เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)


ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

 

การนำข้อมูลในระบบ GIS ที่เป็น Attribute data มาแสดงผลให้เห็นเป็นภาพในแผนที่ สามารถแสดงได้ 4 รูปแบบ คือ

ผลงานทางวิชาการเสนอเป็นผลงานในการปรับระดับการดำรงตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 6 เป็นเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 7ว. ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

สารบัญ

เปรียบเทียบอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ 3 ปี

ข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เมื่อนำมาเชื่อมเป็นแผนที่แสดงจำนวนประชากรของประเทศไทยโดยนับเอาจำนวนประชากรวัยเด็กรวมกับจำนวนประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิงแล้วนำมาเปรียบเทียบกับประชากรวัยแรงงาน โดยคำนวณเป็นค่าอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ พบว่า ปี พ.ศ. 2556 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 48 (มีกลุ่มคนในวัยที่ต้องพึ่งพิง 48 คน ในทุก ๆ กลุ่มคนวัยทำงาน 100 คน)  ปี พ.ศ. 2560 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 50 และกลางปี พ.ศ. 2565 (เดือน มิถุนายน) อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53  ซึ่งจะพบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2556-2560 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มขึ้น 2 ในขณะที่ช่วงปี พ.ศ. 2560-2565 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มขึ้นถึง 3 

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุแต่ละจังหวัด(รูปที่ 13) จะพบว่า ในปี 2556 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุน้อยกว่า 50 ส่วนจังหวัดที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 50 และเกาะกลุ่มโดดเด่นจะเป็นจังหวัดในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไปจนถึงจังหวัดใต้สุดของประเทศไทย โดยมี 2 จังหวัดคือจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 60

ในปี 2560 พบว่าหลายจังหวัดที่ในปี 2556 มีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุน้อยกว่า 50 มีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มมาอยู่ในช่วง 50-60 แต่จังหวัดที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 60 ยังคงเป็นจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาเช่นเดิม

ในปี 2565 พบว่าในภาพรวมทุกจังหวัดมีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุอยู่ในช่วงเดียวกับปี 2560 คือ อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุอยู่ในช่วง 50-60 และมีจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 60

จากรูปที่ 14 แผนภูมิเปรียบเทียบอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุแต่ละจังหวัด ปี 2556 2560 2565 พบว่า ในปี 2565 เกือบทุกจังหวัดอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะสูงขึ้น มีเพียง 4 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และภูเก็ตเท่านั้นที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุลดลง

หากพิจารณาสัดส่วนของประชากรวัยพึ่งพิงต่อประชากรทั้งหมด โดยนำเอาแผนภูมิค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมาเปรียบเทียบกับแผนภูมิค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมด (รูปที่ 15) จะพบว่าแต่ละจังหวัดค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดจะลดลงทุก ๆ ปี ในขณะที่ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดกลับเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน แสดงว่าอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดนั้นเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก เมื่ออัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มขึ้นทุกปี พิจารณาดี ๆ ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากขึ้น....จะทำอย่างไร...หรือจะให้เป็นภาระของ AI

 

 


  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ากมอง GIS ในฐานะเครื่องมือแล้ว GIS จะประกอบด้วย Hardware Software Data Information Network Application และ Peopleware หากแต่ผลผลิตของ GIS คือสารสนเทศ (Information) ซึ่งลักษณะเด่นคือ สารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information)

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com