สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • จากบทความ พระราชดำรัสสมเด็จพระราชินี "แผนที่" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ใน www.posttoday.com เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559 บางส่วน

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผลงานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้องและเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

 เมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น กรอบการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว เชียงใหม่ ในฐานะนักวิชาการอิสระ ในวันนั้นได้มีโอกาสได้นำความรู้ในวิชาการด้านภูมิศาสตร์และมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศไปเสนอความเห็นต่อที่ประชุมหลายประเด็น แต่มีข้อคิดเห็นหนึ่งที่คิดว่าจำเป็นต้องนำมาเขียนขยายความเพื่อสร้างความเข้าใจให้รับรู้ทั่วกัน คือ ข้อมูลการวัดระยะและวัดพื้นที่จากระบบของ Google Earth” ซึ่งมีการพัฒนาระบบสารสนเทศต่อยอดเพื่อใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth

จะพบว่ามีระบบสารสนเทศหลายระบบที่มี Function การวัดระยะและวัดพื้นที่จากภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth เช่นเดียวกับระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน กำลังจะพัฒนาใช้ Function เพื่อวัดระยะเส้นทางเข้าถึงพื้นที่ทิ้งขยะ รวมทั้งวัดพื้นที่ทิ้งขยะและนำข้อมูลไปประมาณการในการคำนวณการขนถ่ายและกำจัดขยะ สิ่งที่ต้องบอกย้ำเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่อง การวัดระยะและวัดพื้นที่จากข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google” เนื่องจากผู้ใช้ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่ประกอบไปด้วย หน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะส่วนท้องถิ่นที่เป็น อบต. อบจ. ทั้งหลายล้วนมีความเสี่ยงที่จะนำเอาข้อมูลการคำนวณระยะทางและพื้นที่จากระบบฯ ไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ เช่น นำข้อมูลระยะทางและพื้นที่ไปใช้สำหรับงานการจัดเก็บภาษี จัดเก็บค่าธรรมเนียม จัดสรรงบประมาณการก่อสร้างซ่อมแซม เป็นต้น หากไม่ทราบว่าการคำนวณระยะทางและพื้นที่จากระบบคอมพิวเตอร์มีความถูกต้องในระดับใดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการบริหารงาน และการบริการประชาชนโดยตรง

เมื่ออธิบายความคลาดเคลื่อนของการวัดระยะและพื้นที่จากภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth ให้ชัดเจนแล้ว พบว่า ความผิดพลาดทางการวัดระยะและพื้นที่สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลักดังนี้

1.      ความละเอียด (Resolution) ของภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth

โดยปกติภาพถ่ายจากดาวทียมของ Google Earth ที่พบว่ามีความละเอียดของภาพ (Resolution) และต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อนำมาใช้ในทางธุรกิจ จะมีความละเอียดของภาพ (Resolution) ถึง 60 เซนติเมตร ซึ่งหมายความว่า 1 pixel จะมีขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ 60 x 60 เซนติเมตร แต่ที่พบและมีการนำมาใช้ทั่วไป(ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการนำมาใช้) จะมีความละเอียดของภาพ (Resolution) เป็นหลักเมตร หรือบางพื้นที่อาจจะมีความละเอียดของภาพ (Resolution) ถึง 15 เมตร หมายความว่า 1 pixel จะมีขนาดกว้าง x ยาว มากกว่า 15 x 15 เมตร แน่นอนว่าเมื่อต้องวัดระยะโดยการลากเส้นไปบนภาพถ่ายจากดาวเทียมที่มีความละเอียดไม่มาก เช่น ความละเอียด 2 เมตร เมื่อกำหนดจุดเริ่มต้นของการวัดระยะไปที่ตำแหน่ง pixel แรกเราอาจอยู่ที่ตำแหน่ง 0,0 หรือตำแหน่ง 2,2 เมตรของ pixel แรกก็ได้  หมายความว่า ตำแหน่งแรกของการวัดระยะอาจจะคลาดเคลื่อนได้เกือบ 2 เมตร เช่นเดียวกับทุกๆตำแหน่งที่ลากเส้นผ่านแต่ละ Pixel ไปจนถึงตำแหน่งสุดท้าย เราอาจจะได้ระยะทางคลาดเคลื่อนไปจากระยะจริงมาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเมืองที่ภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth จะมีความละเอียดของภาพ (Resolution) หลายเมตร ข้อมูลที่ได้จากการวัดระยะและพื้นที่จะคลาดเคลื่อนมากมาย

