อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

    The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ถูกบรรจุเนื้อหาไว้ในวิชาเรียนในระดับมัธยมศึกษา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System for Administration)” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาเกี่ยวกับ การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    นักภูมิศาสตร์ควรเรียนรู้และศึกษาภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในพื้นที่โดยมุ่งเน้นศึกษาศึกษาเกี่ยวกับโลกในมิติของพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

สารบัญ

มนุษย์จดจำความรู้และสภาพแวดล้อมแล้วนำมาถ่ายทอดเล่าสู่กันฟัง ซึ่งเราได้รู้จักและเรียกกันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map) แล้วนั้น การที่แผนที่ในใจของแต่ละคนไม่เหมือนกันนั้น การพยายามหาเครื่องมือสื่อสารที่เป็นรูปแบบแตกต่างกันไปตั้งแต่รูปแบบง่ายๆ ไปจนรูปแบบซับซ้อนยุ่งยาก เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาทางคณิตศาสตร์

สำหรับภาษาที่ใช้สื่อสารปรากฏการณ์บนพื้นโลก มนุษย์สื่อสารด้วย ภาษาภาพ หลากหลายรูปแบบ ได้แก่

  •          รูปภาพ (Image) เป็นภาษาภาพที่เกิดจากการวาดหรือเขียนแสดง ขนาด ที่ตั้ง รูปร่าง สีสัน แสงเงา โดยพยายามย่อส่วนให้มีลักษณะเหมือนของจริง โดยปัจจุบันมนุษย์พยายามวาด เขียน หรือจัดทำรูปภาพให้มีลักษณะเป็น 3 มิติเพื่อให้ผู้รับสื่อสามารถเข้าใจใกล้เคียงกับปรากฏการณ์จริง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งที่สุด

  •         หุ่นจำลอง (Physical Model) เป็นการจัดทำปรากฏการณ์บนพื้นพิภพให้มีลักษณะเป็น 3 มิติ โดยย่อส่วนปรากฏการณ์ลงมาเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม โดยหุ่นหรือแบบจำลองอาจจะทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกันไป เช่น โลหะ ปูน พลาสติก โฟม ดินน้ำมัน ดินเหนียว ทราย หรืออื่น ๆ


  •        แบบจำลองเสมือน เป็นการจัดทำปรากฏการณ์บนพื้นพิภพให้มีลักษณะเป็น 3 มิติคล้ายหุ่นจำลอง แต่แบบจำลองเสมือนจะมีการย่อส่วนพื้นที่เป็นหลัก ส่วนปรากฏการณ์ต่างๆ อาจจะใช้วัสดุสมมุติหรือการขีดเขียนลงบนพื้นที่เท่านั้น เราอาจจะเคยพบเห็นแบบจำลองเสมือนได้ในภาพยนตร์สู้รบที่มีการวางแผนบุกโจมตี เช่นมีการนำก้อนอิฐมาแทนกองทัพ กิ่งไม้มาแทนแนวเขา ขีดเส้นแทนถนน ทางน้ำ ฯลฯ ซึ่งแบบจำลองเสมือนถือว่าไม่มีรูปแบบชัดเจนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมขณะนั้น

  •         ภาพถ่าย  เป็นการใช้เทคโนโลยีเก็บข้อมูลพื้นที่ในลักษณะของรูปภาพที่เกิดจากแสงเงา ภาพถ่ายจะมีลักษณะเหมือนของจริงที่ย่อส่วนบนแผ่นวัสดุแผ่นราบโดยจะแสดงปรากฏการณ์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งจะมีทั้งที่เป็นภาพถ่ายสี ขาวดำ หรือสีที่ถูกตกแต่งเพื่อบอกความรู้สึกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สีซีเปีย สีโทนเย็น สีโทนร้อน เป็นต้น

 

สำหรับนักภูมิศาสตร์ซึ่งศึกษาปรากฏการณ์บนพื้นพิภพในเชิงพื้นที่ได้ประยุกต์เอา ภาษาภาพ มาแสดงปรากฏการณ์บนผิวโลกให้สามารถมองเห็น จับต้อง วิเคราะห์แปลความได้โดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนปรากฏการณ์และเรียกว่า Cartographic Map ซึ่งประกอบด้วย

1.      ๑. แผนที่ลายเส้น (Line Map หรือ Sketch Map) จะใช้สัญลักษณ์ รูปภาพ ลายเส้นทั้งที่เป็น จุด เส้น และพื้นที่ แทนปรากฏการณ์บนพื้นที่ โดยสัญลักษณ์อาจจะเป็น รูปเหมือน รูปทรงเรขาคณิต หรือภาพถ่าย ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้เหมาะสม

