สาระภูมิศาสตร์

รู้จักฤดูกาลของประเทศไทย

ฤดูกาลของไทยทั้ง 3 ฤดู มีน้อยครั้งที่ทำให้เกิดภัยพิบัติอย่างรุนแรง แล้วอะไรคือสาเหตุการเกิดฤดูกาลของไทย ทั้ง ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว

แผ่นดินถล่ม (Landslide) เป็นขบวนการเกิดเป็นการเคลื่อนที่ของแผ่นดินและวัตถุต่าง ๆ บนพื้นดิน การเคลื่อนที่จะเคลื่อนบนพื้นที่ลาด

แผ่นดินถล่ม (Landslide) ภัยพิบัติในไทยที่มากับฤดูฝน

 แผ่นดินถล่ม (Landslide) เป็นขบวนการเกิดเป็นการเคลื่อนที่ของแผ่นดินและวัตถุต่าง ๆ บนพื้นดิน การเคลื่อนที่จะเคลื่อนบนพื้นที่ลาดโดยอาจจะมีน้ำหรือความชื้นเป็นตัวหล่อลื่น ปรากฏการณ์แผ่นดินถล่มเป็นกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นดินที่ถล่มตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเนื่องจากเกิดการเสียความสมดุลในการทรงตัว ทำให้มีการปรับตัวไหลลงมาตามแรงดึงดูดของโลก โดยทั่วไปแผ่นดินถล่มมักจะเกิดเวลามีฝนตกมากบริเวณภูเขา ซึ่งดินภูเขาต้องอุ้มนำไว้ ดินชั้นล่างมีการไหลซึมของน้ำช้ามาก ดินชั้นบนไม่เกาะกันเพราะอิ่มตัวด้วยน้ำ ประกอบกับมีความลาดเทในพื้นที่ระดับหนึ่งจึงจึงเกิดการพังหรือถล่มลงมา

 

การเกิดแผ่นดินถล่มจะประกอบด้วย 4 ลักษณะของการถล่มคือ

1.       การตก (Falls) เป็นการหลุดออกจากที่ชันสูงและตกลงมาเป็นก้อนหรือมวลขนาดใหญ่

2.       การล้มหรือคว่ำของมวล (Topples) เป็นการล้มคว่ำหรือหมุนม้วนไปข้างหน้าทั้งก้อน

3.       การไถล (Slides) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลไปบนผิวชนิดใดชนิดหนึ่งเช่นผิวโค้ง ผิวเรียบ

4.       การไหล (Flows) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลตามแนวลาดชันโดยมีน้ำเป็นตัวช่วยให้เคลื่อน

ปัจจัยและองค์ประกอบการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินถล่ม ประกอบด้วย

1.       ลักษณะภูมิประเทศ เช่น ความลาดชัน ความยาวของความลาดชัน ระดับความสูงของพื้นที่

2.       ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา  เช่นองค์ประกอบของหินและดิน

3.       ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งจะมีผลต่อการปกคลุมพื้นดิน

4.       ลักษณะภูมิอากาศ เช่นปริมาณฝน

แนวทางการบรรเทาภัยจากการเกิดแผ่นดินถล่ม

                   ตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์ การป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินถล่มสามารถจำแนกตามพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงภัยแตกต่างกันควรจะทำการวิเคราะห์พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม ในการวิเคราะห์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มทั้ง 4 ปัจจัยข้างต้น เทคนิคในการวิเคราะห์จะใช้แผนที่ที่แสดงจุดที่เกิดแผ่นดินถล่ม นำมาเปรียบเทียบโดยซ้อนทับกับแผนที่ที่แสดงปัจจัยการเกิดแผ่นดินถล่มเพื่อพิจารณารายละเอียดและวิเคราะห์ศักยภาพที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัยที่จะทำให้เกิดแผ่นดินถล่มซึ่งทำให้ทราบว่าบริเวณที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพื้นที่ที่เคยเกิดแผ่นดินถล่มเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคนิควิธีการด้านการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งาน ทำให้สามารถวิเคราะห์พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มได้ชัดเจนขึ้น

                   เมื่อรู้พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มในระดับต่าง ๆ แล้ว สามารถกำหนดแนวทางในการป้องกันและบรรเทาการเกิดแผ่นดินถล่มได้โดยแยกเป็นมาตรการในแต่ละระยะดังนี้

มาตรการระยะยาวเพื่อจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม  ได้แก่

1.       การกำหนดเขตการใช้ที่ดินอย่างชัดเจน

2.       การกำหนดกฎระเบียบและข้อกำหนดในการจัดการพื้นที่

3.       การจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินถล่ม

4.       การปลูกพืชคลุมดินที่เหมาะสม โตเร็ว

5.       การส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการป้องกันและบรรเทาการเกิดแผ่นดินถล่ม

6.       การติดตามสถานการณ์ข่าวพยากรณ์อากาศ

 

มาตรการระยะสั้นหรือมาตรการเร่งด่วนเพื่อจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม  ได้แก่

1.       การกำหนดเขตพื้นที่ที่เป็นอันตรายจากการเกิดแผ่นดินถล่ม

2.       การวางมาตรการและกำหนดวิธีการจัดการพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม

3.       เร่งดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม

4.       จัดตั้ง อบรมและให้ความรู้แก่หน่วยบรรเทาสาธารณภัย

5.       เร่งดำเนินการย้ายชุมชนที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มสูง

6.       หาวิธีหรือแนวทางในการจัดทำและติดตั้งระบบเตือนภัย

                               สำหรับในประเทศไทยพบบริเวณที่เกิดแผ่นดินถล่มอยู่จำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณที่เป็นภูเขา เมื่อฝนตกหนักเกิดการถล่มของดินน้ำจะพัดพาเอาดินเหล่านั้นไปตามลำน้ำ ร่องเขาออกสู่ปากแม่น้ำ ไหลลงสู่ที่ราบ สู่ชุมชนทำให้เกิดความเสียหาย  แผ่นดินถล่มจะพบชัดเจนและเกิดความเสียหายได้แก่บริเวณบริเวณภาคใต้  เช่น เมื่อวันที่ 5-6 .. 2518 ภูเขาถล่มที่ ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้บ้านเรือนพัง 85 หลัง เสียชีวิต 24 คน สูญหาย 35 คน และ เมื่อวันที่ 26 พ.ย. – 4 ธ.ค. 2531 ที่ ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน  จังหวัดนครศรีธรรมราช ภูเขาถล่ม น้ำพัดพาเอาดิน ต้นไม้มากระแทกทับบ้านเรือนทำให้เสียหาย 2621 หลัง คนเสียชีวิต 236 คน สูญหาย 305 คน เป็นต้น

 

  • ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

    The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
  • จากบทความ พระราชดำรัสสมเด็จพระราชินี "แผนที่" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ใน www.posttoday.com เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559 บางส่วน

     

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com