 

 ๒.      ความเอียงของกล้องถ่ายภาพ

เมื่อกล้องถ่ายภาพมีความเอียง ภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ได้จะมีความเอียงด้วย หากถ่ายพื้นผิวโลกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้ว ภาพที่ได้จากกล้องที่เอียงพื้นที่เดียวกันจะกลายเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู ดังนั้นการวัดระยะทางและพื้นที่ก็จะคลาดเคลื่อนไปด้วย

 

 

๓.      ความลาดเอียงของภูมิประเทศ

หากมีการวัดพื้นที่ที่บนภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ถ่ายภูมิประเทศที่ต่างกัน คือ ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบกับภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดเอียง โดยมีการวัดบนภาพถ่ายด้วยระยะทางหรือขนาดพื้นที่ที่เท่ากัน ข้อเท็จจริงจะพบว่า ระยะทางและขนาดพื้นที่ที่ถูกต้องบนภูมิประเทศที่มีความลาดเอียงจะมากกว่าภูมิประเทศที่เป็นที่ราบ

 

 

๔.      ความคลาดเคลื่อนจากมนุษย์

การวัดระยะทางหรือพื้นที่ด้วยโปรแกรมในระบบสารสนเทศนั้นจะมีข้อจำกัดที่การขยายภาพบนจอภาพและการกำหนดจุดต่างๆ ของการวัด ซึ่งแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน ดังนั้นความคลาดเคลื่อนมักจะเกิดขึ้นได้เสมอ

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข้อสงสัยในความแม่นยำจึงทดลองวัดระยะทางในพื้นที่จริงเทียบกับการวัดด้วยเครื่องมือจากโปรแกรมและข้อมูลของ Google Earth บริเวณพื้นที่หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า เมื่อนำเทปวัดระยะไปวัดระยะเส้นทางหนึ่งซึ่งวัดได้ระยะได้ประมาณ 48 เมตร

 

การวัดระยะที่ภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google Earth ซ้ำๆ กันโดยพยายามขยายภาพให้ชัดเจนหลายๆครั้ง หลายๆ มุม ซึ่งระยะที่วัดได้จะแตกต่างกันไป เช่น 47.52 เมตร 47.45 เมตร 47.02 เมตร 46.74 เมตร และ 45.33 เมตร เป็นต้น

 

ข้อสังเกตที่ต้องตระหนัก คือ เมื่อต้องพัฒนาระบบสารสนเทศซึ่งจะต้องมีนักวิชาการคอมพิวเตอร์และนักวิชาการเฉพาะด้านสารสนเทศนั้นๆแล้ว หากต้องพัฒนาและใช้ Function งานเชิงพื้นที่หรืองานด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ควรต้องมีนักวิชาการด้านภูมิศาสตร์ที่เข้าใจข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยเสมอ และหากพิจารณาว่าเครื่องมือที่ใช้วัดระยะและพื้นที่จากภาพถ่ายจากดาวเทียม Google Earth เป็นเครื่องมือที่สะดวกและหาได้ง่ายที่สุดแล้ว สิ่งที่ต้องตระหนัก คือ ต้องเข้าใจและมีความรู้เรื่อง ที่มาของภาพถ่ายจากดาวเทียม Google Earth และผลกระทบของข้อมูลที่ได้จากการวัดระยะและพื้นที่เมื่อนำไปใช้งาน

 

หมายเหตุ ประเด็น การวัดระยะและวัดพื้นที่จากข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียมของ Google” ในระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ผู้จัดการประชุมพิจารณาว่าจะเขียนข้อความอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจไว้ในระบบฯ

ขอขอบคุณภาพจาก Google Earth

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วนักวิชาการพยายามนิยาม ระบบ GIS” เป็น 3 แนวทางตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลงานทางวิชาการเสนอเป็นผลงานในการปรับระดับการดำรงตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 6 เป็นเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 7ว. ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้356
เมื่อวานนี้569
สัปดาห์นี้2434
เดือนนี้1395
ทั้งหมด1200577
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 7

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com