สาระภูมิศาสตร์

สารบัญ

หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

 

            ภายใต้สมมุติฐานเบื้องต้นว่าประชากรวัยแรงงานคือกลุ่มประชากรที่สร้างรายได้หลักเพื่อนำมาเลี้ยงดูประชากรทั้งหมดซึ่งมีทั้งกลุ่มวัยแรงงาน วัยเด็กและวัยสูงอายุ สำหรับประเทศไทยเมื่อพิจารณาข้อมูลจำนวนประชากรทั้ง 3กลุ่มของประเทศไทยกลางปี พ.ศ. 2565 (เดือน มิถุนายน) จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า


ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66,111,805 คน เป็นวัยเด็ก(อายุ 0-14 ปี) ร้อยละ 15.59 วัยสูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 18.6 และ วัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ร้อยละ 63.95 หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 หมายความว่า มีประชากรในวัยพึ่งพิง 53 คนต่อประชากรวัยแรงงาน 100 คน (ถ้าอธิบายแบบง่าย ๆ คือ คนทำงาน 100 คน นอกจากต้องทำงานเลี้ยงดูตนเองและเลี้ยงดูเด็กและคนสูงอายุอีก 53 คน)

เมื่อวัยแรงงานและวัยพึ่งพิงส่งผลต่อกันนอกจากพิจารณาอัตราส่วนต่อกันแล้ว การรู้ว่าจำนวนประชากรทั้ง 2 กลุ่มอยู่ที่ไหนเท่าไรจะทำให้เห็นมุมมองด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และเมื่อนำข้อมูลจำนวนประชากรวัยเด็ก วัยสูงอายุ วัยแรงงาน และวัยพึ่งพิง(วัยเด็ก+วัยสูงอายุ) มาแสดงในรูปแผนที่ จะปรากฏข้อมูลดังนี้

ประชากรวัยเด็ก

 

รูปที่ 1 แผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยเด็กซึ่งมีอายุน้อยกว่า15 ปี แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนเด็กเป็น 5 กลุ่มพบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยเด็กจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา อุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับเมื่อพิจารณาการกระจายและกระจุกตัวของข้อมูลในพื้นพบว่ากลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กมากส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ที่พบกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กน้อยและปรากฏเป็นกลุ่มต่อเนื่องคือจังหวัดในภาคเหนือได้แก่จังหวัดลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และสุโขทัย

อย่างไรก็ตาม เมื่อนำเอาจำนวนประชากรวัยเด็กมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละซึ่งปรากฏตามแผนที่ในรูปที่ 2 โดยค่าข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งพบว่าร้อยละของประชากรเด็กต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะมีข้อมูลอยู่ในช่วงร้อยละ 11-25 และจังหวัดในภาคใต้จะมีสัดส่วนประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมากกว่าภาคอื่น ๆ

 

 


 ประชากรวัยสูงอายุ

 

รูปที่ 3 แผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยสูงอายุซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนผู้สูงอายุเป็น 5 กลุ่ม พบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยสูงอายุจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา ขอนแก่น เชียงใหม่ อุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับ หากพิจารณา 10 อันดับแรกของจำนวนประชากรวัยสูงอายุจังหวัดต่าง ๆ พบว่ากลุ่มที่ประชากรวัยสูงอายุจำนวนมากที่สุด ประกอบด้วย 

เมื่อนำจำนวนประชากรวัยสูงอายุมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละซึ่งปรากฏตามแผนที่ในรูปที่ 4 โดยค่าข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งพบว่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะมีข้อมูลอยู่ในช่วงร้อยละ 12-26 (อยู่ในช่วงใกล้เคียงกับประชากรวัยเด็ก)

หากพิจารณาการกระจุกและกระจายตัวของข้อมูลร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะปรากฏตามรูปที่ 4 ซึ่งจังหวัดที่มีค่าข้อมูลอยู่ในกลุ่มค่ามากจะเป็นจังหวัดในภาคเหนือต่อเนื่องมถึงภาคกลาง   

 


ประชากรวัยแรงงาน

 

 

