกลางและขยายไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกลุ่มจังหวัดที่เด่นชัดจะมีค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรมากกว่า 20 ซึ่งอยู่ในภาคเหนือ คือ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่

ปี พ.ศ. 2565 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 12 - 26 % โดยกระจายครอบคลุมทุกภาคและพบว่ามีถึง 4 จังหวัด (ลำปาง ลำพูน แพร่ สิงห์บุรี) ที่มีจำนวนประชากรวัยสูงอายุประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด (มากกว่า 25 %) และ มี 19 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยสูงอายุมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด (มากกว่า 20 %)

ถ้าเปรียบเทียบค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดระหว่างปี พ.ศ. 2556 กับ 2565 โดยพิจารณาจากรูปที่ 8 จะพบว่าจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเกือบทุกจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดในภาคเหนือต่อเนื่องลงมาถึงภาคกลางและภาคตะวันตก

โดยจากรูปที่ 8 พบว่ามีจังหวัดที่ร้อยละของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดมีการเปลี่ยนแปลงน้อยในช่วงปี พ.ศ. 2556 – 2565 ซึ่งปรากฏโดดเด่น ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก ชลบุรี ระยอง กระบี่ ภูเก็ต สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อย่างไรก็ตามพบว่าสัดส่วนของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทุกจังหวัดและทุก ๆ ปี ซึ่งสังเกตุได้ จากรูปที่ 9 แผนภูมิเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565

 

 

 

เปรียบเทียบประชากรวัยพึ่งพิง 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรของประเทศไทยโดยนับเอาจำนวนประชากรวัยเด็กรวมกับจำนวนประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิงแบ่งกลุ่มตามจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงเป็น 5 กลุ่ม แล้วนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 (รูปที่ 10)

ในปี 2556 เมื่อพิจารณาจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงรายจังหวัดพบว่า ส่วนใหญ่จะมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงไม่เกิน 500,000 คน มีเพียง 6 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คน ขณะที่จำนวนประชากรวัยพึงพิง 700,000 – 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือจังหวัดนครราชสีมา และจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงถึง 1,722,579 คน

ในปี 2560 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คนมีเพิ่มขึ้นอีก 1 จังหวัดเป็น 7 จังหวัด ขณะที่จำนวนประชากรวัยพึงพิง 700,000 – 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือจังหวัดนครราชสีมา และจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงถึง 1,802,878 คน

 

ในปี 2565 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คนมีเพิ่มขึ้นเป็น 10 จังหวัด โดยมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา (ประชากรวัยพึงพิง 906,139 คน) และ กรุงเทพมหานคร (ประชากรวัยพึงพิง 1,862,605 คน)

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ(รูปที่ 11) จะพบว่า

ในปี 2556 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % ในขณะที่มี 3 จังหวัดในภาคเหนือ(เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา) 2 จังหวัดในภาคกลาง(ปทุมธานี สมุทรปราการ) และ 1 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อุดรธานี) ที่ร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % ส่วนจังหวัดที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 35 % จะพบใน 4 จังหวัดในภาคใต้(สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) เท่านั้น

          ในปี 2560 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % โดยจังหวัดเดิมที่ปี 2556 มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % กลับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในช่วง 30-35 % และมี 4 จังหวัดในภาคกลาง(อุทัยธานี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง) ที่เดิมค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % เพิ่มขึ้นมาเป็นมากกว่า 35 % ในขณะที่มี 2 จังหวัด(แม่ฮ่องสอนและตาก) ที่เดิมค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดที่เดิมอยู่ในช่วง 30-35 % กลับลดลงมาน้อยกว่า 30 %

          ในปี 2565 พบว่ามีเพียงจังหวัดตากเท่านั้นที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % และถ้าพิจารณาข้อมูลในแผนที่จะพบว่าจังหวัดที่มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 35 % จะโดดเด่นและเกาะกลุ่มกันตั้งแต่จังหวัดในภาคเหนือตอนบนเชื่อมมาถึงภาคกลางและติดต่อมาถึงจังหวัดทางด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นก็จะปรากฏโดดเด่นและเกาะกลุ่มกันในจังหวัดทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส

เมื่อพิจารณาค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดทุกจังหวัดจากรูปที่ 12 แผนภูมิเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ปี 2556 2560 2565 จะพบว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไปเกือบทุกจังหวัดสัดส่วนของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อประชากรทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีเพียง 3 จังหวัด(ตาก แม่ฮ่องสอน ภูเก็ต) ที่อาจจะมีโอกาสที่สัดส่วนของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อประชากรทั้งหมดจะลดลง

ดังนั้นอาจจะพิจารณาโดยรวมได้ว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไปจำนวนประชากรวัยพึงพิงจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกจังหวัด รวมทั้งสัดส่วนจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดเกือบทุกจังหวัดก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 

 


  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    อ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติ เรื่องง่าย ๆ เด็กก็เข้าใจได้...สไตล์อณุศร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • IoT (Internet Of Thing), Big Data, Data Analytic และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแค่แนวคิดและเทคโนโลยี บางครั้งเป็นความลับ บางครั้งสามารถค้นหา เรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com