 

 


 

          ๒. แผนผังหรือแผนผังบริเวณ (Layout Plan) มีลักษณะคล้ายแผนที่ลายเส้น จะใช้สัญลักษณ์ รูปภาพ ลายเส้น แทนปรากฏการณ์บนพื้นที่เหมือนกัน แต่จะเป็นแบบที่เขียนย่อสัดส่วน ว่าอยู่ในตำแหน่งใด แผนผังบริเวณมักแสดงปรากฏการณ์ในพื้นที่ที่ไม่กว้างขวางมากโดยอาจจะมีการย่อ-ขยายสัดส่วนเพื่อเน้นหรือลดปรากฏการณ์บนพื้นที่ให้สื่อสารได้ชัดเจน เช่น แผนผังประกอบการโฆษณาขายที่ตั้งหมู่บ้าน

 



       3. หุ่นจำลองภูมิประเทศ (Topographic Model) เป็นการย่อส่วนภูมิประเทศที่ในแนวตั้งและแนวนอนแสดงให้เห็นเป็น 3 มิติ สามารถจับต้องปรับทิศทางได้ทำให้สามารถสื่อสารได้ใกล้เคียงภูมิประเทศจริงที่สุด ทั้งนี้ยังสามารถแสดงปรากฏการณ์อื่น ๆ ทั้งที่เป็น 2 มิติหรือ 3 มิติ ซ้อนทับลงบนหุ่นจำลองภูมิประเทศได้อีกด้วย

       4.    แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) เป็นแผนที่ที่นำภาพถ่ายมาเป็นพื้นหลัก โดยภาพถ่ายนั้นๆ จะถ่ายจากที่สูงลงมาบนพื้นโลก อาจจะถ่ายทางอากาศหรืออวกาศลงมา ทำให้เห็นภาพปรากฏการณ์บนพื้นโลก อย่างไรก็ตามเนื่องจากถ่ายจากที่สูง ภาพที่ได้อาจจะมีรายละเอียดใหญ่-เล็ก ยุ่งยากซับซ้อนต่อการเข้าใจ ประกอบกับมีแสง-เงาของดวงอาทิตย์ทอดบังปรากฏการณ์ต่างๆด้วย บางครั้งจึงต้องมีการแปลความหมายแล้วใช้ลายเส้นหรือสัญลักษณ์แสดงปรากฏการณ์ประกอบบนภาพ อีกทั้งด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน การหลีกเลี่ยงการบดบังของแสง-เงา การถ่ายภาพปรากฏการณ์ระยะไกล การถ่ายภาพด้วยเทคนิคการสะท้อนของช่วงคลื่นต่างๆ ทำให้มีการแปลและวิเคราะห์ความหมายของปรากฏการณ์ในภาพถ่ายทางอากาศที่ซับซ้อนขึ้น ดังนั้น แผนที่ภาพถ่ายจึงสามารถแสดงปรากฏการณ์บนพื้นโลกได้ซับซ้อนและหลากหลายยิ่งขึ้น

 

   

จะเห็นว่าทั้ง ภาษาภาพและภาษาแผนที่นับได้ว่าเป็นภาษาสากล...เป็นภาษาที่สามารถถ่ายทอดและสื่อสารปรากฏการณ์บนพื้นพิภพให้มนุษย์สามารถเข้าใจได้ชัดเจนตรงกัน การเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน Cartographic Map ทั้งเพื่อสร้างและใช้แผนที่ จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ควรส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการและคนทั่วไปได้รับรู้เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศต่อไป

 

 

 

 

 

 


 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • แผนที่กระดาษยังเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากข้อจำกัดของแผนที่ในระบบคอมพิวเตอร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    อ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติ เรื่องง่าย ๆ เด็กก็เข้าใจได้...สไตล์อณุศร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ความจริงแล้ว...ระบบ GIS ในปัจจุบัน คือ แนวคิดการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบโบราณของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งต้องการการวิเคราะห์ ประมวลผลและพรรณนาข้อมูลเชิงตำแหน่ง ระยะทาง พื้นที่คู่กับข้อมูลเชิงปริมาณเสมอ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายประกอบการทำ workshop การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย GIS ของ กทม. โดยนำข้อมูลมาใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ArcView

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักแผนที่และนักสำรวจจะต้องปรับตัวเมื่อตำแหน่งมือถือปรากฏบนแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียมในหน้าจอมือถือได้ถูกต้อง

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้200
เมื่อวานนี้471
สัปดาห์นี้671
เดือนนี้3295
ทั้งหมด1202477
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 4

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com