รูปที่ 5 แผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยแรงงานซึ่งมีอายุ 15-59 ปี แต่ละจังหวัด โดยแบ่งกลุ่มตามจำนวนประชากรวัยแรงงานเป็น 5 กลุ่ม พบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยแรงงานจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น ชลบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับ โดยจังหวัดที่มีประชากรวัยแรงงานจำนวนมากจะเกาะกลุ่มอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ในขณะที่นำจำนวนประชากรวัยแรงงานมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละจะปรากฏตามแผนที่ในรูปที่ 6 โดยค่าข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งพบว่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะมีข้อมูลอยู่ในช่วงร้อยละ 50-67 ส่วนการเกาะกลุ่มจะพบจังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดคือกลุ่มจังหวัดที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของประเทศไทยและลดลงมาเมื่อเป็นจังหวัดทางตะวันตกของประเทศไทย จะมีเพียง จังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดจำนวนมากแต่กระจายออกมาจากกลุ่ม คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง กระบี่ และภูเก็ต

 


ประชากรวัยพึ่งพิง (วัยเด็กรวมกับวัยสูงอายุ)

 

จากรูปที่ 7 แสดงจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงแต่ละจังหวัดของประเทศไทย พบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา อุบลราชธานี เชียงใหม่ ขอนแก่น และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการกระจายและกระจุกตัวของข้อมูลในพื้น พบว่ากลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมาก จะมีเพียงกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด(นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และอุดรธานี)เท่านั้นที่กระจุกตัวต่อเนื่อง 

สำหรับอันดับของจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงจังหวัดต่าง ๆ พบว่ากลุ่มที่ประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมากส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดย 10 อันดับแรก ประกอบด้วย 

หากพิจารณาจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงโดยเทียบเป็นร้อยละกับจำนวนประชากรทั้งหมดของจังหวัดแล้วนำข้อมูลมาจัดกลุ่มเป็น 3 กลุ่มโดยให้กลุ่มที่มีค่าข้อมูลใกล้เคียงกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันตามรูปที่ 8 จะพบว่ากลุ่มที่มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดจะมี 3 กลุ่มใหญ่ในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ นอกจากนั้นจะกระจายตัวออกไปไม่เกาะกลุ่มชัดเจน ได้แก่ จังหวัดนครนายก สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช พัทลุง  

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจำนวนประชากรวัยเด็ก วัยสูงอายุ วัยแรงงาน หรือวัยพึ่งพิงก็ตาม ลักษณะการเกิดการมีอยู่ของจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่หากพิจารณาให้ความสำคัญของประชากรแต่ละกลุ่มในแต่ละประเด็นแล้ว (เช่น การให้ความสำคัญต่อประชากรวัยสูงอายุเนื่องจากการเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุ) คงต้องมีข้อมูล หลักเกณฑ์ต่าง ๆ หลักกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับมาพิจารณาประกอบอีกมากมาย ซึ่งในมุมนักภูมิศาสตร์แล้ว การนำเสนอข้อเท็จจริงเชื่อมโยงกับพื้นที่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้เกิดมุมมองและแง่คิดที่ชัดเจนขึ้นในอีกมิติหนึ่ง

อนึ่ง เมื่อพิจารณาให้ความสำคัญของประชากรแต่ละกลุ่มในแต่ละประเด็นและเจาะลึกลงไปในแต่ละพื้นที่แล้ว ในมิติทางภูมิศาสตร์คงต้องมีการนำเสนอข้อมูลด้านสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ การตั้งถิ่นฐาน ตลอดจนมิติทางสังคมอื่นๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนแปลงซึ่งจะได้นำเสนอในตอนต่อ ๆ ไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภูมิศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เป็นรากฐานให้ศาสตร์อื่นๆ เป็นศาสตร์ที่สามารถผสมผสานแนวคิดศาสตร์อื่นๆ มาแสดงเป็นปรากฏการณ์ทางพื้นที่ได้ นักภูมิศาสตร์ใช้เทคนิคการสังเกต การอธิบายภาพความจริง ศึกษาปรากฏการณ์ที่มีความแตกต่าง หลากหลายในมิติของพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com